ทิศ๖



ภาพ: เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์

ทิศ ๖

คือการปฏิบัติหน้าที่ต่อบุคคลที่สัมพันธ์กับตนให้ถูกต้องตามฐานะทั้ง ๖ คือ

ทิศที่ ๑ ในฐานะที่เป็นบุตรธิดาพึงเคารพบิดามารดา ผู้เปรียบเสมือน ทิศเบื้องหน้า ดังนี้

๑. ท่านเลี้ยงเรามาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ

๒. ช่วยทำกิจธุระการงานของท่าน

๓. ดำรงวงศ์สกุล

๔. ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท

๕. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน

บิดามารดาอนุเคราะห์บุตรธิดา ตามหลักปฏิบัติดังนี้

                    ๑. ห้ามปรามป้องกันจากความชั่ว

                    ๒. ดูแลฝึกอบรมให้ตั้งอยู่ในความดี

                    ๓. ให้ศึกษาศิลปวิทยา

                    ๔. เป็นธุระเมื่อถึงคราวจะมีคู่ครองที่สมควร

                    ๕. มอบทรัพย์สมบัติให้เมื่อถึงโอกาส

ทิศที่ ๒ ในฐานะศิษย์ พึงแสดงความเคารพนับถือครูอาจารย์ ผู้เปรียบเสมือน ทิศเบื้องขวา ดังนี้

                    ๑. ลุกต้อนรับแสดงความเคารพ

                   ๒. เข้าไปหา เพื่อบำรุง รับใช้ ปรึกษา ซักถาม รับคำแนะนำ เป็นต้น

                   ๓. ฟังด้วยดี ฟังเป็น รู้จักฟังให้เกิดปัญญา

                   ๔. ปรนนิบัติ ช่วยบริการ

                   ๕. เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ เอาจริงเอาจังถือเป็นกิจสำคัญ

อาจารย์อนุเคราะห์ศิษย์ ตามหลักปฏิบัติดังนี้

                  ๑. แนะนำฝึกอบรมให้เป็นคนดี

                 ๒. สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง

                 ๓. สอนศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง

                 ๔. ส่งเสริมยกย่องความดีงามความสามารถให้ปรากฏ

                 ๕. สร้างเครื่องคุ้มภัยในสารทิศ คือ สอนฝึกศิษย์ให้ใช้วิชาเลี้ยงชีพได้จริง รู้จักดำรง ตนด้วยดี ที่จะเป็นประกันให้ดำเนินชีวิตดีงามโดยสวัสดี มีความสุขความเจริญ

ทิศที่ ๓ ในฐานที่เป็นสามี พึงให้เกียรติบำรุงภรรยา ผู้เปรียบเสมือนทิศเบื้องหลัง ดังนี้

                 ๑. ยกย่องให้เกียรติสมฐานะที่เป็นภรรยา

                ๒. ไม่ดูหมิ่น

                ๓. ไม่นอกใจ

                ๔. มอบความเป็นใหญ่ในงานบ้าน

                ๕. หาเครื่องแต่งตัวมาให้เป็นของขวัญตามโอกาส

ภรรยาอนุเคราะห์สามี ตามหลักปฏิบัติดังนี้

                ๑. จัดงานบ้านให้เรียบร้อย

               ๒. สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี

               ๓. ไม่นอกใจ

               ๔. รักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้

               ๕. ขยัน ช่างจัดช่างทำ เอางานทุกอย่าง

ทิศที่ ๔ ในฐานะที่เป็นมิตรสหาย พึงปฏิบัติต่อมิตรสหาย ผู้เป็นเสมือนทิศเบื้องซ้ายดังนี้

              ๑. เผื่อแผ่แบ่งปัน

             ๒. พูดจามีน้ำใจ

             ๓. ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

             ๔. มีตนเสมอ ร่วมสุขร่วมทุกข์ด้วย

             ๕. ซื่อสัตย์จริงใจ

มิตรสหายอนุเคราะห์ตอบ ตามหลักปฏิบัติดังนี้

             ๑. เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาป้องกัน

            ๒. เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อน

            ๓. ในคราวมีภัย เป็นที่พึ่งได้

            ๔. ไม่ละทิ้งในยามทุกข์ยาก

            ๕. นับถือตลอดถึงวงศ์ญาติของมิตร

ทิศที่ ๕ ในฐานะเป็นนายจ้าง พึงบำรุงคนรับใช้ และคนงาน ผู้เป็นเสมือน ทิศเบื้องล่าง ดังนี้

            ๑. จัดงานให้ทำตามความเหมาะสมกับกำลัง เพศ วัย ความสามารถ

           ๒. ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและความเป็นอยู่

           ๓. จัดสวัสดิการ มีช่วยรักษาพยาบาลในยามเจ็บไข้ เป็นต้น

           ๔. มีอะไรได้พิเศษมา ก็แบ่งปันให้

           ๕. ให้มีวันหยุด และพักผ่อนหย่อนใจ ตามโอกาสอันควร

คนรับใช้และคนงาน แสดงน้ำใจต่อนายจ้าง ดังนี้

          ๑. เริ่มทำงานก่อน

         ๒. เลิกงานทีหลัง

         ๓. เอาแต่ของที่นายให้

         ๔. ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น

         ๕. นำความดีของนายจ้างและกิจการไปเผยแพร่

ทิศที่ ๖ ในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชน พึงแสดงความเคารพต่อพระสงฆ์ ผู้เปรียบเสมือนทิศเบื้องบน ดังนี้

           ๑. จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยเมตตา

          ๒. จะพูดสิ่งใด ก็ทำด้วยเมตตา

          ๓. จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา

          ๔. ต้อนรับด้วยความเต็มใจ

          ๕. อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย ๔

พระสงฆ์อนุเคราะห์คฤหัสถ์ ตามหลักปฏิบัติดังนี้

          ๑. ห้ามปรามสอนให้เว้นจากความชั่ว

         ๒. แนะนำสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี

         ๓. อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี

         ๔. ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ยังไม่เคยรู้ไม่เคยฟัง

         ๕. ชี้แจงอธิบายทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง

         ๖. บอกทางสวรรค์ สอนวิธีดำเนินชีวิตให้มีความสุขความเจริญ

 

 

 


โดย : นาย ชุมพร เอี่ยมระหง, กฟภ.สงขลา, วันที่ 31 ตุลาคม 2545