มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์กุมาร
ผู้แต่ง เจ้าพระยาพระคลัง
เกิดสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ รับราชการเป็นหลวงสรวิชิต ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แล้วได้เลื่อนเป็นพระยาพิพัฒน์โกษาและพระยาพระคลังเสนาบดีจตุสดมภ์กรมท่าในสมัยรัชกาลที่ 1 ผลงานนิพนธ์ในสมัยกรุงธนบุรี ได้แก่ บทมโหรีเรื่องกากี,อิเหนาคำฉันท์,ลิลิตเพชรมงกุฎ, ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้แก่ ราชาธิราช,ลิลิตศรีวิชัยชาดก,สามก๊ก, ลิลตพยุหยาตราเพชรพวง,ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรี ถึงแก่อาสัญกรรมในสมันรัชกาลที่ 1 พ.ศ.234
รูปแบบ ยกคาถาภาษาบาลีขึ้นเป็นหลักแล้วแต่งแปลเป็นภาษาไทยด้วยร่ายยาว ประดับด้วย 11 พระคาถา เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์ คือ โอดเชิดฉิ่ง
ที่มา มหานิบาตชาดกที่ปรากฎในคัมภีร์พระพุทธศาสนา มีคาถาเกิน 80 คาถาขึ้นไปมี 10 เรื่อง คือ ทศชาติชาดก หรือพระเจ้าสิบชาติ ได้แก่
1. เตมียชาดก บำเพ็ญ เนกขัมมบารมี
2. มหาชนกชาดก บำเพ็ญ วิริยบารมี
3. สุวรรณสามชาดก บำเพ็ญ เมตตาบารมี
4. เนมิราชชาดก บำเพ็ญ อธิษฐานบารมี
5. มโหสถชาดก บำเพ็ญ ปัญญาบารมี
6. ภูริทัตชาดก บำเพ็ญ ศีลบารมี
7. จันทรกุมารชาดก บำเพ็ญ ขันติบารมี
8. นารทชาดก บำเพ็ญ อุเบกขาบารมี
9. วิธุรชาดก บำเพ็ญ สัจบารมี
10. เวสสันดรชาดก บำเพ็ญ ทานบารมี
การเทศน์มหาชาติ เป็นประเพณีสืบแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจัดระหว่างเดือนพฤศจิกายนและเดือนธันวาคมบริเวณที่จัดเทศน์มหาชาติจะมีการประดับด้วยต้นกล้วยต้นอ้อย เพื่อให้คล้าย
นิโครธาราม ซึ่งเป็นสถานที่ตรัสเทศนาเรื่อง
มหาเวสสันดรชาดกของพระพุทธองค์ ผู้รับเป็นเจ้าของกัณฑ์ใดจะจัดเครื่องกัณฑ์มีธูปเทียนดอกไม้เงินตามจำนวนคาถาในกัณฑ์นั้น และเครื่องไทยทานถวายพระภิกษุให้เข้ากับกัณฑ์โดยมีความเชื่อกันว่าถ้าฟังเทศน์มหาชาติครบ 13 กัณฑ์ พันคาถาภายใน 1 วัน จะเกิดมหานิสงส์ได้ไปเกิดในสมัย
พระพุทธศรีอาริยเมตไตรย์
เรื่องย่อเทศน์มหาชาติ
ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกฉบับกระทรวงศึกษาธิการได้คัดเลือกสำนวนเยี่ยมๆ จัดพิมพ์เมื่อรศ.121
1.กัณฑ์ทศพร เป็นสำนวนของกรมพระปรมานุชิตชิโนสร เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์คือ สาธุการ มี 19 คาถา กล่าวถึงการอภิเษกของพระเจ้ากรุงสญชัยแห่งแคว้นสีพีกับพระนางผุสดีพระธิดาพระเจ้ากรุงมัทราช ซึ่งในอดีตชาติเคยบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นมเหสีพระพระอินทร์ เมื่อจุติจากสวรรค์ได้ทูลขอพร 10 ประการและได้เป็นพุทธมารดาสมปรารถนา
