ประวัติสุนทรภู่

ประวัติสุนทรภู่

๑. ชาตะ stphu4.jpg (5679 bytes)

สุนทรภู่เกิดที่ริมคลองบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลก เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๙ ตรงกับวันจันทร์ เดือน ๘ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๔๘ เวลา ๒ โมงเช้า สำหรับวันเดือนปีเกิดนี้กระจ่างแจ้งมากขึ้นเมื่อ กรมพระยาปวเรศ วริยาลงกรณ์ ผู้รู้ในวิชาโหราศาสตร์ ทรงผูกดวงชะตาสุนทรภู่ไว้เป็นหลักฐาน โดยในดวงชะตา บอกไว้ว่า "สุนทรภู่ อาลักษณ์ขี้เมา" และผู้นำดวงชะตาสุนทรภู่มาเผยแพร่นั้น คือ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

๒. ครอบครัว stphu6.jpg (9233 bytes)

จากการสืบค้นหลักฐานของผู้รู้สมัยต่อจากสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่บันทึกไว้แต่เดิม ทำให้ทราบข้อมูลเพิ่มขึ้นอีก กล่าวคือบิดาซึ่งเป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง นั้น ชื่อขุนศรีสังหาร(พลับ) มารดาชื่อ ช้อย เป็นชาวแปดริ้ว ต่อมาได้เป็นนางนมของพระองค์เจ้าหญิง จงกล พระราชธิดาของกรมพระอนุรักษ์เทเวศร์(ทองอินทร์) กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข (วังหลัง) เมื่อวัยเด็กบิดากับมารดาหย่าร้างกัน บิดาออกไปบวชที่บ้านเดิม จนได้เป็นพระครูธรรมรังสี เจ้าคณะเมืองแกลงฝ่ายอรัญวาสี ส่วนมารดามีสามีใหม่และให้กำเนิดบุตรหญิง ๒ คน ชื่อ ฉิม กับ นิ่ม

๓. การศึกษาและผลงานชิ้นแรก stphu5.jpg (7467 bytes)

ระยะที่มารดาถวายตัวเป็นนางนมในกรมพระราชวังหลังนั้น ได้นำตัวสุนทรภู ่ไปถวายตัว เป็น มหาดเล็กด้วย พร้อมกับเข้าศึกษาเล่าเรียนในสำนักวัดชีปะขาว(ปัจจุบันเรียก วัดศรีสุดาราม) ริมคลองบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี

ด้วยความมีนิสัยรักการแต่งกลอน จึงมีความเชี่ยวชาญสามารถบอกบทดอกสร้อยสักวาได้ ผลแห่งความสามารถได้เป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่วัดศรีสุดารามระยะหนึ่ง แล้วไปเป็นเสมียน นายระวางกรมพระคลังสวน แต่อุปนิสัยไม่เหมาะกับงาน จึงกลับมาอยู่พระราชวังหลังอย่างเดิม

ความเป็นหนุ่มประกอบกับความคะนองทำให้ไปติดพันฉันท์ชู้สาวกับหญิงในวังที่ชื่อ "นางจัน" ทำให้ถูกเวรจำทั้งคู่ เมื่อกรมพระราชวังหลังทิวงคต จึงพ้นโทษ ประมาณ พ.ศ.๒๓๕๐ แล้วจึงไป หาบิดาที่เมืองแกลง ขณะเดินทางได้แต่ง "นิราศเมืองแกลง" เป็นครั้งแรกในชีวิต

ขณะอยู่เมืองแกลง คิดจะบวชแต่ไม่สำเร็จเนื่องเพราะป่วยเป็นไข้ป่า ในที่สุดจึงเดินทางเข้ามา รักษาตัวที่กรุงเทพฯ และได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ พระโอรสพระองค์น้อย ของกรมพระราชวังหลัง

๔.เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์ stphu2.jpg (4281 bytes)

เล่ากันมาว่า ก่อนที่สุนทรภู่จะเข้ารับราชการนั้น มีสาเหตุมาจากมีการทิ้งบัตรสนเท่ห์ ประมาณ พ.ศ.๒๓๕๙ สุนทรภู่ก็ถูกสงสัยด้วยเพราะมีอาชีพแต่งกลอนกับทั้งยังเป็นคนบอกบทละครโรง นายบุญยังซึ่งอยู่บ้านขมิ้นและยังมีผลงานเรื่องนิราศพระพุทธบาท

เมื่อกรมพระราชวังหลังทิวงคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้มารับราชการเป็นอาลักษณ์ คราวที่รัชกาลที่ ๒ ทรงติดขัดเรื่องกลอน แล้วหาคำพูด มาแต่งต่อไม่ได้ เหล่ากวีซึ่งเป็นที่ทรงปรึกษาก็ไม่มีใครสามารถแต่งให้พอพระราชหฤทัยได้ เมื่อ ให้สุนทรภู่ลองแต่งถวายก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงทรงโปรดให้เป็นกวีที่ปรึกษา และทรงตั้งให้เป็น ขุนสุนทรโวหาร ในกรมพระอาลักษณ์ มีตำแหน่งเข้าเฝ้าได้ทุกเวลา กับทั้งพระราชทานที่ให้ปลูก เรือนใต้ท่าช้าง

