ลูกเสือ กับ คุณธรรมและจริยธรรม


กระบวนการลูกเสือ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมสนับสนุนให้คนเป็นคนดี มีพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย เสียสละ อดทน มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ฯลฯ และยึดหลัก “ลูกเสือเป็นมิตรกับทุกคนทั่วโลก” การอบรมบ่มนิสัยลูกเสือให้เป็นพลเมืองดีตามจารีตประเพณีบ้านเมืองและอุดมคติซึ่งกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ 5 ประการ คือ
- ให้มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟัง และพึ่งตนเอง
- ให้ซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัยและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
- ให้รู้จักบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณสุขประโยชน์
- ให้รู้จักทำการฝีมือ
- ให้มีการพัฒนาทางกาย จิตใจ และศีลธรรม ทั้งนี้โดยไม่เกี่ยวข้องลัทธิการเมืองใดๆ
หลักการกว้าง ๆ ของกระบวนการลูกเสือดังกล่าว บัญญัติขึ้นตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งหลักการกรือวัตถุประสงค์แต่ละข้อได้นำเอาหลักธรรมมาประยุกต์ปรุงแต่งเพื่อเป็นแนวทางในการอบรมฝึกฝนโดยมุ่งเน้นเรื่องคุณธรรมและจริยธรรม
โดยกฎลูกเสือ 10 ข้อ เปรียบคล้ายกับศีลคือเป็นข้อปฏิบัติที่ลูกเสือทุกคนจะต้องยึดถือปฏิบัติตามโดยเคร่งครัดแล้วย่อมจะมีคุณธรรมและจริยธรรม ดำรงชีวิตอยู่อย่างสันติสุข เพราะสิ่งที่ประพฤติปฏิบัตินั้นเป็นเรื่องของการประพฤติดีประพฤติชอบ
นอกจากกฎของลูกเสือและคำปฏิญาณของลูกเสือว่าจะปฏิบัติตน 3 ประการ คือ จะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ จะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อและจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ
กิจการลูกเสือสามารถช่วยส่งเสริมสนับสนุนและปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีในเรื่องคุณธรรมและ จริยธรรมให้ลูกหลานไทยได้มากถ้าการสอนวิชาลูกเสือเนตรนารีในโรงเรียน ดำเนินการโดยยึดหลักการและวิธีของลูกเสืออย่างมีสติและมุ่งหวังพัฒนาร่างกายและจิตใจอย่างแท้จริง

ที่มา สมหมาย วงศ์วิทยากูล. “ กระบวนการลูกเสือ กับ คุณธรรมและจริยธรรม”
วิทยาจารย์. 100 , 4 ( กรกฎาคม 2544 ) : 10 – 12.





โดย : นางสาว เกษศิณี โฉมโต, สถาบันราชภัฎเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์, วันที่ 31 มกราคม 2545