โลก THE EARTH

ข้อมูลเกี่ยวกับโลก

เส้นผ่านศูนย์กลาง 12,756 กิโลเมตร              มวล 5.98 x (10 ยกกำลัง 24 ) กิโลกรัม         ความหนาแน่นเฉลี่ย 5,520 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร                                                              คาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 365.26 วัน       คาบการหมุนรอบตัวเอง   23.93 ช.ม.               ระยะห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ย 150 ล้านกิโลเมตร                                                       ความเอียงของแกนโลกจากแนวตั้งฉาก 23.5 องศา                                                            ความเร็วเฉลี่ยในการเคลื่อนที่ 29.78 กิโลเมตร/วินาที                                     อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ย 15 องศา                       องค์ประกอบของบรรยากาศ ไนโตรเจน 77% ออกซิเจน 21%    คาร์บอนไดออกไซด์ อาร์กอน ไอน้ำ และอื่นๆ 2%

              โลก เป็นดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 3 เป็นดาวเคราะห์ที่มีลักษณะ พิเศษจากดาวเคราะห์ดวงอื่น เพราะเป็นดวงเดียวที่มีพื้นผิวส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยน้ำ ซึ่งไม่ปรากฏ มีอยู่บนดาวเคราะห์อื่นใดในระบบสุริยะ โลกจึงได้ชื่อว่าเป็น ดาวเคราะห์แห่งพื้นน้ำ                                                                                                   โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์พอเหมาะ มีขนาดและมวลอันเหมาะสม บรรยากาศประกอบด้วยก๊าซต่าง ๆ ที่ไม่เป็นพิษต่อชีวิต อุดมด้วยก๊าซออกซิเจน ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำ ซึ่งส่วนสัดของก๊าซต่าง ๆ เหล่านี้ได้สมดุลกันอยู่เสมอในบรรยากาศโลก แกนของโลกเอียงเป็นมุมประมาณ 23.5 องศา กับแนวตั้งฉากกับระนาบทางโคจร และหมุน รอบตัวเองเร็ว วงโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีค่อนข้างกลม ลักษณะเหล่านี้ทำให้เกิดฤดูกาล หมุนเวียนบนโลก อุณหภูมิโดยเฉลี่ยพอเหมาะสมและใกล้เคียงกันตลอดทั้งปี ปัจจัยดังกล่าว ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมบนโลกเอื้ออำนวยให้มีชีวิตอุบัติขึ้น ดำรงอยู่ได้ และมีวิวัฒนาการ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

โครงสร้างของโลก

ผิวเปลือกโลก ระยะ 30 - 50 กิโลเมตร ลึกลงไปจากพื้น แผ่นดินและลึกประมาณ 5 - 10 กิโลเมตร ใต้พื้นมหาสมุทร                                                                                          ชั้นหินหลอมละลาย หรือ แมนเทิล (Mantle)   ความหนาประมาณ 2,900 กิโลเมตร                                                                                                                          แกนใน เป็นเหล็กและนิเกิลแข็งห่อหุ้มด้วย แกนนอก ที่เป็นของเหลว ความหนาราว 3500 กิโลเมตร อุณหภูมิสูงราว 4000 องศาเซลเซียส ภายใต้ความกดดันสูง

จากร่องรอยหลักฐานของพื้นแผ่นดินบนโลก สันนิษฐานว่าโลก คงเคยมีพื้นแผ่นดินเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน แต่ด้วยการเคลื่อน ไหวเปลี่ยนแปลงภายในใจกลางดวง ทำให้ผืนดินแยกตัว กระจายออกจากกัน เกิดเป็นทวีปต่างๆ ในปัจจุบัน คาดว่าคง จะมีทวีปใหม่ๆ กระจายมากขึ้นในอีก 10 ล้านปี ข้างหน้า

แถบรังสีห่อหุ้มโลก

สูงขึ้นไปจากผิวโลกประมาณ 3200 กิโลเมตร มีแถบ รังสีห่อหุ้มโลก ไว้ 2 ชั้น ลักษณะคล้ายขนมโดนัท แถบรังสีนี้ถูกค้นพบเมื่อสหรัฐอเมริกาส่งดาวเทียมเอ๊กซ์พลอเรอร์ 1 ขึ้นไปสำรวจอวกาศ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2510 เรียกว่า แถบรังสี แวน อัลเลน

สนามแม่เหล็กโลก

โลกทำตัวเป็นแม่เหล็กยักษ์แท่งหนึ่งที่ส่งแรงออกไปโดยรอบ สนามแม่เหล็กโลกทำหน้าที่คล้าย เกราะป้องกัน โดยกักกั้นจับอนุภาคประจุไฟฟ้าพลังสูงจากดวงอาทิตย์ไว้ในเขตของแถบรังสีนี้ ไม่ให้ผ่านเข้ามาถึงผิวโลกได้โดยง่าย เมื่อเกิดการระเปิดลุกจ้าบนดวงอาทิตย์จะมีอนุภาคประจุ พัดพามากับลมสุริยะ ซึ่งอนุภาคประจุ บางส่วนสามารถผ่านแถบรังสีเข้ามาทางขั้วโลกเข้าสู่เขต บรรยากาศโลกได้ ทำปฏิกิริยากับอะตอมของ ออกซิเจนและไนโตรเจน เกิดแสงสว่างเรืองใน ท้องฟ้าแถบขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ เรียกกันว่า แสงเหนือและแสงใต้

บริวารของโลก

โลกเป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็กที่มีบริวารดวงโต คือ ดวงจันทร์ และต่าง โคจรรอบศูนย์แห่งความโน้มถ่วงร่วมกัน จึงจัดว่า โลกและดวงจันทร์เป็น ดาวเคราะห์คู่                ดวงจันทร์มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3,476 กิโลเมตร อยู่ห่าง ออกไปโดยเฉลี่ย 384,403 กิโลเมตร หมุนรอบตัวเองและโคจร รอบโลกในเวลาเท่ากัน คือ 27 วัน 7 ชั่วโมง 43 นาที 12 วินาที



แหล่งอ้างอิง : http://www.sci-educ.nfe.go.th/astronomy/SolarSystem/earth.html

โดย : เด็กชาย ณัฐกร อำพินธ์, ร.ร. พนัสพิทยาคาร, วันที่ 6 กันยายน 2546