เรฟูจี
คลิกเพื่อเพิ่มข้อความ

                           เรฟูจี

ท้องฟ้ากว้างกลางน้ำเรือลำน้อยล่องไป

ลอยล่องไป ล่องไป ถอยไปถอยห่างแผ่นดิน

ดินแผ่นดินถิ่นฐานตัวเอง

โดนละเลงสงครามเสียจนสิ้นแผ่นดิน

เวิ้งกว้างกลางทางขวัญชีวันนั้นมืดมน

ทนทุกข์ทนทุกข์ทน สู้ต่อไป

ไกลห่างไกลสุดสายตา

ลอยล่องในนาวาถึงคราไร้แผ่นดิน

ดินถิ่นเดิมลุกร้อนดังไฟแผดเผา

ฟืนสุมเตาเจ้าคงเจ้าเคยยัดใส่เตา

คราวผู้นบนพื้นดินเดิมปากหมอง

ไยไม่มองไม่แลเห็นแก่ตัว

กินมีเหลือเผื่อแผ่กันวันนั้น

วันนี้คงไม่ต้องล่องเรือ

เกลือจิ้มเกลือเหลือเพียงเรือล่องมา

มาเข้ามา เข้ามา เรฟูจี

เวิ้งฟ้ากว้างกลางน้ำเรือลำน้อยล่องมา

มาล่องมา เข้ามา เข้ามาหาแผ่นดิน

ดินถิ่นนี้มีแต่น้ำตา

มีเหลือวันเวลาถ้ามาเพื่อดับไฟ

เนื้อหาของบทเพลงเรฟูจีนั้นอาจจะแหวกแนวไปจากบทเพลงส่วนใหญ่ซึ่งเน้นการสะท้อนชีวิตของคนในสังคมไทย แต่กลับมีใจเผื่อแผ่ไปถึงประเทศเพื่อนบ้านนั้นก็คือ เวียดนาม โดยปกติการต่อต้านสงครามนั้นเป็นแนวคิดประการหนึ่งที่ศิลปินเพลงเพื่อชีวิตให้ความสนใจกันอยู่แล้ว บทเพลงเรฟูจี นี้ก็เป็ฯการยกตัวอย่างอารมณ์สะเทือนใจที่เป็นผลมาจากสงครามเช่นเดียวกัน

บทเพลง เรฟูจี เริ่มต้นด้วยการมีทำนองเพลงจีน ซึ่งก็เป็นการใช้สัญลักษณ์แทนประเทศเวียดนามที่มีรากฐานทางวัฒนธรรมจีน จากนั้นจึงเริ่มบรรยายภาพของคนเวียดนามที่ต้องอพยพลี้ภัยเนื่องมาจากผลสงครามในครั้งนั้นเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ต้องกลับมารวมประเทศและปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม ชาวเวียดนามใต้จำนวนมากจึงพากันอพยพลงเรือเพื่อไปหาที่อยู่ใหม่รวมทั้งประเทศไทยด้วย การล่องเรือออกจากบ้านเกิดเป็นความรู้สึกที่อ้างว้างและสิ้นหวัง ซุ่งในที่นี้ศิลปินคาราบาวเริ่มต้นบทเพลงโดยพูดถึงสิ่งที่กว้างใหญ่ คือ ท้องฟ้ากว้างกลางน้ำ แต่สิ่งที่ลอยอยู่นั้นกลับเล็กโดยบรรยายถึงเรือลำน้อยเป็นการเปรียบเทียบให้เห็นว่าการอพยพออกนอกประเทศทำให้คนเหล่านี้ขาดที่มั่น และมีความสำคัญน้อยลงไปเรื่อยๆจนกลายเป็นเพียงจุดเล็กๆ ที่ลอยอยู่กลางมหหาสมุทรอันกว้างใหญ่ การใช้คำซ้ำว่า ลอยล่องไป ล่องไป ถอยไป ถอยห่างดิน เป็นการใช้คำง่ายๆ แต่ให้เห็นภาพที่ชัดเจน เช่นเดียวกับที่ปรากฎในท่อนที่ 2ของบทเพลง คือ เวิ้งฟ้ากว้างทางขวัญชีวันนั้นมือมน ทนทุกข์ทนสู้ทนสู้ต่อไป

