- อุปมา
อุปมา คือ การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งว่าเหมือนอีกสิ่งหนึ่ง มักใช้คำว่า เหมือน ดุจ ราวกับเสมือน ข้อความที่ใช้อุปมา เช่น
อสสโม อันว่าพระอาศรมบรมนิเวศน์วงกต เป็นที่เจริญพรตพรหมวิหาร แสนสนุกรัมณิยรโหฐานทิพพาอาสน์ ดั่งชะลอบบัณฑุกัมพลศิลาลาดเลิศแล้วมาลอยลง
เจ้าสิทรามคะนองปองแต่ที่จะแล่นแล่นลีลาศ เหมือนโปดกมฤคราชอันอ่อนแอ ครั้นพลัดแม่อยู่แต่ลำพังแล้วก็จะพากันผาดโผนโจนเล่นตามประสัตว์
โส โพธิสตโต ปางนั้นสมเด็จพระบรมนราพิสุธิพุทธางกูร ได้ฟังพราหมณ์อธิบายทูลขอสองกุมาร มีน้ำพระทัยชื่นบานเอิบอาบด้วยกุศลลาภอันเลิศฟ้า อุปมาเหมือนบุรุษอันยากไร้ มีผู้นำทรัพย์มานับให้พันตำลึงถึงมือแล้วเมื่อใด น้ำพระทัยท้าวเธอก็ปราโมทย์เหมือนฉะนั้น
น้ำพระอัสสุชลนัยน์เธอไหลลงหลั่งๆ ตกต้องหลังพระบาทพระบรมราชฤษี ผุลลปทุมํวิย ดั่งกลีบบุษยมาลีปทุเมศ มาเคียงสองรองรับน้ำชลเนตรพระเจ้าลูกท้าวเธอไว้ ส่วนสมเด็จพระนราธิปไตยพิสุทธิชินวงศ์ท้าวเธอก็พลอยทรงพระกันแสงไห้ จนพระอัสสุชลนัยน์ไหลลรินๆ โซมพระพักตร์ตกต้องพระปฤษฎางค์ พระลูกรักทั้งสอง ดุจแผ่นกระดานทองมารองรับไว้ทั้งคู่
พระบรมราชฤษีเธอจึงคาดค่าสองกุมารเหมือนนายโคบาลอันสันทัดคาดค่าโค
เธอก็หล่อหลั่งอุทวารีลงในมือพราหมณ์ ตั้งพระทัยไว้ให้งามดั่งดวงแก้ว แล้วก็ออกพระอุทานวาจาอันแจ่มใสว่า ว่าพราหมณ์เอ่ย ลูกทั้งสองของเรานี้นี่ เรารักดั่งดวงใจนัยนเนตร
สะเทือนสะท้านเลื่อนลั่นอยู่ครืนๆ ดุจหนึ่งว่าปืนสักแสนนัดมากระหน่ำซ้ำยิงอยู่เปรี้ยงๆ เสียงฉะฉาน ทั้งพญาคชสารชาติฉัททันต์ ทะลึ่งถลันร้องวะแหวๆ ประแปร๋แปร้นแล่นทะลวงงวงคว้างาหงายเงย ประหนึ่งว่าจะสอยเสยเอาดวงดาว
เสมือนพรานเบ็ดมาตีปลาหน้าไซ บรรดาปลาที่จะเข้าไปให้แตกฉาน ตัวเราผู้ทำทานเหมือนตัวปลา
พระลูกรักทั้งสองศรีดั่งกระแสสินธุ์ พราหมณ์ประมาทหมิ่นมาด่าตี เสมือนกระทุ่มวารีให้ปลาตื่น
ท้าวเธอก็ตั้งพระสมาธิระงับดับพระวิโยคกลั้นพระโศกสงบแล้วพระพักตร์ก็ผ่องแผ้วแจ่มใสดุจทองอุไรทั้งแท่ง อันบุคคลแกล้งหล่อแล้วมาวางไว้ในพระอาศรม
- อุปลักษณ์
อุปลักษณ์ คือการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่ง เป็นการเปรียบเทียบลึกกว่าอุปมา