อาสาฬหบูชา

คำถวายดอกไม้ธูปเทียน ในวันอาสาฬหบูชา

ยะมัมหะ โข มะยัง / ภะคะวันตัง สะระนัง คะตา / โย โน ภะคะวา สัตถา / ยัสสะ จะ มะยัง / ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ / อะโหสิ โข โส ภะคะวา / อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ / สัตเตสุ / การุญญัง ปะฏิจจะ / กะรุณายะโก / หิเตสี / อะนุกัมปัง อุปาทายะ / อาสาฬหะปุณณะมิยัง / พาราณะสียัง /อิสิปะตะเน / มิคะทาเย / ปัญจะวัคคิยานัง / ภิกขูนัง / อะนุตตะรัง / ธัมมะจักกัง / ปะฐะมัง / ปะวัตเตตตะวา / จัตตาริ / อะริยะสัจจานิ / ปะกาเสสิ ฯ

ตัสสะมิญจะ โข สะมะเย / ปัญจะวัคคิยานัง / ภิกขูนัง / ปะมุโข / อายัสสะมา / อัญญาโกณฑัญโญ / ภะคะวะโต / ธัมมัง สุตตะวา / วิระชัง / วีตะมะลัง / ธัมมะจักขุง / ปะฏิละภิตตะวา / “ยังกิญจิ / สะหมุทะยะธัมมัง / สัพพันตัง / นิโรธะธัมมันติ” / ภะคะวันตัง / อุปะสัมปะทัง / ยาจิตตะวา / ภะคะวะโตเยวะ / สันติกา / เอหิภิกขูปะสัมปะทัง /ปะฏิละภิตตะวา / ภะคะวะโต / ธัมมะวินะเย / อะริยะสาวะกะสังโฆ / โลเก / ปะฐะมัง /อุปปันโน อะโหสิ ฯ

ตัสสะมิญจาปิ โข สะมะเย / สังฆะรัตตะนัง / โลเก / ปะฐะมัง / อุปปันนัง / อะโหสิ / พุทธะรัตตะนัง /ธัมมะรัตตะนัง / สังฆะรัตตะนันติ / ติระตะนัง สัมปุณณัง อะโหสิ ฯ

มะยัง โข เอตะระหิ / อิมัง / อาสาฬหะปุณณะมีกาลัง / ตัสสะ ภะคะวะโต / ธัมมะจักกัปปะวัตตะนัง / กาละสัมมะตัง / อะริยะ สาวะกะสังฆะ / อุปปัตติกาละ สัมมะตัญจะ / ระตะนัตตะยะ / สัมปุระณะกาละ สัมมะตัญจะ / ปัตตะวา / อิมัง ฐานัง สัมปัตตา / อิเม สักกาเร / คะเหตตะวา /อัตตะโน กายัง / สักการุปะธานัง / กะริตตะวา / ตัสสะ ภะคะวะโต / ยะถาภุจเจ คุเณ / อะนุสสะรันตา / อิมัง ถูปัง / ( อิมัง พุทธะปฏิมัง ) ติกขัตตุง / ปะทักขิณัง / กะริสสามะ / ยะถาคะหิเตหิ / สักกาเรหิ / ปูชัง กุรุมานา /

สาธุ โน ภันเต ภะคะวา / สุจิระปะรินิพพุโตปิ / ญาตัพเพหิ / คุเณหิ / อะตีตา รัมมะณะตายะ / ปัญญายะมาโน / อิเม / อัมเหหิ คะหิเต / สักกาเร ปะฏิคคัณหาตุ / อัมหากัง / ทีฆะรัตตัง / หิตายะ / สุขายะ

คำแปล

เราทั้งหลาย ถึงซึ่ง พระผู้มีพระภาคพระองค์ใดแล ว่าเป็นที่พึ่ง พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด เป็นพระศาสดาของเราทั้งหลาย

อนึ่งเราทั้งหลาย ชอบใจซึ่งธรรมของ พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบเอง ทรงอาศัยความการุณในสัตว์ทั้งหลาย ทรงพระกรุณาแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ทรงอาศัยความเอ็นดู ได้ยังพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยมให้เป็นไป ทรงประกาศอริยสัจ ๔ เป็นครั้งแรก แก่พระภิกษุปัญจวัคคีย์ ที่ป่าสิปตนมฤคทายวัน ใกล้กรุงพาราณสี ในวันอาสาฬหยฃปุณณมี

อนึ่ง ในสมัยนั้นแล ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ผู้เป็นหัวหน้าของพระภิกษุปัญจวัคคีย์ ได้ฟังธรรมของ พระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ธรรมจักษุอันบริสุทธิ์ ปราศจากมลทินว่า “ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งปวงนี้น มีความดับเป็นธรรมดา” จึงทูลขออุปสมบทกับ พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้รับอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุ แล้วจากสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล ได้เป็นพระอริยะสงฆ์สาวกแล้ว ในธรรมวินัยของ พระผู้มีพระภาค เกิดขึ้นเป็นองค์แรกในโลก

อนึ่ง ในสมัยแม้นั้นแล ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ผู้เป็นหัวหน้าของพระภิกษุปัญจวัคคีย์ ฟังธรรมของ พระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ธรรมจักษุอันบริสุทธิ์ปราศจากมลทินว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งปวงนั้น มีความดับเป็นธรรมดา “ จึงทูลขออุปสมบทกับ พระผู้มีพระภาคนั้นแล ได้เป็นพระอริยสงฆ์สาวกแล้ว ในธรรมวินัยของ พระผู้มีพระภาค เกิดขึ้นเป็นองค์แรกในโลก

อนึ่ง ในสมัยแม้นั้นแล พระสังฆรัตนะได้บังเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก พระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ ได้สมบูรณ์แล้วในโลก

บัดนี้ เราทั้งหลายแล มาประจวบมงคลสมัย อาสาฬหปุณณมี วันเพ็ญอาสาฬหมาศ ที่รู้พร้อมกันว่า เป็นวันที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงประกาศพระธรรมจักร เป็นวันที่เกิดขึ้นแห่ง พระอริยสงฆ์สาวก และเป็นวันที่พระรัตนตรัยสมบูรณ์ คือ ครบ ๓ รัตนะ จึงมาประชุมพร้อมกันแล้ว ณ ที่นี้ ถือสักการะเหล่านี้ ทำกายของตนให้เป็นดั่งภาชนะ รับเครื่องสักการะ ระลึกถึงพระคุณตามเป็นจริงทั้งหลาย ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น จักทำประทักษิณสิ้นวาระสามรอบ ซึ่งพระสถูป (พระพุทธปฏิมา) นี้ บูชาอยู่ด้วยสักการะ อันถือไว้แล้วอย่างไร

ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เสด็จปรินิพพานนานแล้ว ยังปรากฏอยู่ด้วยพระคุณสมบัติ อันข้าพเจ้าทั้งหลาย จะพึงรู้โดยความเป็นอตีตารมณ์ จงทรงรับเครื่องสักการะ อันข้าพเจ้าทั้งหลายถือไว้แล้วนี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ.



แหล่งอ้างอิง : วิจิตร สมบัติบริบูรณ์, คู่มือประทักษิณ, 2520

โดย : นาย เหรียญทอง เรืองรอง, ร.ร.วัดหลักสองราษฎร์บำรุง ต.หลักสอง อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร, วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2546