พระศรีสุนทรโวหาร
|
คลิกสองครั้งเพื่อเพิ่มภาพตัดปะ |
คลิกเพื่อ
พระศรีสุนทรโวหาร
(สุนทรภู่)
สุนทรภู่เป็นกวีเอกที่อยู่ในความทรงจำของคนไทยมาเนิ่นนานแล้ว สุนทรภู่เป็นชาวเมืองแกลง จังหวัดระยอง เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๒๙ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ พ่อเป็นชาวเมืองแกลง แม่เป็นชาวเมืองใดไม่ปรากฏ ได้ทำมาหากินในกรุงเทพ ฯ เมื่อสุนทรภู่ อายุได้ ๒ ขวบ พ่อกับแม่ก็ได้อย่าร้างกัน พ่อได้เดินทางไปบวช เป็นพระที่เมืองแกลง ส่วนแม่นั้นเข้าไปเป็นแม่นมในวังหลัง ส่วนตัวของสุนทรภู่ก็ได้ตามไปอยู่กับแม่ในวังหลังด้วย สุนทรภู่ในวัยเด็กจนถึงวัยหนุ่ม ได้ศึกษาเล่าเรียนที่วัดชีประขาว หรือวัดศรีสุดารามในปัจจุบัน ซึ่งตั้งอยู่ในซอยบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อยไม่ไกลจากถนนจรัญสนิทวงศ์เท่าใดนัก ต่อมาได้รับราชการเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ จนมีชื่อเสียงในการแต่งกลอน ตอนอยู่ในวังก็ลักลอบได้เสียกับหญิงชาววังชื่อจัน เลยถูกกริ้วต้องเวรจำทั้งสองคน พอพ้นโทษสุนทรถู่และนางจันจึงเดินทางไปเยี่ยมพ่อที่เมืองแกลงเนื่องจากเป็นผู้ที่มีนิสัยเจ้าบทเจ้ากลอนมาตั้งแต่ยังเยาว์วัย จึงเริ่มแต่งกลอน เรียกว่า " นิราศเมืองแกลง " ขึ้นเป็นเรื่องแรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๐ ต่อมาก็ได้แต่งงานกับนางจัน แต่กินอยู่กันได้ไม่นาน เพราะสุนทรภู่เป็นคนชอบดื่มเหล้าและเจ้าชู้ นางจันจึงทิ้งไป หลังจากนั้นสุนทรภู่ก็มีเมียอีกหลายคน แต่ละคนอยู่ด้วยกันไม่นานนักก็เลิกรากันไป เมียคนที่สุนทรภู่รักมากที่สุดคือนางจัน เมื่อตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปที่พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี จึงได้แต่งนิราศพระบาทขึ้นอีกเรื่องนับเป็นกลอนเรื่องที่ ๒ ในปลายสมัยรัชกาลที่ ๑ เรื่องกินเหล้าเมายาของสุนทรภู่ จึงทำให้ตนเองนั้นตกระกำลำบาก แต่เนื่องจากเป็นผู้ที่มีฝีมือในการแต่งกลอน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ในช่วง พ.ศ. ๒๓๕๒ พระองค์โปรดปรานในตัวสุนทรภู่มาก จนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็น " ขุนสุนทรโวหาร " อยู่ในกรมพระอาลักษณ์ จนกระทั่งสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยสวรรคตในปี พ.ศ. ๒๓๖๗ นับว่าชีวิตของสุนทรภู่นั้นรุงโรจน์มากในรัชกาล ครั้นเมื่อกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระโอรสองค์ใหญ่ในรัชกาลที่ ๒ ได้ขึ้นเสวยราชย์ ทรงพระนามว่า " พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว " หรือรัชกาลที่ ๓ ใน พ.