วรรกรรมท้องถิ่น


ภูมิหลัง

วรรณกรรมท้องถิ่น เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมพื้นบ้าน ที่บันทึกเรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่ การประพฤติปฏิบัติของประชาชนธรรมดาทั่วไป ที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน

วัฒนธรรมพื้นบ้านมีขอบข่ายกว้างขวาง โดยตามรูปแบบได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

๑. วัฒนธรรมพื้นบ้านประเภทต้องอาศัยภาษา ได้แก่

๑.๑ นิทานพื้นบ้าน เช่น เทพนิยาย นิทนประจำถิ่น นิทานวีรบุรุษ นิทานเกี่ยวกับสัตว์ นิทานอธิบายเหตุ นิทานตลกขบขัน นิทานร่าเริง

๑.๒ ภาษาถิ่น รวมทั้งวัฒนธรรมการพูดจาและการตั้งชื่อ เช่น ชื่อบ้านนามเมือง ที่มีความเชื่อเข้าไปเกี่ยวข้อง

๑.๓ บทภาษิต คำคม คำพังเพย

๑.๔ ปริศนาคำทาย

๑.๕ คำพูดที่คล้องจองกัน เช่น คำกลอนสำหรับเด็ก

๑.๖ เพลงพื้นบ้าน ได้แก่ เพลงพื้นบ้านที่ร้องด้วยภาษาถิ่น มีทำนองเป็นของท้องถิ่น เช่น เพลงกล่อมเด็ก เพลงขับร้อง เป็นเรื่องราว

๒. วัฒนธรรมพื้นบ้านประเภทที่ไม่ต้องอาศัยภาษาเป็นสื่อ ได้แก่

๒.๑ สถาปัตยกรรมพื้นบ้าน

๒.๒ ศิลปะพื้นบ้าน

๒.๓ หัตถกรรมพื้นบ้าน

๒.๔ เครื่องแต่งกายพื้นบ้าน

๒.๕ อาหารพื้นบ้าน การบริโภคและนิสัยของชาวบ้าน

๒.๖ อากัปกิริยาของชาวบ้าน เช่น ท่าทางการแสดงความอาย อาการโกรธ อาการตอบรับหรือปฏิเสธ และอากัปกิริยาทั่ว ๆ ไป

๒.๗ ดนตรีพื้นบ้าน

๓. วัฒนธรรมพื้นบ้านประเภท ประสมประสาน

๓.๑ ความเชื่อ ได้แก่ การถือโชคลาง คาถาอาคม หารทำเสน่ห์และเครื่องรางของขลัง

๓.๒ ละครชาวบ้าน การละเล่นพื้นบ้าน และระบำของชาวบ้าน

๓.๓ ประเพณี และพิธีกรรมพื้นบ้าน

๓.๔ งานมหกรรม พิธีการฉลอง

๓.๕ การเล่น หรือกีฬาพื้นบ้าน รวมทั้งการเล่นของเด็ก

๓.๖ ยากลางบ้าน

จากการแบ่งประเภทของวัฒนธรรมพื้นบ้านดังกล่าวแล้ว จะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมพื้นบ้านสัมพันธ์กับชีวิตความเป็ยอยู่ทุกอย่างของคนในท้องถิ่น ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นต้องแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสภาพภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และการเมือง

ความหมายของวรรณกรรมท้องถิ่น

วรรณกรรมท้องถิ่น หมายถึง วรรณกรรมี่เป็นมุขปาฐะ (ใช้ถ้อยคำเล่าสืบต่อ ๆ กันมา) และลายลักษณ์(บันทึกในวัสดุต่าง ๆ เช่น ในใบลาน และบันทึกในกระดาษที่เรียกว่า สมุดไทย สมุดข่อย เป็นต้น) วรรณกรรมเหล่านี้ปรากฏอยู่ในท้องถิ่นภาคต่าง ๆ ของไทย โดยคนท้องถิ่นนั้นเป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้นมา รูปแบบฉันทลักษณ์เป็นไปตามความนิยมของคนท้องถิ่น ภาษาที่ใช้เป็นภาษาของท้องถิ่นนั้น ๆ วรรณกรรมท้องถิ่นมีอยู่ในทุกท้องถิ่นของประเทศไทย เช่น ท้องถิ่นใต้ ท้องถิ่นเหนือ ท้องถิ่นอีสาน ท้องถิ่นภาคกลาง

