การแต่งกลอน
ลักษณะบังคับของกลอน
คณะ จะจัดเป็นบท บทหนึ่งประกอบด้วย ๒ บาท ซึ่งเรียกว่า บาทเอก และ บาทโท การแต่งคำกลอนจะต้องจบบด้วยบาทโทเสมอ
บาทเอก ประกอบด้วยคำประพันธ์ ๒ วรรค วรรคหน้าเรียกว่า วรรคสดับ
บาทโท ประกอบด้วยคำประพันธ์ ๒วรรคเช่นกัน วรรคหน้าเรียกว่า วรรครอง วรรคหลังเรียกว่า วรรคส่ง ซึ่งมีความหมายถึงการส่งท้ายหรือสัมผัสไปยังบทต่อไป
กลอนวรรคหนึ่งจะประกอบด้วยคำหรือพยางค์ตั้งแต่ ๗-๙คำแต่ที่นิยมกันจะใช้ ๘คำ
สัมผัส
สัมผัสนอก การส่งสัมผัสระหว่างวรรคหรือสัมผัสนอกมีดังนี้
๑.คำสุดท้ายของวรรคสดับส่งสัมผัสไปยังคำที่๑ ๒ ๓ ๕ของวรรครับแต่นิยมว่าไพเราะที่สุด คือ สัมผัสด้วยคำที่ ๓
๒. คำสุดท้ายของวรรรับ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรครองและคำที่ ๓ของวรรคส่ง
๓. ถ้าแต่งติดต่อกันไปหลายๆบทคำสุดท้ายของวรรคส่งในบทหน้าจะต้องส่งสัมผัสรับกันกับคำสุดท้ายในวรรครับของบทต่อไป
สัมผัสใน นิยมทําสัมผัสสระและสัมผัสอักษร ที่นิยม คือ คําที่๓ กับ๔ม สัทผัสสระได้แก่เหง่ง- แล-ชะแง้ โยคี-ขี่ สัมผัสอักษรได้แก่ เดี๋ยว-ดัง แล้ว-แล-เหลียว แสน-สุด
|