Eco - Tourism กับความแตกต่างระ

หลักสูตร Eco - Tourism เป็นการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน และเนื่องจากโรงเรียนไตรธารวิทยา มีนักเรียนชาวเขาจากหลายเผ่า คือ เผ่าม้ง เผ่าเหย้า เผ่าถิ่น ทำให้มีภาษาที่แตกต่างกัน มีศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และมีนักท่องเที่ยวสนใจที่จะมาท้องเที่ยวอยู่ตลอดเวลา ชุมชนมองเห็นความสำคัญของการใช้ภาษาอังกฤษและมีความต้องการให้โรงเรียนเน้นการเรียนการสอนที่พัฒนานักเรียนมห้สมารถสื่อสารและแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวให้กับชาวต่างชาติได้ทำให้ข้าพเจ้าจัดทำหลักสูตรนี้ขึ้น

หลักสูตร Eco - Tourism กับความแตกต่างระหว่าเผ่า เป็นหลักสูตรที่เน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และเน้นศิลปวัฒนธรรมของแต่ละเผ่าและช่วยสร้างความภาคภูมิใจในศิลปะของตนเองให้กับนักเรียน เน้นให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารและถ่ายทอดความรู้ของตนเองให้กับผู้อื่นโดยเฉพาะชาวต่างประเทศและกำหนดให้ผู้เรียนสามารุถสื่อสารโดยใช้ทักษะต่าง ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจได้

เนื้อหาของหลักสูตรประกอบด้วยประวัติความเป็นมาของแต่ละเผ่า สภาพที่อยู่ การดำเนินชีวิต ความเชื่อ โดยเน้นพัฒนาทักษะต่าง ๆ ในการเรียนรู้ซึ่งจากการทดลองใช้พบว่านักเรียนเกิดความภาคภูมิใจ มีความกล้าในการแสดงออกและสามารถสื่อสาร บอกทิศทางให้กับชาวต่างชาติ และเกิดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 3 ของนักเรียนแต่ละเผ่าได้เป็นอย่างดีทีเดียว

 

คลิกเพื่อเพิ่มข้อความ


แหล่งอ้างอิง : วิชัย ประสิทธิวุฒิเวชช์ ;การพัฒนาหลักสูตร . กรุงเทพฯ 2542 เกรียงศักด์ เจริญวงค์ศักดิ์: ธนาคารหลักสูตร กรุงเทพฯ 2544 Keith Johnson ; Five Learners and five methods 2001

โดย : นางสาว เนตรดาว ใจจันทร์, โรงเรียนไตรธารวิทยา อ.เวียงสา, วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2548