ลักษณะของวรรณกรรมท้องถิ่น

วรรณกรรมท้องถิ่นมีลักษณะที่สรุปได้ ดังนี้

๑. ชาวบ้านในท้องถิ่นเป็นผู้สร้างสรรค์ คัดลอกและเผยแพร่

๒. กวีผู้ประพันธ์ ส่วนมากคือ พระภิกษุและชาวบ้าน โดยมีวัดเป็นศูนย์กลาง

๓. ภาษาที่ใช้เป็นภาษาประจำถิ่น เป็นภาษาที่เรียบบง่ายมุ่งการสื่อความหมายกับผู้อ่าน

สำนวนโวหารเป็นของท้องถิ่น

๔. เนื้อเรื่องมุ่งให้ความบันเทิงใจ บางครั้งได้สอดแทรกคติธรรมของพุทธศาสนา

๕. ค่านิยมยึดปรัชญาแบบชาวพุทธ

ประวัติความเป็นมาในการศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่น

การศึกษาวรรณกรรมไทย (รวมทั้งวรรณคดี หรือวรรณกรรมแบบฉบับ) เริ่มศึกษาเมื่อสมัย

รัชกาลที่ ๕ โดยมีการตั้งโบราณคดีสโมสร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ ได้รวบรวม ชำระ ซ่อมแซมวรรณกรรมที่กระจัดกระจาย โดยผู้รวบรวมคือ นักปราชญ์ ราชบัณฑิต ขุนนาง ซึ่งรู้จักแต่วรรณคดีหรือวรรณกรรมในราชสำนักเท่านั้น

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีการตั้งวรรณคดีสโมสร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยดำเนินการต่อจากโบราณคดีสโมสร โดยได้จัดประเภทของวรรณกรรมและพิจารณาว่าวรรณกรรมใดสมควรยกย่อง แต่การศึกษาก็อยู่ในวงจำกัด การศึกษาจึงจำกัดอยู่เพียงในวรรณกรรมที่ชำระได้ในครั้งนั้นเท่านั้ น ไม่ได้ศึกษาวรรณกรรมอื่น ๆ ให้กว้างขวางออกไป วรรณกรรมชาวบ้าน ชาววัดจึงถูกทอดทิ้งอยู่เป็นนาน

เมื่อราว พ.ศ. ๒๕๐๒ สถาบันการศึกษาระดับอุดมได้นำศึกษา ได้แนวคิดจาสกตะวันตกที่นิยมศึกษาเรื่องราวทางพื้นบ้าน และเสนอเป็นวิทยาการในหลักสูตร ที่เรียกชื่อว่า Folklore ใช้ชื่อว่า “คติชาวบ้าน” บ้าง “คติชนวิทยา” บ้าง จากการศึกษาทำให้ทราบถึงแนวคิด คตินิยม ปรัชญาชีวิตของสังคมในท้องถิ่นต่าง ๆ ของไทย มีความแตกต่างจากปรัชญาชีวิตและสังคมของภาคกลางเกือบสิ้นเชิง จึงทำให้มีการหันมาศึกษาวรรณกรรมในแต่ละท้องถิ่นมากขึ้น จนต่อมาได้มีการจัดรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่นในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ.2524(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๓๓)

การเปรียบเทียบวรรณกรรมแบบฉบับกับวรรณกรรมท้องถิ่น

วรรณกรรมแบบฉบับ(วรรณคดี)

วรรณกรรมท้องถิ่น

๑. ชนชั้นสูง เจ้านาย ข้าราชสำนักมีสิทธิมีส่วนเป็นเจ้าของ

-ผู้สร้างสรรค์ รวมถึงจดบันทึก คัดลอก

-ผู้ใช้(อ่าน ฟัง)

