คำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา

        

คำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา

โมโห โกรธ

ในภาษาไทยปัจจุบัน โมโห แปลว่า โกรธ ไม่พอใจ แต่ในภาษาบาลี แปลว่า โง่ งมงาย เขลา หลง รูปเดิม

ในภาษาบาลี คือ โมห (อ่าน โมหะ) สิ่งที่ตรงกันกับโมหะ คือปัญญา แปลว่า รู้รอบ รู้ชัด โมหะคือสภาพบุคคลตก

อยู่ในความมืดบอด ไม่ตั้งอยู่ในหลักของเหตุผลและเป็นกลาง มองไม่เห็นสิ่งต่างๆ ตามที่มันเป็นจริง เห็นความดีเป็นชั่ว เห็นความชั่วเป็นความดี เช่น เห็นว่าการกินเหล้าสูบบุหรี่เป็นของโก้ ทำให้เป็นลูกผู้ชายเต็มตัว หรือเห็นว่าการพูดความจริงกับพ่อแม่เป็นความโง่ เป็นต้น คนที่มีโมหะบางทีก็มองเห็นอะไรแต่ข้างเดียว ทำให้เก็ดความลำเอียง เข้าข้างตัวเองพรรคพวก ไม่มีใจเป็นกลาง คนที่มีโมหะบางทีก็สำคัญตนผิดคิดว่าตนใหญ่ค้ำฟ้า อยากทำอะไรก็ทำ และถ้ามีพละกำลังมากด้วย ก็จะเที่ยวข่มเหงผู้อื่น

ทำไมคำว่า โมหะ ซึ่งเดิมเเปลว่า โง่ หลง งมงาย จึงกลายมามีความหมายว่าโกรธได้ไม่ทราบว่ามีผู้อธิบายไว้หรือไม่ แต่ขอสันนิษฐานว่าในบางกรณีเราอาจเกิดความโกรธใครสักคนเพราะความเข้าใจผิดได้ การเข้าใจผิดก็คือความไม่รู้ ความไม่รู้ก็นาจะเป็นความหมายหนึ่งของโมหะได้ ดังนั้น คนมีโมหะจึงมีความโกรธได้ ความหมายของโมหะจึงเปลี่ยนไปเป็นความโกรธ

ในภาษาบาลีที่ใช้ในพระไตรปิฎกมีคำอีกคำหนึ่งคือโทสซึ่งแปลว่า โกรธ มุ่งร้าย พยาบาท เกลียดชัง ในพระไตรปิฎก มีคำ 3 คำ ซึ่งไปด้วยกันเสมอ คือ โลภะ โทสะ โมหะ ทั้งสามนี้เป็นต้นตอของความชั่ว เรียกว่าอกุศลมูล 3 ซึ่งตรงกันข้ามกับกุศลมูล 3 คือต้นตอของความดี 3 ประการ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ

คำว่า โกรธ ในภาษาไทยเป็นรูปสันสกฤต บาลีใช้ โกธ แปลว่า โกรธ คำว่า โกธะ กับ โทสะ มีความหมายใก้ลเคียงกัน เพียงแต่ว่าโทสะมีความหมายที่รุนแรงกว่า คำว่า โกธะเท่านั้น ดังนั้นหนึ่งในอกุศลมูล 3 จึงใช้ โทสะ ไม่ใช้โกธะ



แหล่งอ้างอิง : วิทย์ วิศทเวทย์ .2533. พระพุทธศาสนา. อักษรเจริญทัศน์ : กรุงเทพฯ.118 หน้า.

โดย : เด็กชาย ศรายุทธ จันทะวงศ์, ร.ร.กระแสสินธุ์วิทยา, วันที่ 12 กันยายน 2546