พุทธธรรมเพื่อชีวิตและสังคม
อารยวัฑฒิ ๕ อารยวัฑฒิ หมายถึงความเจริญอันประเสริฐ ความเจริญคือการไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่มีการงอกงามเติบโตไปจากเดิม ความเจริญงอกงามอันเป็นหลักประจำใจของอารยชนนี้มี 5 ประการ คือ
1.ศรัทธา แปลว่า ความเชื่อ เชื่อกรรม เชื่อวิบาก เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
2.ศีล หมายถึง คนที่มีจิตเป็นปรกติ ไม่ถูกครอบงำด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลง
3.สุตะ แปลว่า ฟัง หมายถึง การศึุกษาเล่าเรียนทั้งปวง ฟังมากก็คือเรียนมาก การเล่าเรียนในปัจจุบัีนมี 2 ทาง คือ เรียนจากครูและเรียด้วยตนเอง
4.จาคะ หมายถึง ความเสียสละ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเสียสละในที่นี้หมายถึงการให้อะไรบางอย่างแก่คนที่ควรให้ เพื่อให้ผู้รับได้ประโยชน์หรือมีความสุข
5.ปัญญา คือ ความรู้ความเข้าใจถ่องแท้ รู้ดี รู้ชั่ว ปัญญาที่เป็นความเห็นชอบจะเกิดเมื่อมนุษย์ไม่อยู่ภายใต้แรงผลัีกดันของความรู้สึกและกิเลสแต่อยู่ภายใต้การควบคุมของเหตุผล บุคคลที่ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา เป็นคุณธรรมประจำใจนี้เปรียบเสมือนคนมีทรัพย์มากอยู่กับตัีว ฉะนั้น อารยวัฑฒิ ๕ จึุงเป็นธรรมที่อารยชนทั้งปวงพึุงสะสมไว้ในตัวให้ได้ครบ
สาราณียธรรม ๖ แปลว่า ธรรมที่ช่วยให้ระลึกถึงกัน หมายถึง ธรรมที่เป็นหลักในการสร้างความสามัคคี ความสามัคคี คือ การร่วมมือสมัครสมานกันทั้งกาย วาจา ใจ ความสามัคคีมีความสำคัญมาก เพราะทำให้เกิดพลัง พลังนี้ใช้ได้ทั้งทางดีและทางชั่ว การใช้พลังในทางชั่วนั้นเป็นการทำลายผู้่อื่นและตัวเอง
สาราณียธรรม ๖ มี 6 ข้อด้วยกัน ดังนี้
1.เมตตากายกรรม หมายถึง การมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
2.เมตตาวจีกรรม คือ การมีวาจาดีต่อกัีน
3.เมตตามโนกรรม คือ การคิดดีต่อกัน ไม่คิดมุ่งร้ายพยาบาท
4.สาธารณโภคี คือ การแบ่งปันสิ่งของให้แก่กันและกัน
5.สีลสามัญญตา คือ มีความประพฤติสุจริตดีงาม มีระเบียบวินัย
6.ทิฏฐิสามัญญตา คือ มีความเห็นชอบร่วมกัน
ชำนาญในวิชาชีพ วิชาชีพ คือ วิชาที่ช่วยให้เราสามารถประกอบการงานเฉพาััะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง การศึกษาวิชาชีพจึงต้องรู้ทั้ง 2 ด้าน คือ รู้วิธีการและชำนาญในการนำวิธีการนั้นมาทำจนเป็นผลดี
ความชำนาญในวิชาชีพนอกจากจะช่วยให้เราทำมาหาเลี้ยงตัีวเองกับครอบครัว และช่วยให้ประเทศชาติโดยส่วนรวมเจริญก้าวหน้าแล้ว ยังช่วยให้เรามีความสุขทางจิตใจด้วย
วิธีฝึกฝนให้เกิดความชำนาญในวิชาชีพ
