โลก

ข้อมูลเกี่ยวกับโลก

เส้นผ่านศูนย์กลาง 12,756 กิโลเมตร

มวล 5.98 x (10 ยกกำลัง 24 ) กิโลกรัม

ความหนาแน่นเฉลี่ย   5,520 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร

คาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 365.26 วัน

คาบการหมุนรอบตัวเอง 23.93 ชั่วโมง

ระยะห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ย 150 ล้านกิโลเมตร

ความเอียงของแกนโลกจากแนวตั้งฉาก 23.5 องศา

ความเร็วเฉลี่ยในการเคลื่อนที่ 29.78 กิโลเมตร/วินาที

อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ย 15 องศา

องค์ประกอบของบรรยากาศ ไนโตรเจน 77% ออกซิเจน 21% คาร์บอนไดออกไซด์ อาร์กอน ไอน้ำ   และอื่นๆ 2%

โลก เป็นดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 3 เป็นดาวเคราะห์ที่มีลักษณะ พิเศษจากดาวเคราะห์ดวงอื่น เพราะเป็นดวงเดียวที่มีพื้นผิวส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยน้ำ ซึ่งไม่ปรากฏ มีอยู่บนดาวเคราะห์อื่นใดในระบบสุริยะ โลกจึงได้ชื่อว่าเป็น ดาวเคราะห์แห่งพื้นน้ำ

        โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์พอเหมาะ มีขนาดและมวลอันเหมาะสม บรรยากาศประกอบด้วยก๊าซ

ต่าง ๆ ที่ไม่เป็นพิษต่อชีวิต อุดมด้วยก๊าซออกซิเจน ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำ ซึ่งส่วนสัดของก๊าซต่าง ๆ เหล่านี้ได้สมดุลกันอยู่เสมอในบรรยากาศโลก แกนของโลกเอียงเป็นมุมประมาณ 23.5 องศา กับแนวตั้งฉากกับระนาบทางโคจร และหมุน รอบตัวเองเร็ว วงโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีค่อนข้างกลม ลักษณะเหล่านี้ทำให้เกิดฤดูกาล หมุนเวียนบนโลก อุณหภูมิโดยเฉลี่ยพอเหมาะสมและใกล้เคียงกันตลอดทั้งปี ปัจจัยดังกล่าว ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมบนโลกเอื้ออำนวยให้มีชีวิตอุบัติขึ้น ดำรงอยู่ได้ และมีวิวัฒนาการ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

โครงสร้างของโลก

ผิวเปลือกโลก ระยะ 30 - 50 กิโลเมตร ลึกลงไปจากพื้น แผ่นดินและลึกประมาณ 5 - 10 กิโลเมตร ใต้พื้นมหาสมุทร   ชั้นหินหลอมละลาย หรือ แมนเทิล (Mantle) ความหนาประมาณ 2,900 กิโลเมตร แกนใน เป็นเหล็กและนิเกิลแข็งห่อหุ้มด้วยแกนนอกที่เป็นของเหลว ความหนาราว 3500 กิโลเมตร อุณหภูมิสูงราว 4000 องศาเซลเซียส ภายใต้ความกดดันสูง

            จากร่องรอยหลักฐานของพื้นแผ่นดินบนโลก สันนิษฐานว่าโลก คงเคยมีพื้นแผ่นดินเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน แต่ด้วยการเคลื่อน ไหวเปลี่ยนแปลงภายในใจกลางดวง ทำให้ผืนดินแยกตัว กระจายออกจากกัน เกิดเป็นทวีปต่างๆ ในปัจจุบัน คาดว่าคง จะมีทวีปใหม่ๆ กระจายมากขึ้นในอีก 10 ล้านปี ข้างหน้า

แถบรังสีห่อหุ้มโลก

สูงขึ้นไปจากผิวโลกประมาณ 3200 กิโลเมตร มีแถบ รังสีห่อหุ้มโลก ไว้ 2 ชั้น ลักษณะคล้ายขนมโดนัท แถบรังสีนี้ถูกค้นพบเมื่อสหรัฐอเมริกาส่งดาวเทียมเอ๊กซ์พลอเรอร์ 1 ขึ้นไปสำรวจอวกาศ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2510 เรียกว่า แถบรังสี แวน อัลเลน

สนามแม่เหล็กโลก

โลกทำตัวเป็นแม่เหล็กยักษ์แท่งหนึ่งที่ส่งแรงออกไปโดยรอบ สนามแม่เหล็กโลกทำหน้าที่คล้าย เกราะป้องกัน โดยกักกั้นจับอนุภาคประจุไฟฟ้าพลังสูงจากดวงอาทิตย์ไว้ในเขตของแถบรังสีนี้ ไม่ให้ผ่านเข้ามาถึงผิวโลกได้โดยง่าย เมื่อเกิดการระเปิดลุกจ้าบนดวงอาทิตย์จะมีอนุภาคประจุ พัดพามากับลมสุริยะ ซึ่งอนุภาคประจุ บางส่วนสามารถผ่านแถบรังสีเข้ามาทางขั้วโลกเข้าสู่เขต บรรยากาศโลกได้ ทำปฏิกิริยากับอะตอมของ ออกซิเจนและไนโตรเจน เกิดแสงสว่างเรืองใน ท้องฟ้าแถบขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ เรียกกันว่า แสงเหนือและแสงใต้

 

บริวารของโลก

โลกเป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็กที่มีบริวารดวงโต คือ ดวงจันทร์ และต่าง โคจรรอบศูนย์แห่งความโน้มถ่วงร่วมกัน จึงจัดว่า โลกและดวงจันทร์เป็น ดาวเคราะห์คู่

     ดวงจันทร์มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3,476 กิโลเมตร อยู่ห่าง ออกไปโดยเฉลี่ย 384,403 กิโลเมตร หมุนรอบตัวเองและโคจร รอบโลกในเวลาเท่ากัน คือ 27 วัน 7 ชั่วโมง 43 นาที 12 วินาที

คลิกเพื่อเพิ่มข้อความ


แหล่งอ้างอิง : http://www.sci-educ.nfe.go.th/astronomy/SolarSystem/earth.html

โดย : เด็กชาย ณัฐกร อำพินธ์, ร.ร. พนัสพิทยาคาร, วันที่ 4 กันยายน 2546