การพัฒนาการเขียนของเด็ก

การพัฒนาการเขียนของเด็กนอกจากต้องเป็นไปตามวัย พัฒนาการและวุฒิภาวะของเด็กแล้ว ครูเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ การเขียนคำต่างๆ อย่างถูกต้องและมีความหมาย
การสื่อสารมีบทบาทต่อมนุษย์มากโดยเฉพาะในยุคของโลกปัจจุบัน คนสร้างสรรค์ใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการสื่อสารทำให้คนทั่วโลกใกล้ชิดกัน รับข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว ผู้ที่มีความสามารถจะสามารถพัฒนาและสร้างการเรียนรู้จากสื่อสารสนเทศได้ไวกว่าการพัฒนารักษาจึงเป็นความสำคัญมากโดยเฉพาะกับเด็กปฐมวัย
การพัฒนาภาษาของเด็ก : เด็กสามารถพัฒนาภาษาได้จากการเรียนรู้ทางตรงและทางอ้อม เด็กส่วนใหญ่มีการพัฒนาภาษาอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีช่องว่างระหว่างระยะใดระยะหนึ่ง และมีทิศทางของแต่ละคน พัฒนาการเรียนรู้หนังสือของเด็ก เริ่มจากการเรียนรู้ที่ติดต่อกับคนอื่น ขั้นแรกคือ การพูดที่ไม่มีความหมาย พัฒนาสู่การพูดที่มีความหมาย พัฒนามาสู่การเล่นกับสัญลักษณ์และในที่สุดคือการเขียนระยะใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นจะมีพื้นฐานมาจากระยะก่อน ๆ ทั้งนี้เพื่อจะหารูปแบบใหม่ในการติดต่อสื่อสาร
เด็กต้องการพัฒนาภาษาเพื่อที่จะเข้าร่วมกิจกรรมในสังคม เด็กจึงเรียนรู้ที่จะเข้าใจและสร้างสัญลักษณ์ขึ้นนั่นคือ การสื่อภาษาโดยใช้สัญลักษณ์ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากกระบวนการพัฒนาสัญลักษณ์เด็กต้องเรียนรู้ที่จะฟัง พูด เขียน และอ่าน ซึ่งคือการพัฒนาทักษะทางภาษาทั้ง 4 ด้าน เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาตั้งแต่ทารก เรียนรู้ที่จะฟังเพื่อจะพูดหรือใช้กิริยาท่าทาง หรือการใช้สัญลักษณ์หรือการวาดรูป จนกระทั่งพัฒนามาเป็นการเขียนและการอ่าน การพัฒนาทางภาษาของเด็กจะเป็นไปโดยลำดับ โดยเฉพาะการเขียนต้องพึ่งพาวุฒิภาวะทางร่างกายเป็นอย่างมาก.
สรุปแล้วการเขียนก็มีการพัฒนาการและลำดับขั้น การสนับสนุนของครูทั้งด้านการสอนและการฝึกหัดจะช่วยให้พัฒนาและเกิดการตระหนักรู้ทางสังคม ความอิสระ ความสบายทำให้เด็กรักการเขียน…


ประไพ แสงดา. “พัฒนาการเขียนของเด็ก” วารสารการศึกษาปฐมวัย = Thai Journal of Early
Chilchood Education. 6,(1) : 12-18 ; มกราคม 2545.



โดย : นางสาว chanya pathamapikul, ripw klongluang pathumthani bangkok, วันที่ 14 มีนาคม 2545