สระแปลงร่าง

สระแปลงร่าง

สระในภาษาไทยบางตัวสามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้เมื่อประกอบเป็นคำ เรามาสังเกตและทำความรู้จักกับสระเหล่านั้นกันนะ
สระอะ เป็นสระที่มีเสียงสั้น และเขียนไว้หลังพยัญชนะแต่เมื่อมีตัวสะกดจะเปลี่ยนไปเป็น ไม้หันอากาศ เช่น ร – ะ – ก = รัก
สระเอะ เป็นสระที่มีเสียงสั้น และเขียนพยัญชนะต้นไว้ตรงกลางระหว่าง สระเอ กับ สระอะ เมื่อมีตัวสะกดสระอะจะเปลี่ยนรูปไปเป็น ไม้ไต่คู้ เช่น ล – เ – ะ – บ = เล็บ
สระแอะ เป็นสระที่มีเสียงสั้น และเขียนพยัญชนะไว้ตรงกลางระหว่าง สระแอ กับ สระอะ เมื่อมีตัวสะกด สระอะ จะเปลี่ยนรูปเป็น ไม้ไต่คู้ เช่น ข – แ – ะ – ง = แข็ง
สระเออ เป็นสระที่มีเสียงยาว และเขียนพยัญชนะต้นตรงกลางระหว่าง สระเอ กับสระออ เมื่อมีตัวสะกด สระออ จะเปลี่ยนรูปเป็นสระอิ เช่น ด – เ –อ – น = เดิน
แต่ถ้า ย. ยักษ์ เป็นตัวสะกด สระออ จะหายไป เช่น ค – เ – อ – ย = เคย
ถ้าเป็นคำว่า เทอม , เทอญ สระเออจะคงรูปอยู่ไม่หายไป
สระเอาะ เป็นสระที่มีเสียงสั้น และเขียนพยัญชนะต้นตรงกลาง ถ้ามีตัวสะกดสระจะลดรูปไปหมด และจะกลายเป็นตัว อ. กับ ไม้ไต่คู้ เช่น ล – เ – าะ – ก = ล็อก
ถ้า ก. เป็นพยัญชนะต้น ใช้วรรณยุกต์โท แต่ไม่มีตัวสะกด สระทั้งหมดจะหายไปแล้วใช้ไม้ไต่คู้แทน เช่น ก – เ – าะ + วรรณยุกต์โท = เก้าะ = ก็





โดย : นางสาว วิไลพร ทองสุข, โรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก, วันที่ 16 มีนาคม 2545