2.กัณฑ์หิมพานต์ เป็นสำนวนของ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์ คือ ดวงพระธาตุ มี 134 พระคาถากล่าวถึงการประสูติของ พระเวสสันดร พระราชโอรสของพระนางผุสดีกับพระเจ้ากรุงสญชัยโดยวันเดียวกันนั้นช้างเผือกชื่อ ปัจจัยนาค ได้ถือกำเนิดที่โรงช้างต้น พระเวสสันดรได้อภิเษกสมรสกับพระนางมัทรีและมีพระราชโอรสนาม ชาลี กับพระธิดานาม "กัณหา"
3.ทานกัณฑ์ เป็นสำนวนของสำนักวัดถนน เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์ คือพญาโศก มี 209 คาถากล่าวถึงการเกิดฝนแล้ง ข้าวยากหมากแพงที่เมืองกลิงคราษฎร์ พราหมณ์ 8 คน จากเมืองกลิงคราษฎร์ จึงเป็นฑูตมาขอช้างปัจจัยนาคเพื่อความอุดมสมบูรณ์ พระเวสสันดรก็พระราชทานให้ ชาวเมืองสีพี เคียดแค้นมากพากันมาทูลขอให้พระเจ้ากรุงสญชัยเนรเทศพระเวสสันดรไปจากเมืองสีพี ก่อนที่พระเวสสันดรจะเสด็จออกจากเมืองสีพีได้ทรงทำทานยิ่งใหญ่ สัตสดกมหาทาน แล้วจึงเสด็จออกจากเมืองพร้อมด้วยพระนางมัทรีรวมทั้งชาลีและกัณหา
4.กัณฑ์วนปเวสน์ เป็นสำนวนของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์ คือ พญาเดิน มี 57 พระคาถา กล่าวถึงกษัตริย์ทั้ง 4 เมื่อเสด็จไปถึงมาตุลนคร บรรดากษัตริย์ได้ทูลเชิญให้พระเวสสันดรครองเมืองแต่พระเวสสันดรได้ทรงปฏิเสธ พระเจ้าเจตราษฎร์จึงให้เจตบุตรพรานป่าไปดูแลมิให้ผู้ใดล่วงล้ำเข้าไปรบกวนพระเวสสันดร ซึ่งเมื่อเสด็จไปจนถึงเขาวงกต ได้พบพระอาศรมที่พระอินทร์สั่งให้พระวิศรรมเทพบุตรมาเนรมิตรไว้ให้ พระเวสสันดรและพระนางมัทรีก็ได้ถือเพศเป็นดาบทและดาบสินีอยู่ ณ ที่นั่น
5.กัณฑ์ชูชก เป็นสำนวนของพระมุนี (ด้วง) วัดสังข์กระจาย เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์ คือ เซ่นเหล้า มี 79 พระคาถา กล่าวถึงชูชกพราหมณืชราชาวเมืองกลิงคราษฎร์ มีภรรยาสาวชื่อนางอมิตตดา ซึ่งปรนนิบัติชูชกอย่างดี พราหมณ์หนุ่มจึงพากันอิจฉาด่าทอ ทุบตีภรรยาที่ไม่ปรนนิบัติต่อตนเช่นนั้นเลย นางพราหมณีเหล่านี้นั้นโกรธแค้นจึงมารุมต่อว่านางอมิตตดาอย่างรุนแรง ด้วนเทวดาดลใจ นางจึงบังคับให้ชูชกไปขอสองกุมารจากพระเวสสันดรมารับใช้นาง ชูชกจำใจทำตามเดินทางไปเขตเขาคันธมาทน์ใช้เพทุบายหลอกพรานเจตบุตรว่าเป็นทูตมาเชิญพระเวสสันดรกลับแคว้นสีพี เจตบุตรหลงเชื่อจึงบอกทางไปเขาวงกตให้
6.กัณฑ์จุลพน เป็นสำนวนของพระบาทสมเด็จพระจอมกล้าเจ้าอยู่หัว เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์ คือ คุกพาทย์ มี 35 พระคาถา กล่าวถึง การบอกทางไปเขาวงกตให้ชูชกอย่างละเอียดของเจตบุตรพรานป่าพร้อมเลี้ยงอาหารและจัดเสบียงให้ชูชกไปกินกลางทาง
