เทศกาลเข้าพรรษา

     ถวายเทียน ตักบาตรดอกไม้เป็นพุทธบูชา

การให้แสงสว่างเป็นทานนั้นประโยชน์เพื่อการมองเห็นสิ่งหนึ่งและการให้แสงสว่างทางปัญญาอีกสิ่งหนึ่งด้วย ดังมีเรื่องเล่าว่าพระพุทธองค์ได้กล่าวถึงพุทธสาวกท่านหนึ่งว่าเป็นผู้มีสติปัญยาเฉียบแหลมเฉลียวฉลาด รู้พระธรรมวินัยแตกฉานจนเป็นหนึ่งในด้านนี้เป็นเพราะในชาติปางก่อน พุทธสาวกท่านนี้ได้ให้แสงสว่างเป็นทาน ดังนั้นความเชื่อเรื่องการถวายประทีป โคมไฟ และเทียนนอกจากจะเป็นการบูชาพระรัตนตรัยแล้วยังเชื่อว่าเป็นการใช้แสงสว่างทางปัญยาแก่การดำรงชีวิตอีกทางหนึ่งด้วย

ในช่วงวันเข้าพรรษา โดยเริ่มนับจากวันแรม 1ค่ำ เดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 รวมระยะเวลา 8 เดือนเต็มเป็นช่วงที่พระสงฆ์จำพรรษา เพื่อบำเพ็ญไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิ ปัญญาเทียนจึงเป็นปัจจัยสำคํญที่พระสงฆ์ใช้จุดเป็นพุทธบูชาตลอดพรรษาในช่วงเวลาทำวัตร สวดมนต์ เช้า เย็นบรรดาพุทธศาสนิกชนเห็นความจำเป็นของพระสงฆ์จึงพากันจัดเทียนมาถวายตามศรัทธา มีขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้างและภายหลังบางเมือง เช่นจังหวัดอุบลราชธานีได้ให้ความสำคัญในการตกแต่งเทียนอย่างงดงาม วิจิตรมากขึ้นและมีการประกวดประชันกันทั้งเมือง

ไม่ว่าเทียนหรือดอกไม้ที่นำไปถวายวัดเป็นพุทธบูชาในเทศกาลเข้าพรรษานั้นล้วนเป็นจิตรศรัทธาของพุทธศาสนิกชนในการทำบุญกุศลร่วมกันนอกจากนั้นการเข้าไปในศาสนสถานหรือชื่นชมงานบุญทั้งหลายยังเป็นโอกาศที่เราจะได้พบเห็นความงามทางด้านสถาปัตยกรรม วิจิตรศิลป์และวัฒนธรรมงดงามมากมายที่ปรากฏอยู่บนแผ่นดินไทย


ที่มา : นิตยสารอสท.

โดย : นางสาว นัยนา บุญส่ง, โรงเรียนสวนศรีวิทยา, วันที่ 19 พฤศจิกายน 2547