เรื่องสั้น

      เรื่องสั้น หมายถึง วรรณกรรมร้อยแก้วบันเทิงคดีประเภทหนึ่งคล้ายกับนวนิยาย จะมีข้อแตกต่างกันที่นวนิยายกล่าวถึงชีวิตของคนหลายด้าน และมีเหตุการณืในเรื่องซับซ้อนหลายเหตุการณ์

ลักษณะของเรื่องสั้นมีอยู่ 6 ลักษณะดังนี้

1.มีโครงเรื่อง 2. มีจุดมุ่งหมายของเรื่องอย่างเดียว 3. มีตัวละครน้อย 4. ใช้เวลาน้อย 5.มีขนาดสั้นกระทัดรัด 6. มีความกระชับรัดกุมทุกๆด้าน

เรื่องสั้นมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้

1.รูปแบบการเขียนเรื่องสั้น ในการเขยนเรื่องสั้นนั้นผู้แต่งจะใช้วิธีการเล่าเรื่องแบบใดแบบหนึ่ง ดังต่อไปนี้

1) ตัวละครสำคัญเป็นผู้เล่า จะมีการใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 เช่น ข้าพเจ้า ดิฉัน ผม

2) ตัวละครซึ่งไม่ใช้ตัวสำคัญเป็นผู้เล่า ก็จะใช้สรรพนามบุรุษที่ 1

3) ผู้แต่งเล่าเอง ในฐานะเป็นผู้รู้เรื่องทุกอย่าง

4) ผู้แต่งเล่าเอง ในฐานะเป็นผู้สังเกตการณ์

2. โครงเรื่อง โครงเรื่อง คือ เหตุการณ์ในเรื่องที่เรียงตามลำดับเวลา และจะเป็นเหตุผลกัน เหตุการณ์เหล่านั้นมักจะมีข้อขัดแย้งต่างๆ ความขัดแย้งเป็นองค์ประกอบสำคัญของโครงเรื่อง เพราะ ความขัดแย้งเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น ความขัดแย้งที่เป็นส่วนประกอบของโครงเรื่องจะมี 4 ประเภท คือ

1)ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ลักษณะเช่นนี้เป็นลักษณะที่ปรากฏได้ในการ

การดำรงชีวิตของมนุษย์ เช่น น้ำท่วม ลมพายุ อากาศหนาว อากาศร้อน และภัยธรรมชาติต่างๆที่เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิต และความสำเร็จของมนุษย์

2)ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับสังคมที่มนุษย์อาศัยอยู่ เป็นความขัดแย้งระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ด้วยกันเอง เช่น การแก่งแย่งผลประโยชน์กัน การดูถูกคนที่มีอาชีพต่ำกว่าตนเอง

3)ความขัดแย้งภายในระหว่างมนุษย์ เป็นความขัดแย้งที่เกิดจากความปรารถนาในใจอันขัดแย้งกัน อาจจะมีเหตุการณ์ภายนอกอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แต่เหตุที่สำคัญที่สุด คือ ความขัดแย้งภายในใจของตนเอง

4)ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับโชคชะตา เป็นความขัดแย้งระหว่างการกระทำของมนุษย์กับสิ่งที่มนุษย์เชื่อว่ามีอิทธิพลเหนือชีวิตของตน สิ่งนี้มนุษย์ทั่วไปเรียกกันว่า โชคชะตา หรือพรหมลิขิต โชคชะตาอาจมีทั้งด้านดีและด้านร้าย เช่น การได้รับโชคลาภ การประสบภัยอันตรายถึงกับสูญเสียชีวิต โชคชะตาอาจมีบทบาททำให้เกิดการขัดแย้งขึ้น

3. ตัวละคร ตัวละครในเรื่องสั้นและนวนิยาย อาจแบ่งออกตามความสำคัญของบทบาทได้ออกเป็น 2 ประเภท คือ ตัวละครสำคัญ และตัวละครสำคัญรอง ผู้เขียนจะเขียนนิสัยตัวละครด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้

    1. บรรยายรูปร่างลักษณะและความรู้สึกของตัวละคร
    2. ให้ตัวละครอื่นๆ คิดหรือสนทนากันเกี่ยวกับตัวละครตัวนั้น
    3. บรรยายการกระทำของตัวละคร
    4. แสดงบทสนทนาของตัวละครตัวนั้นกับตัวละครอื่นๆ
    5. บรรยายความคิดของตัวละครตัวนั้น

4.ฉาก หมายถึง เวลาและสถานที่อันเหมาะสมกับเหตุการณ์ในเรื่อง ฉากจะเป็นส่วนสำคัญของเรื่องที่จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องได้ดีขึ้น

5. สาร หมายถึง การแสดงแนวคิดของนักเรียนที่มีต่อชีวิต ที่ผู้เขียนต้องการส่งให้ผู้อ่านทราบ ซึ่งนักเขียนจะบอกตรงๆ หรือจากบทสนทนา แต่ส่วนมากนักเขียนมักจะไม่บอกผู้อ่านต้องค้นหา”สาร”

ที่แฝงไว้เอาเอง จะทำให้ผู้อ่านรู้สึกสนุกในการอ่าน

6. ไคลแม็กซ์หรือจุดสุดยอด เป็นจุดคลี่คลายของเรื่องเมื่อเรื่องบรรยายคลี่คลายมาตามลำดับขึ้น และจะมีช่วงหนึ่งที่เป็นเหตุการณ์สำคัญที่สุดของเรื่อง จุดไคลแม็กซ์ไม่ใช่สุดขั้นของอารมณ์ผู้อ่าน

7. กลวิธี

    1. การเปิดเรื่อง สร้างให้มีนาฏการหรือการกระทำที่ก่อให้เกิดความสนใจ อาจเปิดเรื่อง

โดยการใช้บทสนทนา หรือการพรรนาที่จะดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน

2) การปิดเรื่อง เป็นตอนที่สำคัญที่สุด ตอนปิดเรื่องนี้เป็นจุดขั้นสุดของเรื่องที่จะทำให้ผู้อ่านเกิดความประหลาดใจ หรือจบลงด้วยความสำเร็จหรือความล้มเหลวอย่างใดอย่างหนึ่ง



แหล่งอ้างอิง : 1.
[ถัดไป>>] 

โดย : นางสาว นวลลักษณ์ ประภัสสรกุล, พนัสพิทยาคาร, วันที่ 11 กันยายน 2545