ไวยากรณ์ไทย 7 ชนิด


สรุปไวยากรณ์ไทย 7 ชนิด
1. คำนาม ใช้เรียกชื่อคนสัตว์สิ่งของ เช่น แม่ พ่อ โรงเรียน เป็นต้น
2. สรรพนาม ใช้แทนการเรียกชื่อคนสัตว์สิ่งของ เช่น ฉัน เธอ ท่าน เป็นต้น ซคึ่งแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
- บุรุษที่ 1 แทนผู้พูด เช่น ฉัน ,เรา,ดิฉัน ,ผม เป็นต้น
- บุรุษที่ 2 แทนผู้ฟัง เช่น เธอ,ใต้เท้า เป็นต้น
- บุรุษที่ 3 แทนผู้กล่าวถึง เช่น เขา ,หล่อน เป็นต้น
3. กริยา แทนอาการคำนามหรือกริยา เช่น ยืน,เดิน,นั่ง,นอน
4. วิเศษณ์ ใช้ประกอบคำอื่นให้มีเนื้อความแปลกไป เช่น ดี เลว สูง ต่ำ ดำ ขาว มาก น้อย
5. บุพบท ใช้นำหน้าคำนามสรรพนาม หรือกริยา เพื่อบอกตำแหน่งคำว่ามีหน้าที่อะไร เช่น กับ แต่ แด่ ต่อ บน นอก ใน
6. สันธาน คือ คำเชื่อมข้อความให้เป็นเรื่องติดต่อกัน เช่น และ กับ แต่ แต่ทว่า จึง หรือ
7. อุทาน คำที่เปล่งแสดงความรู้สึก เช่น โอ้ย(แสดงความเจ็บปวด),ว้าย(ตกใจ),เอ๊(สงสัย)
**** นามธรรมที่ มีการ หรือความนำหน้า ให้จัดเป็นอาการนาม เช่น ความดี ความจริญ



โดย : นาง นางมนัสนันท์ เหิรอดิศัย, โรงเรียนวัดนาคนิมิตร, วันที่ 22 พฤษภาคม 2545