ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
ประวัติศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู เป็นศาสนาที่เก่าที่สุดในชมพูทวีปเป็นพื้นฐานของลัทธิศาสนาต่างๆในอินเดีย ศาสนาพราหมณ์ เป็นศาสนาของพวกที่เรียกตัวเองว่า อารยัน หรือ อริยกะ ซึ่งแปลว่า ผู้เจริญเพราะเป็นผุ้ชนะในการทำสงครามกับชาวพื้นเมืองและได้ปกครองชาวพื้นเมืองตลอดมา
คัมภีร์ในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
คัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์ เรียกว่า พระเวทมีอยู่ 3 คือ
1. ฤคเวท เป็นบทสวดสรรเสริญพระเจ้า
2. ยชุรเวท ว่าด้วยพิธีบูชายัญ
3. สามเวท ว่าด้วยบทสวดสำหรับใช้ทั่วไปในกลุ่มประชาชนในพิธีกรรมต่างๆ
หลักธรรมในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
1. สอนในเรื่องกรรม คือ ใช้เว้นชั่ว ทำดี เรียกว่า กรรมโยค
2. สอนในเรื่องความรู้ ความเห็น ความถูกต้อง คือ ใช้ความรู้ ความเห็น เพื่อความเจริญแก่ส่วนรวมฝ่ายเดียว ไม่ใช้ความรู้ ความเห็น สร้างความทุกข์ทรมานให้แก่ผู้อื่น ซึ่งเรียกว่า ชญาณโยค
3. สอนในเรื่องเกี่ยวกับความจงรักภักดี หรือ ความตั้งใจรับใช้กรรมด้วยความตั้งใจมีความจงรักภักดีต่อการกระทำ ซึ่งเรียกว่า ภักติโยค
นิกายสำคัญในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
1. นิกายไศวะ เป็นนิกายที่นับถือบูชาและจงรักภักดีต่อพระศิวะ
2. นิกายไวษณพ เป็นนิกายที่นับถือบูชาและจงรักภักดีต่อพระวิษณุ หรือ พระนารายณ์
3. นิกายศักติ ลัทธิบูชาเทวี ซึ่งเป็นการบูชาชายาหรือมเหสีของเทพเจ้าทั้ง 3 พระองค์ คือ วดีเทวี พระอุมา พระลักษมี
พิธีกรรมในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
1. ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับวรรณะให้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เช่น การแต่งงาน อาหารการกิน อาชีพ
2. พิธีสังสการ พิธีกรรมที่ทำให้บริสุทธิ์
3. พิธีศราทธ์ พิธีทำพลีกรรมให้ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ
4. พิธีบูชาเทวดา ชาวฮินดู มีประเพณีการบูชามากมาย มีเทพเจ้ามาก
หลักธรรมสำหรับพัฒนาตนเองในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
1. ให้มีความกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา ครูบาอาจารย์
2. เคารพเชื่อฟังผู้ที่มีความรู้ และผู้สูงอายุ
3. รักษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี
ที่มา:หนังสือสังคมศึกษา รายวิชา ส 204 ประเทศของเรา ของ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
|