วิสาขบูชา

คำถวายดอกไม้ธูปเทียน ในวันวิสาขบูชา

ยะมัมหะ โข มะยัง / ภะคะวันตัง สะระนัง คะตา / โย โน ภะคะวา สัตถา / ยัสสะ จะ มะยัง / ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ / อะโหสิ โข โส ภะคะวา / มัชชิเมสุ / ชะนะปะเทสุ / อะริยะเกสุ / มะนุสเสสุ / อุปปันโน / ขัตติโย / ชาติยา / โคตะโม / โคตเตนะ / สักกะยะปุตโต / สักกะยะกุลา / ปัพพะชิโต / สะเทวะเก โลเก / สามาระเก / สะพรัหมมะเก / สัสสะมะนะ พราหมมะนิยา / ปะชายะ / สะเทวะ มะนุสสายะ / อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง / อะภิสัมพุทโธ / นิสสังสะยัง โข โส ภะคะวา / อะระหังสัมมา สัมพุทโธ / วิชชาจาระณะสัมปันโน / สุคะโต โลกะวิทู / อะนุตตะโร / ปุริสะธัมมะสาระถิ / สัตถา เทวะมะนุสสานัง / พุทโธ ภะคะวา / สะวากขาโต โข ปะนะ / เตนะ ภะคะวะตา ธัมโม / สันทิฏฐิโก / อะกาลิโก / เอหิปัสสิโก / โอปะนะยิโก / ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ / สุปะฏิปันโน โข ปะนัสสะ / ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ / อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ / ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ / สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ / ยะทิทัง / จัตตาริ ปุริสะยุคานิ / อัฏฐะปุริสะปุคคะลา / เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ / อาหุเนยโย / ปาหุเนยโย / ทักขิเนยโย / อัญชะลีกะระณีโย / อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ / อะยัง โข ปะนะ ปะฏิมา / ตัง ภะคะวันตัง / อะนุสสะริตตะวา / ปะสาทะสัง เวคะปะฏิลาภายะ / มะยัง โข เอตะระหิ / อิมัง วิสาขะ ปุณณะมีกาลัง / ตัสสะ ภะคะวะโต / ชาติสัมโพธิ / นิพพานะกาละ สัมมะตัง ปัตตะวา / อิมัง ฐานัง สัมปัตตา / อิเม / ทัณฑะทีปัง / ธูปะ ปุปผาทิสักกาเร / คะเหตตะวา / อัตตะโน กายัง / สักการุปะทานัง กะริตตะวา / ตัสสะ ภะคะวะโต / ยะถาภุจเจ คุเณ / อะนุสสะรันตา / อิมัง ปะฏิฆารัง / ติกขันตุง / ปะทักขิณัง / กะริสสามะ / ยะถาคะหิเตหิ / สักกาเรหิ / ปูชัง กุรุมานา /

สาธุ โน ภัณเต ภะคะวา / สุจิระปินิพพุโตปิ / ญาตัพเพหิ / คุเณหิ / อะตีตา รัมมะณะตายะ / ปัญญายะมาโน / อิเม / อัมเหหิ / คะหิเต / สักกาเร ปะฏิคคัณหาตุ / อัมหากัง / ทีฆะรัตตัง / หิตายะ / สุขายะ /

คำแปล

เราทั้งหลาย นับถือ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด เป็นศาสดาของเราทั้งหลาย

อนึ่ง เราทั้งหลาย ชอบใจธรรมของ พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล เป็นผู้เกิดขึ้นแล้วในมัชฌิมชนบท ในหมู่แห่งมนุษย์ชาวอริยะกะทั้งหลาย พระองค์เป็นกษัตริย์โดยพระชาติ เป็นพระโคตมะโดยพระโคตร เป็นพระสักยบุตร เสด็จออกบรรพชาแล้วจากสักยตระกูล เป็นผู้ตรัสรู้พร้อม ซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ ไม่มีความรู้อื่นยิ่งขึ้นไปกว่าในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล ทรงเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบโดยลำพังพระองค์ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชา ปัญญาตรัสรู้แจ้งชัด และจรณข้อปฏิบัติ เสด็จไปดีแล้ว ตรัสรู้โลกแจ้งชัด ทรงเป็นสารถี ผู้ฝึกบุรุษอย่างยอดเยี่ยม ไม่มีสารถีผู้ฝึกอื่นยิ่งเกิน ทรงเป็นศาสดาของเทวดาแลมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเบิกบานแล้ว ทรงจำแนกธรรมโดยไม่ต้องสงสัยเลย

อนึ่ง พระธรรมอัน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่จะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง ไม่ขึ้นอยู่กับกาละเวลา ไม่ต้องรอกาลเวลาที่จะให้ผล เป็นของมีจริงแท้ ควรจะเรียกผู้อื่นว่า ท่านจงมาเถิดดูเกิด ดังนี้ ควรจะน้อมเข้ามาในตน เป็นธรรมบริสุทธิ์ อันคนฉลาดทั้งหลายจะพึงรู้ได้ด้วยตนเอง

อนึ่ง สงฆ์สาวกของ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ปฏิบัติชอบแล้ว ปฏิบัติซื่อตรง ปฏิบัติเพื่อออกจากเครื่องผูกพัน ปฏิบัติชอบแท้ สาวกสงฆ์คือพระอริยบุคคล ๔ คู่ นับเป็นบุรุษบุคคล ๘ ประเภท หมู่สาวกของ พระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่นี้ ควรรับทานที่บุคคลนำมาบูชา ควรรับสักการะของต้อนรับ ควรรับทานของบุคคลผู้ปรารถนาบุญสวรรค์ ควรแก่การประคองอัญชลี ประนมมือกราบไหว้ เป็นไร่นาบุญของชาวโลก ไม่มีบุญเขตอื่นยิ่งขึ้นไปกว่า

ก็แลพระพุทธปฏิมานี้ อันท่านผู้มีศรัทธาได้สร้าง อุทิศถวายเฉพาะ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เพียงเพื่อจะได้เห็น เพื่อจะได้ระลึกถึงคุณ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แล้วเกิดความเลื่อมใสและความสังเวช จะได้เป็นปัจจัยแก่พระนิพพาน

บัดนี้ เราทั้งหลายแล มาถึงกาลเพ็ญเดือนวิสาขแล้ว เป็นที่รู้ว่ากาลเป็นที่เกิด และตรัสรู้ และปรินิพพาน ของ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มาประชุมกันแล้ว ณ สถานที่นี้ ถือเอาเครื่องสักการะ มีธูปเทียนดอกไม้เป็นต้นเหล่านี้ ทำกายของตนให้เป็นดั่งภาชนะ รองรับเครื่องสักการะบูชา ระลึกถึงคุณอันจริงแท้ทั้งหลาย ของ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีสักการะอันถือไว้แล้วอย่างไร ทำการบูชาอยู่ จักทำประทักษิณพระพุทธปฏิมานี้ ๓ รอบ

ข้าแต่ พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ ขออัญเชิญ พระผู้มีพระภาค แม้ปรินิพพานสิ้นกาลนานแล้ว แต่ยังปรากฏอยู่โดยพระคุณทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้ด้วยความเป็นอตีตารมณ์ จงทรงรับเครื่องสักการะ อันข้าพเจ้าทั้งหลายถือไว้แล้วนี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ.



แหล่งอ้างอิง : วิจิตร สมบัติบริบูรณ์, คู่มือประทักษิณ, 2520

โดย : นาย เหรียญทอง เรืองรอง, ร.ร.วัดหลักสองราษฎร์บำรุง ต.หลักสอง อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร, วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2546