สมณศักดิ์ของพระสงฆ์


ในอดีต การตั้งสมณศักดิ์หรือการเลื่อนสมณศักดิ์ให้แก่พระราชาคณะในราชอาณาจักรไทยนั้น เป็นพระราชอำนาจเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์เท่านั้น เมื่อทรงพระกรุณาเห็นว่า พระสมณรูปใดที่มีความรู้แตกฉานในพระธรรมวินัย รอบรู้ในพระไตรปิฎก ทั้งนี้ด้วยพระวิจารณญานที่ทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรมมาตลอดทุกพระองค์ แต่ปัจจุบันการพิจารณาเสนอเลื่อนสมณศักดิ์เป็นหน้าที่ของกรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ที่จะพิจารณาสำหรับพระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ตั้งแต่พระครูชั้นประทวนขึ้นไป


ส่วนการพิจารณาแต่งตั้งเลื่อนชั้นพระราชาคณะ เป็นอำนาจของฝ่ายเถรสมาคมที่จะร่วมกันพิจารณานำเสนอขึ้นขอพระราชทานพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ต่อไป ซึ่งมีกำหนดในการรับพระราชทานเลื่อนและสถาปนาสมณศักดิ์ในวโรกาสสำคัญ ๆ อาทิ วันพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งจะเรียกพระราชาคณะที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพิเศษในวันนี้ว่า " พระราชาคณะฤกษ์ " นอกจากนี้มีในวโรกาสอื่น คือ วันเฉลิมพระชนมพรรษากับวันพระราชพิธีฉัตรมงคล

สำหรับสมณศักดิ์ของพระภิกษุในราชอาณาจักรไทยปัจจุบันมี 8 ขั้น คือ
1. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาน สมเด็จพระสังฆราช(เจ้า) สกลมหาปริณายก
2. สมเด็จพระราชาคณะ เจ้าคณะใหญ่ ชั้นสุพรรณบัฏ
3. สมเด็จพระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ
4. พระราชาคณะชั้นธรรม
5. พระราชาคณะชั้นเทพ
6. พระราชาคณะชั้นราช
7. พระราชาคณะชั้นสามัญ แบ่งออกเป็น 4 ฝ่าย
7.1 พระราชาคณะชั้นสามัญที่เป็นเปรียญ
7.2 พระราชาคณะชั้นสามัญฝ่ายเปรียบเทียบเปรียญ(มีความรู้แต่ไม่สอบเปรียญ)
7.3 พระราชาคณะชั้นสามัญฝ่ายวิปัสสนา
7.4 พระราชาคณะชั้นสามัญฝ่านยก(สมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้ง)
8. พระครูแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
8.1 พระครูชั้นสัญญาบัตร (พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง)
8.2 พระครูชั้นฐานานุกรม (พระราชาคณะแต่งตั้ง)
8.3 พระครูชั้นประทวน (คณะสงฆ์แต่งตั้ง เพราะได้ทำคุณประโยชน์ต่อพระศาสนาและประเทศชาติ)
สำหรับพระครูชั้นฐานานุกรมนั้น พระราชาคณะแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช (เจ้า) จนถึงพระราชาคณะชั้นราช เมื่อได้รับพระราชทานสมณศักดิ์แล้วจะมีสิทธิ์และอำนาจแต่งตั้งพระครูชั้นฐานานุกรมของท่านได้ตามลำดับ




โดย : นางสาว จีรภา ทองดี, ศรีสำโรงชนูปภัมภ์, วันที่ 18 พฤศจิกายน 2544