โครงสร้างของเนื้อเพลงใน 2 ท่อนแรกนั้นจะเหมือนกัน คือ ให้ภาพความอ้างว้างความน่าสงสารของ เรฟูจี ( ผู้อพยพ ) ที่ต้องล่องเรือของตนออกสู่โลกกว้างเนื่องจากไร้แผ่นดิน จากนั้นก็บอกถึงสาเหตุที่ทำให้คนเหล่านี้ต้องออกไปผจญความมืดมน คือ ‘ โดนละเลงสงครามเสียจนสิ้นแผ่นดิน ‘ ( บรรทัดที่ 4) และ ‘ล่องในนาวาถึงคราไร้แผ่นดิน ‘ (บรรทัดที่ 8 )ในขณะที่ท่อน 3และ 4นั้นบรรยายสภาพบ้านเมืองของคนเหล่านี้ในขณะนั้นว่า ‘ดินถิ่นเดิมลุกร้อนดังไฟแผดเผา ‘ ( บรรทัดที่ 9 ) และเตือนสติว่าหากคนในชาติรู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันแล้ว ก็คงไม่น่าเกิดเหตุการณ์สลดใจเช่นนี้ ดังที่บอกไว้ในเนื้อเพลงว่า ‘กินมีเหลือเผื่อแผ่กันวันนั้น วันนี้คงไม่ต้องล่องเรือ ‘ ( บรรทัดที่ 13-14 ) อย่างไรก็ตามผู้ประพันธ์เนื้อเพลงไม่ได้นำเสนอภาพที่สิ้นหวังเกินไปนัก เพราะในตอนท้ายยังมีการกล่าวถึงการที่เรือลำน้อยลอยเข้าหาแผ่นดิน ซึ่งน่าจะหมายถึงประเทศที่รับผู้อพยพเหล่านี้ไว้ ( ซึ่งอาจรวมหมายถึงประเทศไทยด้วย) ว่าแผ่นดินนั้นเป็นที่มีความเห็นอกเห็นใจพวกเขา ‘ น้ำตา ‘ ( บรรทัดที่ 19 ) และยังพอจะเป็นที่พักพิง

ให้ร่มเย็น และดับทุกข์ให้พวกเขาได้ ดังจะเห็นได้จากเนื้อเพลงประโยคสุดท้ายที่ว่า ‘ มีเหลือวันเวลา ถ้ามาเพื่อดับไฟ ‘

การนำเสนอภาพผู้ที่ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนซึ่งเป็นผลมาจากสงครามดังในบทเพลง ‘ เรฟูจี ‘ จึงเป็นอุทาหรณ์ เตือนสติผู้คนได้โดยไม่ต้องยึดติดกับความเป็นพลเมืองของประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น คาราบาวยังมีลักษณะเด่นต่างๆไว้ในบทเพลงไม่ว่าจะเป็ฯการใช้ภาษาและถ้อยคำที่เข้าใจง่าย แต่สละสลวย โดยอาศัยคำสัมผัสใน และคำซ้ำต่างๆรวมไปถึงการจับสิ่งตรงข้ามมาไว้ด้วยกัน จนเกิดเป็นภาพความขัดแย้งระหว่างความกว้างใหญ่ของท้องฟ้า เวิ้งฟ้า และผืนน้ำ กับเรือเล็กๆนอกจากนั้นคำเหล่านี้




แหล่งอ้างอิง : จากหนังสือวรรณกรรมกวี

โดย : นาย ภาณุพงศ์ รัตนะธรรมมากร, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 19 กันยายน 2545