ความที่ชอบเสพสุราเมามายแล้วทำร้ายผู้อื่นเช่น ทุบตีภรรยา มารดาหรือญาติผู้ใหญ่ ความทราบถึง รัชกาลที่ ๒ จึงรับสั่งให้จำคุก ว่ากันว่าขณะอยู่ในคุกได้แต่งบทกลอนขายเลี้ยงตัวเอง และเรื่อง พระอภัยมณี ก็เริ่มขึ้นในช่วงนี้ ในทึ่สุดก็พ้นโทษเนื่องเพราะสามารถต่อกลอนรัชกาลที่ ๒ ได้ดัง พระราชประสงค์ หลังจากสิ้นบุญรัชกาลที่ ๒ สุนทรภู่ก็ตกยาก จึงคิดออกบวชที่วัด ราชบูรณะ(วัดเลียบ) เพื่อหนีราชภัย รัชกาลที่ ๓ ขณะอายุได้ ๔๑ ปี

๕. ความดีความชอบ stphu3.jpg (6146 bytes)

การหนีราชภัยมีผลดี กล่าวคือทำให้สุนทรภู่มีผลงานเกิดขึ้นมากมาย เช่น เรื่องนิราศภูเขาทอง ประมาณ พ.ศ.๒๓๗๓ ขณะเดียวกันก็มักมีเหตุอันทำให้ต้องเดินทางไปจำพรรษาตามวัดต่าง ๆ เช่น วัดอรุณราชวราราม วัดพระเชตุพน วัดมหาธาตุ และวัดเทพธิดา ณ ที่วัดนี้ สุนทรภู่ได้สร้างผลงาน หลายเรื่องกับทั้งได้รับอุปการะจากพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ หลังจากพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ สิ้นพระชนม์ใน พ.ศ.๒๓๗๘ ก็ไม่มีใครกล้ารับอุปการะ ตกยากถึงขั้นไม่มีบ้านเรือนจะอาศัย ต้องลงลอยเรือเที่ยวจอดอยู่ตามสวน เลี้ยงชีพด้วยการรับจ้างแต่งบทกลอน ต่อเมื่อสิ้นแผ่นดิน รัชกาลที่ ๓ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ทรงพระปรานีโปรดให้ไปอยู่ที่พระราชวังเดิม ซึ่งเป็นที่เสด็จประทับในสมัยนั้น และต่อมากรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ทรงอุปการะด้วยเนื่องเพราะ ประสงค์จะให้สุนทรภู่แต่งเรื่องพระอภัยมณีต่อไปให้จบเรื่อง

หลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ครองราชย์ ทรงสถาปนาสมเด็จเจ้าฟ้า กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่วังหน้า (พระบวรราชวัง) สุนทรภู่จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่พระสุนทรโวหาร จางวาง กรมพระอาลักษณ์ ศักดินา ๒๕๐๐ ไร่ ฝ่ายบวรราชวัง ใน พ.ศ.๒๓๙๔.

๖. มรณะ

แม้บรรดาศักดิ์ พระสุนทรโวหาร จะได้รับเมื่ออายุ ๖๖ ปีแล้วก็ตาม แต่ความปรีชาสามารถ ทางกวีมิได้ลดลงไปตามวัย ยังแสดงความสามารถโดดเด่นในเรื่องกลอนตลาดไม่มีใครเทียบได้ การนำเอากลอนสุภาพมาใช้แต่งนิทาน และวางระเบียบให้มีสัมผัสในในกลอนสุภาพจนเป็นที่ นิยมนับถือเป็นแบบอย่างสืบมานั้น ยังไม่มีใครสามารถเหนือกว่าสุนทรภู่

และในปีเถาะ พ.ศ.๒๓๙๘ สุนทรภู่ยอดกวีของไทยได้ถึงแก่กรรม ในรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระจอม เกล้าเจ้า อยู่หัว สิริรวมอายุได้ ๗๐ ปี

๗. เกียรติคุณ

สุนทรภู่กวีเอกของไทยได้รจนาบทกวีอันไพเราะลึกซึ้งไว้เป็นจำนวนมาก กวีนิพนธ์ที่ได้รับ การยกย่องว่าเป็นเลิศ คือ นิทานเรื่องพระอภัยมณีคำกลอน ผลงานชิ้นนี้ส่งผลให้ประเทศไทย เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก เนื่องจาก "ยูเนสโก" หรือ "องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่ง สหประชาชาติ" ได้ประกาศยกย่อง สุนทรภู่ เป็นกวีเอกของโลก เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๒๖

 


คลิกสองครั้งเพื่อเพิ่มภาพตัดปะ

คลิกสองครั้งเพื่อเพิ่มภาพตัดปะ
คลิกเพื่อเพิ่มข้อความ
คลิกเพื่อเพิ่มข้อความ

โดย : เด็กหญิง ด.ญ ธัญชนก อังคะนาวิน, พนัสพิทยาคาร, วันที่ 16 กันยายน 2546