วันปิยะมหาราช

RAMA V 1868 - 1910 CHULALONGKORN (CHUMLA JAWM KLAO)

Il était le fils aîné du roi Mongkut. Né à Bangkok le 20 septembre 1853, il fut éduqué en partie par une gouvernante anglaise, mais il fut formé dans un monastère bouddhiste, avant d'assumer les pouvoirs royaux le 1er octobre 1868.


Dirigeant compétent qui comprit les ambitions territoriales des puissances coloniales dans la région, il parvint à conserver l'indépendance du Siam au prix d'une perte importante de souveraineté et de territoires. Il abandonna une partie du Cambodge et le Laos à la France (1893-1907) et les Etats de la Malaisie au Royaume-Uni (1909).


Il modernisa son royaume et centralisa son administration, abolit l'esclavage, codifia la loi, réorganisa les finances, et mit en oeuvre des services postaux et de transport ferroviaire, créa la première ligne de chemin de fer.

Chulalongkorn fonda l'université portant son nom et donna ses chefs-d'oeuvre à la littérature Thaïe.
Il rompit avec la tradition en voyageant à l'étranger : à Singapour, à Java et en Inde en 1871, et en Europe en 1897, où il fut reçu par les monarques européens.

La résistance des conservateurs à l'égard de ses mesures radicales l'obligea à arrêter temporairement ses réformes en 1875, mais à la fin de son règne, il avait réussi à créer un Etat moderne.

Son règne dura 42 ans. Il mourut le 23 octobre 1910. Il eut 77 enfants.

.........................................................................................................

วันปิยมหาราช

วันปิยมหาราช หมายถึง วันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวของไทยเรานั้น ทรงเป็นที่รักใคร่ของทั้งพสกนิกรชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นอย่างมาก ตลอดทั่วขอบขัณฑสีมา ปวงประชาราษฎร์ต่างถือว่าพระองค์คือพระบิดาแห่งตนและประเทศชาติ รัฐบาลจึงประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปีเป็นวัน "ปิยมหาราช"

พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงการณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ประสูติเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 พระนามเดิมของพระองค์คือ สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ และได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ เมื่อพระชนม์มายุได้ 9 พรรษา ต่อมาอีก 4 ปี ได้เลื่อนเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ มีพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากขณะนั้น พระองค์ทรงมีพระชันษาเพียง 16 ปี ยังไม่บรรลุนิติภาวะ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และสถาปนากรมหมื่นวิไชยชาญ พระโอรสองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ พระมหาอุปราช

ระหว่างที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการอยู่นั้น สมเด็จพระจุลจอมเกล้าได้ใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาเป็นอันมาก เช่น โบราณราชประเพณี โบราณคดี รัฐประศาสน์ ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ วิชาปืนไผ วิชามวยปล้ำ วิชากระบี่กระบอง และวิชาวิศวกรรม ยิ่งกว่านั้น ยังได้เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวาอีก 2 ครั้ง เสด็จประพาสประเทศอินเดีย 1 ครั้ง การเสด็จประพาสของพระองค์นั้นเพื่อทอดพระเนตรแบบ แผนการปกครองที่ชาวยุโรปนำมาใช้ปกครองบ้านเมืองของตน เพื่อจะได้นำมาแก้ไขการปกครองของไทยให้ เหมาะสมทันสมัยยิ่งขึ้น ตลอดจนการแต่งตัว การตัดผม การเข้าเฝ้าในพระราชฐานก็ใช้ยืนและนั่งตามโอกาสสมควร ไม่จำเป็นต้องหมอบคลานเหมือนแต่ก่อน เมื่อสมเด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุใกล้บรรลุนิติภาวะ จึงได้เสด็จออกทรงผนวชเป็นภิกษุ \เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2416 และลาผนวช เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2416 แล้วโปรดให้มีการราชาภิเษกอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2416 เพื่อแสดงให้ประชาชนและชาวต่างประเทศทราบว่าพระองค์ทรงรับผิดชอบในการปกครองบ้านเมืองด้วยพระองค์เองแล้ว

 

คัดบางตอนจาก  http://www.beekids.com

 

 

 


ที่มา : http://perso.wanadoo.fr/keng/royaute_2.html#RAMA%20V

โดย : นาง พรรณี ชุติวัฒนธาดา, โรงเรียนศรีพฤฒา, วันที่ 17 ตุลาคม 2545