ปริศนาคำทาย


ปริศนาคำทาย

ปริศนา ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง
สิ่งหรือถ้อยคำที่ผูกขึ้นเป็นเงื่อนงำเพื่อให้แก้ให้ทาย
คนไทยเป็นคนช่างคิด สามารถใช้ปัญหาแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าหรือในยามคับขันได้เป็นอย่างดี แต่ในยามปกติก็มักจะผูกเป็นปัญหาขึ้นเพื่อถาม หรือทายกันเล่นเพื่อเป็นการฝึกภูมิปัญญา เป็นการสร้างความสามัคคีและมีมนุษยสัมพันธ์อันดีในหมู่คณะ ปริศนามีหลายอย่าง
เช่น ปริศนาธรรม ปริศนาลายแทง ปริศนาอักษรไขว้ ปริศนาคำทาย เป็นต้น
ปริศนาที่เป็นที่รู้จักดี และนิยมเล่นกันทั่วไป คือ ปริศนาคำทาย เป็นปริศนาที่ทายได้ทุกเพศทุกวัย แต่ถ้าเป็นปริศนาที่เล่นกันเฉพาะในหมู่ที่มีความรู้สูงขึ้นมาอีก มักจะเล่นกันเฉพาะในกลุ่มเท่านั้นซึ่งปริศนาชนิดนี้เรานำแบอย่างมาจากจีน เรียกกันว่า ผะหมี
และในภาคอีสานก็มี ผญา ซึ่งผญาบางประเภทจะมีลักษณะเป็น ปริศนา เช่นกัน
การผูกปริศนานิยมใช้คำคล้องจองกันเป็นข้อความสั้นๆ กะทัดรัดหรืออาจผูกเป็น
ปริศนากลอน เช่นกลอนสุภาพ กลอนสักวา หรือโคลงสี่สุภาพ เป็นต้น ส่วนเนื้อหานั้นมักจะ
นำมาจากสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา เช่น ของใช้ สัตว์ หรือ พืช ซึ่งผู้ผูกปริศนาจะต้องเป็นคน
ช่างสังเกต แล้วนำเอาสิ่งที่สังเกตเห็นมาผูกปริศนาให้ผู้อื่นใช้ปัญญาเพื่อแก้หรือทาย เช่น



ปริศนาคำทายเป็นการละเล่นพื้นบ้านอย่างหนึ่งของไทย ซึ่งนิยมเล่นกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ และยังคงสืบเนื่องกันมาจนถึงทุกวันนี้ นับว่าเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของไทย
การทายปริศนานั้นทายได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อาจจะทายกันในครอบครัวหรือญาติมิตรก็ได้
การทายปริศนานอกจากจะให้ความสนุกสนานแล้ว ยังให้ความคิด ความฉลาดในการฝึกปัญญาของผู้เล่นเป็นอย่างมาก และยังเป็นการสร้างความสามัคคีสร้างมนุษยสัมพันธ์ในหมู่ผู้เล่นอีกด้วย
การทายปัญหา ผู้ตั้งปัญหาจะต้องใช้คำคล้องจองให้สัมผัสกันโดยไม่กำหนดจำนวนคำในแต่ละวรรค เช่น
อะไรเอ่ย ยิ่งตัดยิ่งยาว (ถนน)
อะไรเอ่ยเป็นพวงอยู่ระหว่างขา (ปิ่นโต)
อะไรเอ่ย ตัวอยู่นา ตาอยู่บ้าน (ตาปู)
อะไรเอ่ย เมื่อเด็กนุ่งขาว สาวนุ่งเขียว แก่นุ่งแดง (พริก)
การทายปัญหานั้นไม่ใช่เล่นกันในหมู่บ้านหรือครอบครัวเท่านั้น แม้ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็นิยมทายกัน แต่มักจะแต่งเป็นโคลงหรือกลอนให้มีความไพเราะไปในทางภาษาหนังสือ เป็นการทายในหมู่ชนชั้นที่ได้รับการศึกษา ซึ่งต่างจากการทายปริศนาตามหมู่บ้านหรือตามประสาชาวบ้าน เช่น
วัดหนึ่งนามเรียกคล้าย เวลา
ราตรีต่อทิวา นั่นไซร้
มีนามซึ่งชนสา- มัญเรียก
แปลว่าวัดซึ่งไร้ ร่มไม้ชายคา
(เฉลย – วัดแจ้ง หรือ วัดอรุณ)
เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธมกุฎราชกุมาร พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในบางโอกาส สำหรับให้ข้าราชบริพารส่วนพระองค์คิดทายกันเล่น หรือภายในแวดวงข้าราชสำนักสมัยนั้น เช่นในงานฤดูหนาวประจำปีที่วัดเบญจมบพิตรในสมัยนั้น จัดว่าเป็นงานที่สนุกสนานที่สุด
เป็นงานที่เจ้านายเชื้อพระวงศ์มาออกร้านกันมาก การเล่นทายปัญหาหรือปริศนานับว่าเป็นจุดสำคัญที่สุดของงาน รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชนิพนธ์ปัญหาร่วมด้วย จึงมีข้าราชบริพารสนใจตอบหรือทายกันมาก และมีรางวัลสมนาคุณให้แก่ผู้ที่ตอบหรือทายถูกอีกด้วย การเล่นทายปัญหาในวัดเบญจมบพิตรนี้ในขั้นแรกเรียกว่าเป็นการทาย “ผะหมี” ซึ่งเป็นการเล่นอย่างแพร่หลายในหมู่
นักปราชญ์ราชบัณฑิตและกวีในประเทศจีน



โดย : นาง สุกันย์ นางาม, นารีนุกูล, วันที่ 29 มิถุนายน 2545