-อนุรักษ์

-แพร่หลายในราชสำนัก

๒. กวี ผู้ประพันธ์ เป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิต หรือเจ้านาย ฉะนั้นมโนทัศน์ ค่านิยมและทัศนะที่เห็นสังคมสมัยนั้นจึงจำกัดอยู่ในรั้วในวัง หรือมีการสอดแทรกสภาวะสังคมก็เป็นแบบมองเห็นสังคมอย่างเบื้อบนมองลงมา

๓. ภาษาและกวีโวหารนิยมการใช้คำศัพท์อุดมไปด้วย คำบาลีสันสกฤต โดยเชื่อว่าเป็นการแสดงภูมิปัญญาของกวี แพรวพราวไปด้วยกวีโวหารที่เข้าใจยาก

๔. เนื้อหาส่วนใหญ่จะมุ่งในการบอพระเกียรติ ทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่ต่างก็มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับการผ่อนคลาย ทางด้านอารมณ์และศาสนาอยู่ไม่น้อย

๕. ค่านิยมอุดมคติยึดปรัชญาชีวิตแบบสังคมชาวพุทธ และยกย่องสถาบันกษัตริย์อีกด้วย

๑. ชาวบ้านทั่วไปมีสิทธิเป็นเจ้าของ คือ

-ผู้สร้างสรรค์ ผู้ใช้

-อนุรักษ์

-แพร่หลายในหมู่ชาวบ้าน

 

 

๒. กวีผู้ประพันธ์ เป็นชาวพื้นบ้าน หรือพระภิกษุสร้างสรรค์วรรณกรรมขึ้นมา ด้วยใจรักมากกว่า “บำเรอท้าวไท้ ธิราช ผู้มีบุญ” ฉะนั้นมโนทัศน์เกี่ยวกับสภาวะของสังคมจึงเป็นสังคมชาวบ้านแบบประชาคมท้องถิ่น

๓. ภาษาที่ใช้เป็นภาาาง่าย ๆ เรียบ ๆ มุ่งการนื่อความหมายเป็นสำคัญ ส่วนใหญ่เป็นภาษาของท้องถิ่นนั้น ละเว้นคำศัพท์บาลีสันสกฤต โวหารนิยมสำนวนที่ใช้ในท้องถิ่น

๔. เนื้อหา ส่วนใหญ่มุ่งในทางระบายอารมณ์ บันเทิงใจ แต่แฝงคติธรรมทางพุทธศาสนา แม้ว่าตัวเอกของเรื่องจะเป็นกษัตริย์ก็ตาม แต่มิได้มุ่งยอพระเกียรติมากนัก

๕. ค่านิยมและอุดมคติโดยทั่วไปเหมือนกับวรรณกรรมแบบฉบับ ยกย่องสถาบันกษัตริย์แต่ไม่เน้นมากนัก

คุณค่าของวรรณกรรมท้องถิ่น

วรรณกรรมท้องถิ่นมีประโยชน์มากมายหลายประการดังนี้

๑. ให้ความบันเทิงใจแก่ชุมชน เช่น ขับเสภาในภาคกลาง เล่าค่าวหรือขับลำนำภาคเหนือ อ่านนหังสือในบุญเงือนเฮือนดีในภาคอีสาน การสวดหนังสือและสวดด้านของภาคใต้

๒. ให้เข้าใจในค่านิยม โลกทัศน์ของแต่ละท้องถิ่นโดยผ่านทางวรรณกรรม

๓. เข้าใจวัฒนธรรมของชาวบ้านในท้องถิ่นนั้น

๔. ก่อให้เกิดความรักถิ่น หวงแหนมาตุภูมิ และรักสามัคคีในท้องถิ่นของตน

 

 

 


ที่มา : ธวัช ปุณโณทก วรรณกรรมท้องถิ่น สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ ,2525

โดย : นางสาว เรวดี เอี่ยมจินตนากิจ, โรงเรียนวังพิกุลพิทยาคม อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์, วันที่ 10 สิงหาคม 2545