7.กัณฑ์มหาพน เป็นสำนวนของพระเทพโมลี (กลิ่น) เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์ คือ เชิดกลอง มี 80 พระคาถา กล่าวถึงชูชกเมื่อเดินทางไปถึงอาศรมพระอัจจุตฤษีก็ได้ใช้เพทุบายลวงว่าจะมาสนทนาธรรมกับพระเวสสันดร พระอัจจุตฤษีหลงเชื่อจึงต้อนรับเลี้ยงดูอย่างดีแล้วแนะทางไปเขาวงกตให้อย่างละเอียด
8.กัณฑ์กุมาร เป็นสำนวนของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์ คือ โอดเชิดฉิ่ง มี 11 พระคาถา (เนื้อเรื่องเป็นตอนที่นำมาให้เรียน)
9.กัณฑ์มัทรี เป็นสำนวนของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์ คือ ทยอยโอด มี 90 พระคาถา กล่าวถึงพระนางมัทรีออกจากพระอาศรมไปหาผลไม้ในป่า พระทัยหวาดหวั่นด้วยประหวัดถึงสองกุมาร ผลไม้ก็หาได้ยากจนพลบค่ำกำลังจะกลับอาศรม เทวดาก็จำแลงเป็นสัตว์ร้ายขวางอยู่พระนางมัทรีต้องวิงวอนอย่างอ่อนโยนอยู่นานจึงผ่านมาได้ เมื่อกลับถึงอาศรมพระเวสสันดรมิได้แจ้งความจริงโดยทันทีด้วยเกรงว่านางจะโศกเศร้าจนไม่อาจทนทานได้ จึงกล่าวแสร้งด้วยโวหารแสดงความหึงหวง พระนางมัทรีน้องพระทัยออกเที่ยวแสวงหาสองกุมารตลอดคืนจนสลบไป พระเวสสันดรแก้ไขให้ฟื้นขึ้นแล้วตรัสบอกความจริง พระนางมัทรีจึงทรงอนุโมทนา
10.กัณฑ์สักกบรรพเป็นสำนวนของพระบาทสมเด็จพระจองเกล้าเจ้าอยู่หัว เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์ คือ กลม มี 43 พระคาถา กล่าวถึงพระอินทร์เมื่อทรงทราบถึงบุตรทานนี้ เกรงว่าจะมีผู้อื่น มาขอพระนางมัทรีจึงแปลงองค์เป็นพราหมณ์มาทูลขอเสียก่อน เมื่อพระเวสสันดรประทานให้ พระอินทร์ทรงอนุโมทนาแล้วถวายพระนางคืนพระเวสสันดร จากนั้นจึงแสดงองค์ให้ปรากฏและให้พระเวสสันดร 8 ประการดังนี้
1.ให้พระเจ้ากรุงสญชัยมารับกลับนคร
2.ให้ได้ช่วยนักโทษประหารให้รอดพ้นจากความตาย
3.ให้ได้เป็นที่พึ่งแก่คน 3 วัย
4.ให้มีใจยินดีต่อภรรยาตนเพียงผู้เดียว
5. ให้โอรสมีอายุยืน อำนาจมาก
6.ให้มีสรรพาหารไว้บำเพ็ญทานโดยเทวดาบรรดาลให้
7.ให้ทรัพย์ที่บริจาคทานไม่หมดสิ้นและไม่เบื่อหน่ายในการบริจาคทาน
8.ให้ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นสูงเมื่อสิ้นชีพ
11.กัณฑ์มหาราช เป็นสำนวนของพระปรมานุชิตชิโนรส เพลงพิณพาทย์ประจำกัณฑ์ คือ กราวนอก มี 69 พระคาถา กล่าวถึงเมื่อชูชกพาสองกุมารหลงทางมาสู่หน้าพระลานกลางเมืองสีพี พระเจ้ากรุงสญชัยทอดพระเนตรเห็นเข้า เมื่อทรงทราบเรื่องก็ได้ทรงไถ่สองกุมารคืนตามพระเวสสันดรกำหนดค่าไว้ พระชาลีได้มีโอกาศชี้แจงเหตุผลการบำเพ็ญความดีของพระเวสสันดรต่อหน้าหมู่อำมาตย์ทั้งหลาย พระเจ้ากรุงสญชัยจึงเตรียมไพร่พลเสด็จไปรับพระเวสสันดรกลับเมือง พอดีกับที่พราหมณ์ 8 คนจากเมืองกลิงคราษฎร์นำช้างปัจจัยนาคมาคืน
12.กัณฑ์ฉกษัตริย์ เป็นสำนวนของกรมพระปรมานุชิตชิโนรส เพลงพิณพามย์ประจำกัณฑ์ |