บุญบั้งไฟ

Rocket Festival

Rocket festival or “Boon Bang Fai” in Thai is usually held in the second week of May of each year, at the beginning of the rainy season. The farmers are ready to cultivate their paddy fields. The festival is popularly celebrated in the northeastern provinces of Yasothorn and Ubon Ratchathani. The celebration is an entreaty to the rain god for plentiful rains during the coming rice planting season.
The festival itself owes its beginning to a legend that a rain god named
Vassakan was known for his fascination of being worshipped with fire. To receive plentiful rains for rice cultivation, the farmers send the home-made rockets to the heaven where the god resided. The festival has been carried out till days.
Under the guidance of Buddhist monks, it takes the villagers weeks to make the rockets, launching platforms and other decorations. An average rocket is some nine metres in length and carries 20-25 kilogrammes of gunpowder.
In the afternoon of the festival day, rockets are carried in the procession to the launching site. Villagers dressed in colourful traditional costumes attract the eyes of the onlookers, who line up along the procession route.
Before ignition of the rockets, there will be more singing and dancing to celebrate the festival. The climax of the festival is the ignition time. One by one the rockets are fired from the launching platforms. Each liftoff is greeted by cheers and noisy music. The rocket that reaches the greatest height is the winner and the owner of this rocket will dance and urge for rewards on their way home while the owners of the rockets, that exploded or failed to fly, will be thrown into the mud. The celebration is communal affair of the villagers who come to share joy and happiness together before heading to the paddy fields where hard work is waiting for them.

บุญบั้งไฟ
โดยปกติงานบุญบั้งไฟนี้ จะจัดให้มีขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่สองของเดือนพฤษภาคมในแต่ละปีและช่วงนี้ก็เป็นระยะเวลาเริ่มต้นของฤดูฝน ชาวนาต่างพร้อมที่จะทำการเพาะปลูก เทศกาลนี้นิยมเฉลิมฉลองกันในจังหวัดทางภาคอีสาน เช่น ยโสธร และอุบลราชธานี การฉลองก็เพื่อเป็นการวิงวอนขอฝนจากพระพิรุณให้ประทานฝนมามากๆ ในช่วงฤดูกาลปลูกข้าวที่กำลังมาถึง
เทศกาลนี้มีที่มาจากตำนานกล่าวว่า เทพบุตรนามว่า “วัสสกาล เทพบุตร” ผู้ซึ่งเป็นที่เลื่องลือว่ามีความเสน่หาในการบูชาด้วยไฟเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นเพื่อให้มีน้ำฝนเพียงพอต่อการเพาะปลูกข้าว ชาวนาจึงส่งจรวด (บั้งไฟ) ที่ทำขึ้นเองไปยังสวรรค์ซึ่งเป็นที่สถิตของวัสสกาลเทพบุตร นับแต่นั้นมาเทศกาลนี้ก็ถือเป็นประเพณีปฏิบัติมาถึงทุกวันนี้
ภายใต้คำแนะนำของพระสงฆ์ ชาวบ้านต่างใช้เวลาหลายสัปดาห์เพื่อทำบั้งไฟ แท่นยิงและการประดับประดาอื่นๆ โดยเฉลี่ยบั้งไฟแต่ละบั้งมีความยาวประมาณ 9 เมตร และบรรจุดินปืนประมาณ 20-25 กิโลกรัม
ครั้นตอนบ่ายของวันทำพิธี จะมีการแห่แหนบั้งไฟไปยังสถานที่สำหรับจุด ชาวบ้านต่างก็แต่งตัวตามประเพณีสวยงาม เพื่อดึงดูดสายตาของคนดูผู้ซึ่งเข้าแถวเรียงรายไปตามเส้นทางขบวนแห่
แต่ก่อนที่จะจุดบั้งไฟ ก็จะมีการขับร้องและเต้นรำเพื่อฉลองเทศกาลนี้อย่างครึกครื้นพอสมควร จุดเด่นของเทศกาลนี้คือ ตอนที่จุดบั้งไฟ ซึ่งจะจุดที่ละบั้ง การจุดแต่ละครั้งก็จะตามด้วยเสียงเชียร์และเสียงดนตรีดังอึกทึกไปทั่วบริเวณ บั้งไปที่ขึ้นไปสูงสุดจะได้รับการตัดสินว่าชนและผู้เป็นเจ้าของบั้งไฟที่ชนะเลิศนั้นก็จะเต้นรำและขอรางวัลจากคนทั่วไปในระหว่างทางที่กลับบ้าน ในขณะเดียวกัน เจ้าของบั้งไฟที่ระเบิดหรือจุดไม่ขึ้นก็จะถูกโยนลงไปในโคลน การฉลองนี้เป็นกิจกรรมร่วมกันของชาวบ้าน ผู้ซึ่งต่างก็มาร่วมรื่นเริงสนุกสนานด้วยกันก่อนที่จะบ่ายหน้าไปยังทุ่งนา ซึ่งรอการคราดไถปักดำอยู่เบื้องหน้า

Vocabulary

Rocket = บั้งไฟ
Festival = งานเฉลิมฉลอง
Rainy season = ฤดูฝน
Cultivate = เพาะปลูก
Popularly = เป็นที่นิยม
Celebrate = เฉลิมฉลอง
Northeastern = ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Entreaty = อ้อนวอน
God = เทพเจ้า
Plentiful = มากๆ
Legend = ตำนาน
Home-made = ทำขึ้นเอง
Heaven = สวรรค์
Reside = ที่อยู่
Guidance = คำแนะนำ
Buddhist monks = พระสงฆ์
Launching = แท่นปล่อย
Platform = ที่ตั้ง
Decoration = การตกแต่ง
Average = โดยเฉลี่ย
Gunpowder = ดินปืน
Procession = ขบวนแห่
Traditional = ประเพณี
Colourful = สีสันสวยงาม
Costume = แต่งตัว
Attract = ดึงดูด
Ignition = การจุด
Climax = จุดเด่น
Liftoff = ยกขึ้น
Greet = ยินดี
Cheer = เชียร์
Urge = ขอ
Reward = รางวัล
Explode = ระเบิด
Fail = ไม่ขึ้น,ไม่สำเร็จ
Throw = โยน
Mud = โคลน
Communal = รวมกัน
Affair = กิจกรรม





โดย : นาง จิรายุ บุญสะอาด, ร.ร.นาเยียศึกษาฯ กิ่ง อ.นาเยีย จ.อุบลราชธานี, วันที่ 21 พฤษภาคม 2545