การเขียน-อ่านภาษาบาลี

การเขียน-อ่านภาษาบาลี

               ภาษาบาลี หรืออีกหนึ่ง คือ ภาษามคธ เป็นภาษาของชาวมคธในประเทศอินเดียโบราณ ซึ่งเป็นที่ที่พระพุทธเจ้าทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก และมีพระภิกษุชาวมคธจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ภาษามคธจึงเป็นภาษาที่ใช้ในการเผยแผ่ พระพุทธศาสนา รวมทั้งใช้ในการบันทึกหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาจนสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ภายหลังไทยเราเรียกว่า ภาษาบาลี ( หมายถึง ภาษาที่รักษาพระพุทธศาสนาไว้ )

การเขียนภาษาบาลีด้วยอักษรไทยนั้น เขียนได้ 2 แบบ คือ

1. การเขียนแบบไทย วิธีการเขียน ก็คือ การเขียนพยัญชนะและสระทุกตัวด้วยอักษรไทย รูปสระนั้นจะปรากฏโดยชัดเจน ( โดยเฉพาะสระอะ )

2. การเขียนแบบบาลี เขียนพยัญชนะและสระทุกตัวด้วยอักษรไทยเช่นกัน แต่จะมีกฎดังนี้ คือ

                         2.1 คำที่มีสระผสมกับพยัญชนะแต่ไม่มีตัวสะกดให้อ่านออกเสียงตามรูปที่ ปรากฏ เช่น

ปาณาติปาตา อ่านว่า ปา-นา-ติ-ปา-ตา

โลเก                อ่านว่า โล-เก

2.2 จะไม่ใช้รูปสระอะ ฉะนั้นพยัญชนะที่ไม่มีรูปสระและสัญลักษณ์อื่น

ใดให้อ่านเป็นเสียง อะ เช่น

                         วน      อ่านว่า วะ-นะ

                        เวรมณี อ่านว่า เว-ระ-มะ-นี

                       2.3 เครื่องหมาย พินทุ ( . ) อยู่ใต้พยัญชนะตัวใด ถือว่าพยัญชนะตัวนั้นเป็นตัวสะกดแต่เนื่องจากสระอะไม่มีรูปปรากฏ เมื่อมีพินทุแสดงที่ตัวสะกด ก็ให้อ่านออกเสียงเสมือนไม้หันอากาศ ยกเว้นถ้าพินทุอยู่ใต้พยัญชนะต้นก็ให้ถือว่าเป็นอักษรควบ อ่านออกเสียงพยัญชนะตัวที่ผสม

                      2.4 นิคหิต( ํ) อยู่เหนือพยัญชนะ ออกเสียงเหมือนมี ง สะกดแต่เนื่องจาก สระอะ ไม่มีรูปปรากฏดังนั้น เมื่อใช้ นิคหิตบนตัวพยัญชนะที่ไม่มีรูปสระจึงออกเสียงเหมือนเปลี่ยนรูป อะ เป็นไม้หันอากาศและมี ง สะกด


ที่มา : หนังสือเรียนพระพุทธศาสนา ส 0111 หนังสือเรียนพระพุทธศาสนา ส 0413 หนังสือเรียนพระพุทธศาสนา ส 048

โดย : นางสาว กุสุมา คุณธรรมลิขิต, รร.พนัสพิทยาคาร, วันที่ 14 กันยายน 2545