1.ต้องชอบ
2.ต้องรู้ทฤษฎี
3.ต้องฝึกปฏิบัติ
4.ต้องถนัด
5.ต้องมีวินัยและฟังมาก
มีระเบียบวินัยดี ความมีระเบียบวินัย คือ การปฏิบัติตามแบบแผนหรือระเบียบที่กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน
ประโยชน์ของความมีระเบียบวินัีย
1.ทำให้สังคมสงบสุข
2.ทำให้สังคมเจริญก้าวหน้า
3.ทำให้เกิดความสุขใจ
กล่าววาจาดี วาจาหรือคำพูด คือ เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาให้มีความหมายเป็นเครื่องสื่อสารเพื่อแสดงถึงความนึกคิดที่อยู่ในใจแต่ละคน คำพูดที่เราพููดกันอยู่ทุกวัีนนี้อาจแบ่งได้กว้างๆเป็น 2 ประเภท คือ
1.คำพูดชั่ว คือ พูดแล้วนำไปสู่ความเสื่อม ความทุกข์
2.คำพูดดี พูดแล้วนำไปสู่ความสุขความเจริญทั้งแก่ผู้พูดและผู้่ฟัง
องค์ประกอบของการกล่าววาจาดี แยกได้ 3 ขั้น คือ
1.กาลเทศะ คือ องค์ประกอบประการแรก
2.ลักษณะคำหรือเรื่องที่พูด คือ องค์ประกอบประการที่สอง สาม สี่
3.เจตนาของผู้่พูด คือ องค์ประกอบประการสุดท้าย
อานิสงส์ของการกล่าววาจาดี
1.เป็นที่รักของคนทุกชั้น
2.ทำให้ได้รับความสำเร็จในการงาน
3.จูงใจให้ละเว้นความชั่ว
ทำงานไม่คั่งค้างสัีบสน การไม่ให้งานคั่งค้างสับสนจึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะนำความสุขความเจริญก้าวหน้ามาสู่ผู้กระทำ
คนเราเกิดมาเพื่อทำงาน เมื่อไม่ทำงานก็เหมือนกับการเกิดมาสูญเปล่าเป็นคนไม่สมบูรณ์ เราต้องทำงาน"เพราะค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน" ค่า หมายถึง คุณประโยชน์ความดีงาม ผล หมายถึง ความเจริญก้าวหน้าิ ฉะนั้น ความเจริญของบุคคลจึงอยู่ที่ความเจริญก้าวหน้าของงานที่ตนกระทำ
การทำงานดีตามหลัีกพระพุทธศาสนาที่คนทำแล้วเจริญจะต้องมีลักษณะ ดังนี้
1.ทำงานให้เสร็จทันตามเวลา
2.ทำงานใ้ห้เหมาะสมตามหน้าที่
3.ทำงานโดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคต่างๆ
ลักษณะของการทำงานดี คือ การทำงานให้เสร็จเรียบร้อย ไม่คั่งค้าง ทำอย่างเป็นระเบียบ ไม่สับสน ยุ่งเหยิง ทำอย่างต่อเนื่องไม่เบื่อหน่ายเมื่อมีอุปสรรค อุปสรรคที่ทำให้การทำงานไม่ได้่ผลมี 4 ประการ คือ
1.ความเกียจคร้าน
2.การเป็นคนที่จับจด
3.วิธีการทำงานไม่เหมาะสม
4.การขาดมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
ฉะนั้น การงานใดที่ผู้ทำทำสำเร็จเรียบร้อยทันตามเวลาที่ต้องการ ไม่คั่งค้าง สับสน ทำได้เหมาะ ถูกต้องกับหน้าที่และัเรื่องของการงานนั้น ผู้ทำงานมีความเต็มใจทำ มีความพากเพียร มีความใฝ่ใจจดจ่อ และมีการพินิจพิเคราัะห์เข้าใจแล้ว การงานนั้นย่อมก้าวหน้า |