ลักษณะสัมผัสและเสียงท้ายวรรคของกลอน ๘ มาถึงตอนนี้บางท่านอาจรู้สึกว่าการเขียนกลอนแปด เป็นเรื่องยุ่งยากไม่เบาเลย พาลจะหมดความสนใจ เอาดื้อ ๆ ผู้เขียนจึงยากจะขอแนะนำว่า ขอให้ลืม เรื่องยุ่ง ๆ ข้างต้น ไปได้เลย เพราะนั่นเป็นเรื่อง ของนักเรียนนักศึกษา ที่จะเรียนรู้ เอาคะแนน เอาเกรดกัน เรามาหัดเขียนกลอนแบบภูมิ ปัญญาชาวบ้านกันดีกว่า โดยมาเริ่มนับหนึ่ง กันใหม่ ดังนี้
๑) กลอน ๑ บท มี ๔ บรรทัด ๒) บรรทัดหนึ่ง ๆ จะเขียน ๗ คำ ๘ คำ หรือ ๙ คำก็ได้ ๓) ถ้าแต่งตั้งแต่ ๒ บทขึ้นไป คำสุดท้ายของบรรทัด ที่ ๔ ในบทต้น ต้องสัมผัสกับคำสุดท้าย ของบรรทัดที่ ๒ ในบทถัดไปเสมอ *** เห็นไหมครับ ว่าง่าย กว่าข้างต้นเยอะเลย *** โปรดดูตัวอย่างคอลัมน์ถัดไป
|
สัมผัสนอก สัมผัสใน
บทที่ ๑ "พระดูเดือน เหมือนวง นลาฏน้อง สัมผัสผ่อง ชวนจิต พิสมัย รื่นรื่นกลิ่น ลำดวน รัญจวนใจ เหมือนเข้าใกล้ กลิ่นนาง เมื่อกลางวัน" บทที่ ๒ ซึ้งเอยซึ้ง กวีรัก สร้อยอักษร หวานมนต์กลอน พระอภัย เคลิ้มใจฝัน ดื่มด่ำถ้อย สร้อยคำ ที่จำนรรจ์ รักรำพัน เลื่องชื่อ ระบือนาม
คำหรือพยางค์ ที่มี เสียงสระ คล้องจองกัน ในบท กลอนเรียกว่า สัมผัส แบ่งเป็น ๒ ชนิดคือ สัมผัสนอก และ สัมผัสใน โปรดดูตัวอย่าง บทที่ ๑ คำต่อไปนี้ น้อง สัมผัสกับ ผ่อง คำว่า สมัย สัมผัสกับ ใจ + ใกล้ คำว่า วัน คำสุดท้ายบรรทัดที่ ๔ ในบทต้น สัมผัสกับ ฝัน คำสุด ท้าย ของบรรทัดที่ ๒ ในบทถัดไป
(มีต่อกลอนแปด ๒) |