ประวัติศาสนาพุทธ

                       ประวัติศาสนาพุทธ

ศาสนาพุทธ(ศาสนาแห่งปัญญาและเมตาธรรม)

ประวัตศาสนา

ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแบบอเทวนิยมและเป็น 1ใน3 ของศาสนาโลกศาสนาเกิดจากพระปัญญาตรัสรูของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อวันเพ็ญ 15 ค่ำเดือนวิสาขะหรือเดือน 6 ณ ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ต.อุรุเวลาเสนานิคมแคว้นมคธ ประเทศอินเดีย เมื่อก่อนพ.ศ.45ปี ปัจจุบันสถานที่นี้เรียกว่า พุทธคยา อยู่ห่างจากเมืองคยาประมาณ 11 กิโลเมตรศาสนาพพุทธเกิดในสมัยที่ศาสนาพร่หมณ์กำลังเจริญรุ่งเรืองพวกวรรณะพราหมณ์ได้รับเกียรติเป็นอย่างสูงสุดแต่ในขณะเดียวกันฐานะวรรณะอื่น โดยเฉพาะวรรณะศูทย์และจัณฑาลตลอดถึงสัตว์บางประเภทกำลังตกต่ำถูกกดขี่ข่มเหงถึงถูกเข่นฆ่า ทั้งนี้ก็เพราะพวกพราหมณ์ถือว่าตนเป็นวรรณะสูงสุดเกิดมาจากโอษฐ์ของพระพรหมแต่พวกกษัตริย์เกิดมาจากพระมาหาพวกเพศย์เกิดมาจากพระโสนีและพวกศูทย์เกิดมาจากพระบาทของพระพรหม ส่วนพวกจัณฑาลยิ่งต่ำต้อยกว่าวรรณะศูทย์เสียอออีกเพราะไม่ได้มาจากส่วนใดเลลย จึงเป็นพวกนอกวรรณะที่ต่ำต้อยที่สุดเสมือนไม่ใช่คน เมื่อพวกพราหมณ์ถือว่าตนมีวรรณะสูงสุด จึงได้ออกกฎทางศษสนาให้พวกวรรณะอื่นต้องเคารพและอุปถัมป์พวกวรรณะพราหมณ์ โดยพวกพราหมณ์อ้างว่าตนมาจากพระพรหม จึงสามารถติดต่อเทพเจ้าได้ กลายเป็นคนกลางระหว่างเทพเจ้ากับมนุษย์และเพื่อให้เห็นถึงความวิเศษของพวกตนจึงได้ผูกขาดพิธีกรรมไว้แต่พวกเดียวและเพื่อให้เห็นว่าพิธีกรรมนั้นศักดิ์สิทธิ์ก็ต้องมีการร่ายเวทมนย์ สำหรับสรรเสริญพระเจ้าและสำไหรับอัญเชิญพระเจ้าตลอดทั้งมีพิธีกรรมพิเศษสำหรับเทพเจัาโดยเฉพาะจึงเป็นเหตุให้เกิดคัมภีร์ฤคเวท สามเวท ยชุรเวท และอถรรพเวทเวทขึ้นมาและเพื่อให้พิธีดูเป็นศักดิ์สิทธิ์ ยิ่งขึ้นก็มีการฆ่าสัตว์บูชายัญด้วยแต่ถ้าให้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งกว่านั้นจะต้องฆ่าคนเพิ่มขึ้นอีก ดังที่พระเจ้าปัสเสนทิโกศลทรงได้ยินเสียงน่าสะพรึงกลัวยิ่งนักใในคืนหนึ่ง พวกพราหมณ์ชวนให้สะเดาะเคราะห์ด้วยการบูชามหายัญ โดยฆ่าสัตว์หลายประเภท อย่างละ500ตัว และฆ่าคนบูชายัญอีก 500 คน พระเจ้าปัสเสนทิโกศลทรงเห็นชอบจึงมีรับสั่งให้จับคนและสัตว์มาบูชายัญ พวกคนและสัตว์ที่ถูกขังเพื่อนำมาบูชาเหล่านั้นได้ร้องเซ่งแซ่เพราะกลัวตาย ร้อนถึงพระนางมัลลิกาเทวีพระมเหสีได้พาพระเจ้าปัสเสนทิโกศลไปพบพระเจ้า เพื่อทูลถึงเสียงที่ได้สดดับนั้น พระพุทธเจ้าทรงบอกว่า เสียงน่าอกสั่นขวัญหายนั้นเป็นเสียงของพวกญาตในอดีตชาติของพระเจ้าปัสเสนทิโกศลกำลังตกนรกได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัส ปรารถนาจะให้พระเจ้าปัสเสนทิโกศลทำบุญอุทิศกุศลไปให้ ไม่เกี่ยวกับเคราะห์กรรมพระเจ้าปัสเสนทิโกศลแต่ประการใด แล้วทรงแสดงถึงบาปมหันต์อันเกิดจากการฆ่าคนและสัตว์บูชายัญ พระเจ้าปัสเสนทิโกศลทรงเชื่อจึงมีรับสั่งให้ปล่อยคนและสัตว์เหล่านั้นเรืองด่งกล่าวก็เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาได้ช่วยชีวิตและเช็ดน้ำตาของคน สัตว์มานักต่อนักแล้วในประเทศอินเดียนอกจากนี้พระพุทธศาสนายังช่วยกู้ศักดิ์ศรีของมนุษย์ พวกที่ถูกถือว่าเป็นวรรณะต่ำต้อยอีกด้วยโดยทรงปฏิเสธเรื่องวรรณะและสอนว่าคนทุกคนเท่าเทียมกัน ชาติกำเนิดไม่ทำให้ใครประเสริฐกว่ากัน แต่อยู่ในกรรมหรือการกระทำต่างหาก

