วัฒนธรรมศาสนาและชาติพันธ์

อมรา พงศาพิชญ์. วัฒนธรรมศาสนาและชาติพันธุ์ : วิเคราะห์สังคมไทยแนวมนุษยวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538.

เป็นการวิเคราะห์สังคมไทยและบทบาทของศาสนาพุทธในสังคมไทย โดยพยายามชี้ให้เห็นว่า ศาสนามีส่วนช่วยกำหนดโลกทัศน์และค่านิยมในสมัยโบราณ และในสังคมไทยในอดีต สถาบันศาสนาทำหน้าที่สนับสนุนสถาบันการปกครองตลอดมา การบริหารบ้านเมืองภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้รับอนิสงฆ์จากความเชื่อทางศาสนา การนำเสนอเนื้อหาโดยแบ่งออกเป็น 8 บท คือ 1 วิวัฒนาการของมนุษยชาติ บทที่ 2 การเกิดวัฒนธรรมและศาสนา บทที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและสถาบันทางสังคมอื่น ๆ บทที่ 4 ชี้ให้เห็นว่าศาสนายังมีอิทธิพลต่อการกำหนดค่านิยมและโลกทัศน์ บทที่ 5 ทฤษฎีเกี่ยวกับวัฒนธรรมและการเผยแพร่กระจายวัฒนธรรม บทที่ 6 วิวัฒนาการและการแพร่กระจายวัฒนธรรมในเอเชียอาคเนย์ บทที่ 7 แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ การอนุรักษ์วัฒนธรรมและความขัดแย้งทางวัฒนธรรม บทสุดท้าย บทสรุปกล่าวถึงวิธีการปรับตัวของสังคมไทยสมัยใหม่โดยมีศาสนาเป็นกลไกสำคัญ



โดย : นางสาว ดวงใจ จั่นจินดา, student 4/3 klongluang patumtani 13180, วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2545