เเบคทีเรียกำจัดลูกน้ำยุง

         ยุง เป็นพาหะสำคัญในการนำโรคร้ายมาสู่มนุษย์ การป้องกันยุงกัดโดยทั่วๆไปจะใช้มุ้งหรือสารเคมีฆ่ายุงแต่ปัจจุบันยุงสามารถสร้างภูมิคุ้มกันสารเคมีได้มากขึ้น ทำให้ต้องใช้ในปริมาณเพิ่มหรือเปลี่ยนไปใช้สารเคมีที่แพงกว่าและสารเคมีเหล่านั้นจะตกค้างสะสมอยู่ในสิ่งแวดล้อมไม่ปลอดภัยต่อมนุษย์และสัตว์
         สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วท.)ประสบความสำเร็จในการผลิตแบคทีเรียกำจัดลูกน้ำยุงในระดับกึ่งอุตสาหกรรมสาธิต โดยใช้แบคทีเรียบาซิลลัส สเฟริคุส 1593ซึ่งได้รับการแนะนำจากองค์การอนามัยโลกว่าปลอดภัยต่อมนุษย์และสัตว์ แบคทีเรียสายพันธุ์นี้มีประสิทธิภาพพิเศษที่มีสารพิษฆ่าลูกน้ำยุงลำคาญซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้สมองอักเสบ และยุงก้นปล่องซึ่งเป็นภาหะนำโรคมาลาเรีย กล่าวคือ เมื่อลูกน้ำยุงกินแบคทีเรียเข้าไป แบคทีเรียจะถูกย่อยในทางเดินอาหารซึ่งเป็นด่าง ทำให้สารพิษถูกปล่อยออกมาและจะไปทำลายทางเดินอาหารของลูกน้ำยุง แบคทีเรียนี้จะเพิ่มปริมาณและแพร่กระจายเข้าสู่ระบบทางเดินโลหิตของยุงก่อให้เกิดการติดเชื้อ ทำให้ยุงตายก่อนที่จะเจริญเติบโตเป็นยุงตัวเต็มวัย
         การดำเนินโครงการดังกล่าว วท. ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ให้ดำเนินการวิจัยโดยได้รับความร่วมจากคณะวิทยาศาสตร์ คณะเภี่สัชศาสตร์ มหาวิทายาลัยมหิดล และกรมวิทยาศาสตร์บริการ ขณะนี้สามารถผลิตแบคทีเรียสายพันธุ์นี้ได้ในระดับกึ่งอุตสาหกรรมสาธิตคือ ขนาดถังหมัก 300 ลิตร ผลผลิตที่ได้เมื่อทดสอบกับยุงรำคาญและยุงก้นปล่องแล้ว พบว่ามีประสิทธิภาพสูง สามารถฆ่าลูกน้ำยุงทั้ง2ได้ดี
         วท.ได้พัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปให้เหมาะสม เป็น2 ลักษณะ คือ
        1. รูปแบบขันน้ำ และ
        2. รูปแบบลอยน้ำ
         รูปแบบขันน้ำนั้นสะดวกในการนำไปใช้ฆ่าลูกน้ำยุงในบริเวณใกล้ๆเพราะต้องเก็บในห้องเย็นเพื่อกันการบูดเสีย ส่วนรูปแบบลอยน้ำนั้นเป็นทุ่นลอยขุยมะพร้าวอัด ชุบแบคทีเรีย เพื่อความสะดวกในการเก็บรักษาแและการข่นส่งใกล้ๆ และให้เหมาะกับการใช้ในแห่ลงน้ำธรรมชาติ นอกจากนั้นยังได้มีการพัฒนาเครื่องอัดและกระบวนการอัดให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นอีกด้วย
          วท.ได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านเศรษฐกิจของกระบวนการผลิตแบคทีเรียกำจัดลูกน้ำยุงนี้ โดยขยายกำลังผลิตเป็นขนาด 2,000 ลิตร ต่อรุ่นการผลิต  ได้ผลว่าต้นทุนการผลิตจะลดลง โดยรูปแบบน้ำข้นลิตรละ 1,677 บาท และแบบทุ่นลอยก้อนละ 4.63 บาท



แหล่งอ้างอิง : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2544. เทคโนโลยีชีวภาพใกล้ตัว. สหมิตรพริ้นติ้ง : นนทบุรี. 105 หน้า.

โดย : เด็กหญิง เสาวลักษณ์ นุ่นตรี, รร.กระแสสินธ์วิทยา, วันที่ 6 กันยายน 2546