เรื่องสั้น ๑. ความหมายของเรื่องสั้น เรื่องสั้น คือ เรื่องที่เล่าอย่างสั้น ๆ มีขนาดความยาวของเรื่องที่ไม่กำนดตายตัว แต่ต้องใช้คำไม่มากนัก โครงเรื่องก็ต้องไม่มีความซับซ้อนจนเกินไป สามารถอ้นจบได้ในเวลาอันสั้น แนวคิดของเรื่องก็มีเพียงแนวคิดเดียว ๒. ลักษณะของเรื่องส้น เรื่องสั้นเป็นงานเขียนประเภทบันเทิงคดีที่เกิดขึ้นในเมืองไทยประมาณรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) โดยได้แบบอย่างมาจากตะวันตก จึงมีลักษณะ ด้งนี้ ความยาว เรื่องสั้นต้องมีความยาวพอประมาณ อ่านจบได้ในเวลาไม่เกิน ๕๐ นาที ตามขาดมาตรฐานของเรื่องสั้นรุ่นเก่าควรมีจำนวนตำ ๔,๐๐๐ - ๕,๐๐๐ คำ แต่ถ้าเป็นเรื่องสั้นสมัยใหม่ จัดเป็นเรื่องสั้นขนาดยาวอาจมีจำนวนคำได้ถึง ๑๐,๐๐๐ คำ ต้องมีความหนาแน่น หมายถึง ต้องใช้สำนวนโวหาร การสร้างฉาก ตัวละคร บทสนทนา ฯลฯ ให้กระชับรัดกุมและมีประโยชน์ต้อการดำเนินเรื่องมากที่สุด โครงเรื่อง (Plot) เรื่องสั้นควรมีโครงเรื่องเดียว ไม่ซับซ้อนเป็นข้อขัดแย้งกันระว่างตัวละครและต้องจบลงด้วยผลอย่างใดอย่างหนึ่ง แก่นของเรื่องหรือแนวคิด เรื่องสั้นควรมุ่งสอนแนวคิดหรือแก่นของเรื่องเพียงอย่างเดียว ตัวละคร เรื่องสั้นควรมีตัวละครน้อยตัวคือไม่ควรเกิน ๔ ตัว ฉาก เรื่องสั้นมีฉากที่เกิดจากพฤติกรรมของตัวละคร คือเหมาะกับตัวละคร และสภาพแวดล้อม ตอนจบของเรื่อง (Climax) ตอนจบของเรื่องสั้นมักให้ความรู้แก่ผู้อ่านถึงความสมบูรณ์ของเนื้อหา มี ๒ แบบ คือ จบอย่างธรรมดา และจบแบบหลีกความคาดหมาย หรือจบแบบห้กมุม ๓. ชนิดของเรื่องสั้น แบ่งออกเป็น ๔ ชนิด คือ ๑. เรื่องสั้นประเภทแสดงแนวคิด (Theme Story) คือ ผู้เขียนมีอุดมคติหรือต้องการชี้ใผู้อ่านเห็นความจริงอย่างใดอย่างหนึ่งของชีวิต ๒. เรื่องสั้นประเภทผูกเรื่อง (Plot Story) เรื่องสั้นประเภทนี้มีโครงเรื่องซับซ้อนน่าฉงน และจบชนิดที่ผู้อ่านคาดคิดไม่ถึง หรือนึกไม่ถึงว่าจะจบแบบนั้น ๓. เรื่องสั้นประเภทที่เพ่งเล็งจะแสดงลักษณะของตัวละคร (Character Story) เป็นเรื่องสั้นประภทที่ผู้เขียนถือตังละครเป็นใหญ่ และต้องการจะเสนอลักษณะอย่างหนึ่งชองคนเป็นสำคัญ ๔. เรื่องสั้นประเภทที่ถือฉากเป็นสำคัญ (Atmophere Story) เป็นการเขียนบรรยายสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งมีลักษณะที่ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดไปตามพฤติกรรมและตัวละครมีอุดมคติ หรือต้องการชี้ให้เห็นความจริงอย่างนึ่งของชีวิต
[หน้าถัดไป : ๑ >>] |