พระพุทธเจ้ามีแหล่งกำเนิดในดินแดนที่รู้จักในครั้งพุทธกาลว่า” ชมพูทวีป” อันได้แก่ทวีปที่มีลักษณะสันดานคล้ายใบชมพูหรือใบหว้า ในปัจจุบันประกอบด้วยดินแดนของประเทศอินเดีย ปากีสถาน เนปาล และบังคลาเทศ

ประวัติศาสดา

พระพุทธเจ้าทรงมีพระนามเดิมว่า สิทธัตถะ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ ซึ้งปัจจุบันตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศเนปาล พระราชมารดาทรงมีพระนามว่า พระนางสิริมหามายา ซึ้งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์ราชกุลโกลิยวงศ์ แห่งกรุงเทวหะ

เมื่อพระนางทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติได้เสด็จกลับกรุงเทวหะแต่เมื่อขบวนเสด็จไปถึงสวนลุมพินี ซึ้งตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวหะ พระนางก็ทรงประชวรพระครรภ์และประสูติพระราชโอรสข้าราชบริพารจึงเชิญเสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์

พระราชกุมารได้รับขนานพระนามว่า สิทธัตถะ (แปลว่าผู้สำเร็จในสิ่งที่ประสงค์) ประสูติได้ 7 วันพระราชมารดาก็สวรรคต พระนางประชาบดีโคตมี ซึ่งเป็นพระมาตุกา ได้รับเป็นผู้เลี้ยงดูพระราชกุมารแทน

พระราชกุมารสิทธัตถะทรงศึกษาศิลปวิทยาทุกอย่างเท่าที่จำเป็นสำหัรบพระราชโอรสของกษัตริย์ผู้ครองนครจะพึงศึกษาจากพระครูวิศวามิตร เมื่อพระองค์อายุได้ 16 พรรษาก็ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธราหรือพิมพา พระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะและพระนางอมิตตาแห่งเทวหนครทรงมีพระโอรสองค์หนึ่งพระนามว่า ราหุล

พระเจ้าสุทโะทนะทรงต้องการให้พระราชโอรสอยู่ครองราชสมบัติแทนจึงทรงบำรุงบำเรอปรนเปรอความสุขทุกอย่างให้พระราชกุมาร เช่นทรงสร้างปราสาท 3 หลัง สำหรับประทับ 3 ฤดู และทรงอำนวยความสะดวกสบายทุกอย่างให้ แต่พระราชกุมารสิทธัตถะก็ทรงมิได้หมกหมุ่นในความสุขเหล่านั้น เมื่อทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะตามลำดับทรงคิดไว้ว่า ชีวิตทุกคนต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้นและวิถีทางที่จะพ้นจากความทุกข์ของชีวิตเช่นนี้ได้จะต้องสละเพศผู้ครองเรือนในที่สดพระองค์ก็ได้ตัดสินใจเสด็จออกผนวชในตอนดึกของคืนวันหนึ่ง ทรงตัดพระเมาลีอธิฐานเพศบรรพชิตริ่มฝั่งแม่น้ำอโนมา เมื่อพระชนมายุ 29 พรรษาหลังพระราหุลประสูติได้เล็กน้อย