ศ. ๒๓๖๗ สุนทรภู่ได้กระทำผิดอย่างรุนแรงเพราะได้ไปแก้บทพระนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำต่อหน้าพระที่นั่ง พระองค์ทรงอับอายข้าราชบริพาร ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้ขุนสุนทรโวหารถูกถอดยศถาบรรดาศักดิ์ เป็นนามสุนทรภู่ตามเดิม สุนทรภู่ถึงคราวตกอับออกบวชที่วัดราชบูรณ์ในปี พ.ศ. ๒๓๖๗ ทำให้สุนทรภู่นั้นต้องย้ายไปหลายแห่งด้วยกัน ในที่สุดต้องสึกออกมาทำเรือขายของ ในขณะที่บวชอยู่นั้นได้เดินทางไปจังหวัดอยุธยาและเมื่อไปถึงสุพรรณบุรีได้แต่งนิราศขึ้นไว้ ตั้ง ๓- ๔ เรื่อง มีนิราศภูเขาทอง โคลงนิราศสุพรรณ นิราศวัดเจ้าฟ้า และเมื่อตอนบวชอยู่พระองค์เจ้าลักขณานุคุณพระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรด สักวา อยู่เป็นประจำ ได้ทรงเมตตาสุนทรภู่ จึงมีความเป็นอยู่ดีขึ้นอีกครั้งหนึ่ง และสุนทรภู่จึงได้แต่งนิราศอิเหนาขึ้นถวายพระองค์เจ้าลักขณานุคุณสิ้พระชนม์ ต่อมาพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงหนังสือเรื่อง พระอภัยมณี สุนทรภู่แต่งไว้ โปรดสั่งให้สุนทรภู่แต่งต่อถวายอีก และพระองค์ก็ทรงเกื้อหนุนสุนทรภู่ ต่อมาครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ พระเจ้าน้องยาเธอของพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงเกื้อหนุนสุนทรภู่มาด้วยอีกผู้หนึ่งประมาณ พ.ศ. 2394 ครั้งเมื่อสุนทรภู่ได้ตามเสด็จพระปิ่นเกล้าไปนมัสการพระปฐมเจดีย์เมืองนครปฐมสุนทรภู่จึงได้แต่งนิราศพระปฐมขึ้นอีกเรื่องหนึ่ง และต่อมาถูกรับสั่งให้ไปหาสิ่งของที่เมืองเพชรบุรี สุนทรภู่จึงแต่งนิราศเมืองเพชรบุรีอีกเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นเรื่องสุดท้ายของสุนทรภู่ และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดแต่งตั้งสุนทรภู่ จินตกวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็น "พระสุนทรโวหาร"ตำแหน่งเจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวัง และได้มีความสุขจนสื้นชีวิต เมื่อ พ.ศ.2398 โดยมีชีวิตอยู่อย่างทุกข์บ้างนานถึงเกือบ 70 ปีพระสุนทรโวหาร เป็นกวีอยู่นานถึง 4 รัชกาล อนุสรณ์ชิ้นเอกของพระสุนทรโวหาร หรือสุนทรภู่คือการเอานิยายมาเขียนเป็นกลอนเป็นคนแร่ก เช่นเรื่อง โคบุตร และเรื่องพระอภัยมณี สำหรับกลอนของพระสุนทรโวหารเป็นกวีผู้เริ่มในกลอน ทั้งสัมผัสใน และสัมผัสอักษร ทำให้กลอนมีความไพเราะ เป็นพิเศษแทบทุกเรื่อง และคงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า "สุนทรโวหาร " หรือ " สุนทรภู่ " คือกวีแห่งแผ่นดินสยาม ที่ได้สร้างสรรค์ผลงานอันเป็นประวัติศาสตร์ แห่งความภาคภูมิใจ ไว้เป็นสมบัติอันล้ำค่าลูกหลานไทย ด้วยความภาคภูมิใจมาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้และตราบเท่านานเท่า
เพิ่มข้อความ |
|
แหล่งอ้างอิง : www.google.com
|
|
โดย : เด็กหญิง ธัญชนก อังคะนาวิน, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 5 มกราคม 2546
|