การบริหารจิตและเจริญปัญญา

ประไพพรรณ โกศัยสุนทร.การบริหารจิตและเจริญปัญญา.มติชน.(6 เมษายน 2538),14-15.

กระทรวงศึกษาธิการ ได้ให้ความสนใจในเรื่องการพัฒนาสมาธิ และปัญญาสำหรับนักเรียน ได้บรรจุเนื้อไว้ในหลักสูตร การปฏิบัติสมาธิจัดอยู่ในหลักสูตรพระพุทธศาสนาหัวข้อเรื่องการบริหารจิต และเจริญปัญญานั้น สมเด็จพระสังฆราชได้ทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือ หลักการทำสมาธิเบื้องต้นว่าสมาธินั้นมิใช่เป็นข้อปฏิบัติ ในทางศาสนาเท่านั้น แต่การทำสมาธิหรือการบริการจิตเป็นข้อพึงปฏิบัติขิงคนทั่วไปด้วย เพราะผู้มีสมาธิย่อมเกิดปัญญา สามารถคิด วิเคราะห์แก้ปัญหา และทำการงานให้สำเร็จลุล่วงได้ดี การทำสมาธิ คือการตั้งใจทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดด้วยการและใจประกอบกันให้สำเร็จ เช่นการอ่านหนังสือต้องใช้สายตาอ่านตัวหนังสือ และใจจะต้องตั้งมั่นในเรื่องที่จะอ่านนั้นจึงจะเกิดปัญญา คือความเข้าใจ ในเรื่องที่อ่าน การทำสมาธิต้องมีการฝึกหัดเหมือนการออกกำลังกาย ต้องออกกำลังกายอยู่เสมอ กายจึงจะแข็งแรงและสามารถออกกำลังกายได้มากขึ้น เรื่อย ๆ การฝึกสมาธิสำหรับผู้เบื้องต้น มีหลายวิธีตามความถนัดของแต่ละคน เช่นการนับเลขในใจ การกำหนดลมหายใจ เข้า – ออก การตั้งใจเพ่งเล็งไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง การตั้งใจมั่น หรือหารสวดมนต์



โดย : นางสาว chaowanee thammakhankaew, สถาบันราชเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2545