จากนั้นเสด็จไปยังแคว้นมคธ ศึกษาในสำนักอาฬาลดาบสและอุทกดาบสรามบุตรจนสิ้นความรู้ของอาจารย์จึงทรงลาอาจารย์ไปบำเพ็ญเพียรที่อุรุเวลวเสนานิคมในช่วงนั้นมีปัญจวัคคีย์มาคอยปฏิบัติอยู่ด้วย พระองค์ทรงทรมานพระวรกายในที่สุดทรงกระทำ ทุกรกิริยา ก็ทรงไม่สามารถบรรลุได้ จึงทรงหันมาบำเพ็ญเพัยรทางจิตจนเกิดพระปัญญาได้ตรัสรู้ความจริงอันสูงสุด เรียกว่า อริยสัจ4 คือ

1.ทุกข์ได้แก่ความทุกข์หรือปัญญาชีวิตทั้งหมด 2. สมุทัยได้แก่สาเหตุของทุกข์หรือสาเหตุของปัญหา

3.นิโรธ ได้แก่ความดับทุกหรือการหมดปัญหา 4.มรรคได้แก่ทางดับทุกข์หรือวิธีแก้ปัญหา

พระองค์ทรงตัสรู้คาวมจริงอันประเสริฐนี้ในเวลาย่ำรุ่งของคืนวันเพ็ญเดือน 6 เมื่อพระชนมายุได้ 35 พรรษาพระ-องค์จึงทรงพระนามว่า สัมมาสัมพุทธหรือพระพุทธเจ้า เมื่อตรัสรู้แล้ง ทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปแสดงธรรมโปรดปัญจัคคีย์การแสดงธรรมครั้งแรกนี้เรียกว่า ธัมจักรกัปปวัคนสูตร ปัญจัคคีย์ได้ทรงขอผนวชในพระพุทธศาสนาต่อจากนี้ได้มีผู้เลื่อมเข้ามาบวชประพฟติตามอย่างพระอง์เคลื่อนที่ตามลำดับจนมีพระสงฆ์มากขึ้น และพระพุทธศาสนาหยั่งรากมั่นคงในแคว้นมคธ โดยพระบรมราชูปถัมป์ของพระเจ้าพิมพิสาร และในกาลต่อมาทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังแคว้นโกศลของพระเจ้าปเสนที่โกศล เมื่อประดิษพระพุทธศานาแพร่หลายแล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เสด็จดับขันธ์ที่ป่าสาระ นอกกรุงกุสินารา นครหลวงของแคว้นมัลละภาคเหนือของประเทศอินเดียเมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษาก็ทรงปรินิพพาน

วาระสุดท้ายแห่งพระชนชีพ

พระพุทธเจ้าได้ทรงบำเพ็ญพุทธกิจประจำวัน 5 อย่างคือ

  1. ตอนเที่ยงทรงแก้ปัญหาเทวดาที่มาทูลถาม
  2. ตอนใกล้รุ่งทรงสอดส่องพระญาณหาบุคลผู้มีอุปนิสัยที่พอจะช่วยเหลือได้
  3. ตอนเช้าตรู่ทรงออกบิณฑบาต โดยโปรดสัตว์ตามที่ปรากฏในพระญาณของพระองค์
  4. ตอนบ่ายทรงแสดงธรรมแด่ประชาชน
  5. ตอนค่ำทรงแสดงธรรมแด่ภิกษุ

นอกจากนี้แล้วยังทรงบำเพ็ญจริยา 3 คือ

  1. โลกัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์ต่อชาวโลก
  2. ญาตัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์ต่อพวกญาติ
  3. พุทธัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์ในฐานะพระพุทธเจ้า

 



แหล่งอ้างอิง : หนังสือศาสนาเปรียบเทียบ ; รองศาสตราจารย์ ฟื้น ดอกบัว , หนังสือสังคมศึกษา ส401 , หนังสือพระพุทธศาสนา ส0110 .

โดย : นางสาว สุภาวดี ศรีปทุมวงศ์, ร.ร.นัสพิทยาคาร, วันที่ 14 กันยายน 2545