เสียงหัวเราะเป็นเสียงแสดงกิริยาอาการทางธรรมชาติของมนุษย์ ที่สะท้อนให้เห็นถึงจิตใจที่เป็นสุขของผู้หัวเราะ เด็กทุกคนเมื่อเกิดมาไม่นานก็สามารถหัวเราะได้เองโดยไม่ต้องสอน แต่เมื่อโตขึ้นเสียงหัวเราะนี้จะค่อยๆเลือนหายไปอย่างน่าเสียดาย ผู้ที่ยังสามารถหัวเราะได้บ่อยๆ จึงนับว่าเป็นผู้โชคดียิ่ง
มีผู้กล่าวถึงเสียงหัวเราะไว้อย่างน่าสนใจมากมาย ดังนี้
- ใช้เสียงหัวเราะเพื่อรักษาตนเองให้ผ่อนคลายและสบายใจ เอเมอร์สันบอกว่า การรับรู้ความขบขันและความตลกนั้นเป็นสายใยแห่งความเข้าใจกับผู้อื่น เสียงหัวเราะเป็นสัญลักษณ์แห่งความสมบูรณ์ของจิตใจ เราต้องเรียนรู้ชีวิตจากเสียงหัวเราะพอๆกับเรียนรู้จากหยาดน้ำตาและความกลัว
- ใช้เสียงหัวเราะอันเบิกบานลดความตึงเครียดสำหรับวันที่แสนหนัก การหัวเราะจะลดอารมณ์เครียดและผ่อนคลายสมอง
- ใช้เสียงหัวเราะป็นคลื่นของความรื่นรมย์ใจเพื่อให้ความร่าเริงกระจ่างขึ้นในห้องอันทึบหนัก
- เสียงหัวเราะเป็นยาที่ดีที่สุดสำหรับชีวิตอันยืนยาวและเป็นสุข เพราะบุคคลผู้รู้จักหัวเราะจะมีชีวิตยืนยาว
- ใช้อารมณ์ขันและเสียงหัวเราะเพื่อสร้างความเป็นกันเอง ลดความรู้สึกแปลกหน้า ลดความรู้สึกเป็นทางการ
- นึกถึงสุภาษิตที่ว่า .สนุกกับเรื่องไร้สาระ เล็กๆน้อยๆ ก่อนที่จะเพลิดเพลินกับนักปราชญ์และกับเรื่องที่ยากๆ
- สำคัญที่สุด ต้องเรียนรู้ที่จะหัวเราะให้กับตนเอง มีชีวิตแต่ละวันด้วยอารมณ์อันรื่นเริง
(เก็บตกจากเสียงแห่งความสดใสของชีวิต โดย ผศ.ดร. โสรีช์ โพธิแก้ว)
การทำให้เกิดเสียงหัวเราะอาจเป็นเรื่องยากสำหรับบางคน ทำอย่างไรจะหัวเราะได้ จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อย ที่ซานตาบาร์บาร์บารา คอลเลจ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มีการเปิดสอน วิชาหัวเราะ (Laughing-Learning) ซึ่งสอนโดยนักจิตวิทยา 2 ท่าน คือ ดร.สเตฟ อัลเลนจูเนียร์ และ ดร.แอบเนตด์ กู๊ดฮาร์ต (ฟังดูแล้วน่าสมัครเรียน คงจะได้หัวเราะกันทั้งชั่วโมง) ท่านทั้งสองได้แนะนำว่า
- ถ้าเห็นอะไรแปลกๆ ขำๆ ขันๆ ก็ตัดรวบรวมเก็บไว้ เช่นพวกการ์ตูน เรื่องตลกๆ หรือคำพูดแปลกๆตลกๆของบรรดาผู้คน รวมทั้งการกระทำของเขา เมื่อเปิดเอามาดูเวลาใดจะทำให้ระเบิดหัวเราะออกมาได้ดี
- เวลาทำงานให้มีเวลาพักสำหรับหัวเราะบ้าง เช่นเดียวกับเวลา