ประวัติของดาวอังคาร

            หากเป็นไปได้ว่า ชีวิตในดาวเคราะห์ดวงอื่นน่าจะมีขึ้นได้เช่นเดียวกับโลกเราแล้ว ดาวอังคารเป็นดาวที่น่าจะมีความเป็นไปได้มากที่สุด นักดาราศาสตร์บางคนเชื่อว่าดาวดวงนี้ต้องมีชีวิตบางประเภทอุบัติขึ้น อาจจะมีทั้งพืชและสัตว์ตลอดจนมนุษย์ถ้ามนุษย์ที่ดาวอังคารมีอยู่ไซร้ เขาหล่านั้นอาจจะฉลาดล้ำกว่ามนุษย์ในโลกเราก็เป็นได้ ดาวอังคารจึงเป็นดาวที่มนุษย์โลกสนใจมากที่สุด

              ดาวอังคารเป็นดาวดวงที่ 4 ของสุริยจักรวาล อยู่ห่าวจากดวงอาทิตย์ 142,000,000 ไมล์ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4,215 ไมล์ หมุนรอบตัวเองกินเวลารอบละ 24 1/2 ช.ม.   โคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เ้วลาประมาณรอบละ 687 วันหรือเกือบ 2 ปี ของการโคจรของโลก รอบนอกของดาวอังคารจะห่อหุ้มด้วยบรรยากาศที่ประกอบไปด้วยก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซอ๊อกซิเจนเช่นเดียวกับบรรยากาศของโลก แต่ทว่ามีความหนาน้อยกว่า ที่ดาวดวงนี้มีน้ำอยู่ด้วย ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้บรรดานักวิทยาศาสตร์เชื่อมั่นว่าจะมีสิ่งมีชีวิตอุบัติขึ้นแล้วในดาวดวงนี้

               บนดาวอังคารด้านที่ได้รับแสงสว่างเป็นเวลากลางวันนั้นมีอุณหภูมิประมาณ 70 องศาฟาเรนไฮต์ แต่ในด้านที่เป็นกลางคืนนั้นอุณหภูมิจะลดลงต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ฤดูบนดาวอังคารก็มี 4 ฤดูเช่นเดียวกับบนโลก ในฤดูหนาวที่ขั้นทั้งสองจะมีน้ำแข็งปกคลุมขาวโพลนเป็นบริเวณกว้างขวาง แต่พอถึงฤดูร้อนก็ค่อย ๆ ละลายหมดไป เชื่อกันว่าน้ำแข็งที่ปกคลุมขั้วโลกดาวอังคารนั้น หนาไม่เกิน 1 ฟุต ใช่แต่เท่านั้นเมื่อมองผ่านกล้องโทรทรรศน์แรงสูง จะเห็นเส้นหรือแนวทางเป็นเส้นตัดทอดจากขั้วโลกทั้งสอง มายังบริเวณเส้นศูนย์สูตรจำนวนมากอีกด้วย ทำให้นักดาราศาสตร์คิดว่า อาจจะเป็นคลองระบายน้ำจากขั้วโลกมาสู่แถบเส้นศูนย์สูตรซึ่งสำเร็จขึ้นมาได้ด้วยฝีมือของมนุษย์ในโลกนั้นก็เป็นได้


ที่มา : หนังสือวิทยาศาสตร์น่ารู้ เรื่องสุริยจักรวาลโลกและดวงดาว โดย ชิต อภิบาลแทน

โดย : เด็กชาย สหัสรัช อิทธิประทีป, พนัสพิทยาคาร, วันที่ 4 กันยายน 2546