ความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ภาษา

      ชาวไทยถิ่นใต่ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับความหมายของคำที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต  เช่น การตั้งชื่อบุคคลมักใช้คำไทยที่มีความหมายเป็นมงคลแก่เจ้าของชื่อ  เช่น ดี  ชื่น  สด  รวย  รัก  มั่น  คง  แจ่ม เป็นต้น ชื่อพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ที่นำมาปลูกในบริเวณบ้านมักจะเลือกชื่อพันธู์ไม้ที่มีความหมายเป็นสิริมงคล เช่น  ไผ่สีสุก : ทำให้เป็นศรีและเป็นสุข,   มะยม : ทำให้คนนิยม,  ขนุน : ทำให้มีผู้สนับสนุน, กล้วยหอม : ทำให้เกียรติยศชื่อเสียง, มะขาม (ทำให้ผู้อื่นเกรงขาม), ยอ (ทำให้คนย่องชมเชย) เป็นต้น 
      และในทางตรงกันข้าม คำที่มีความหมายไม่ดีก็เชื่อว่าอาจนำมาซึ่งความไม่เป็นสิริมงคลแก่ตนและครอบครัว เช่น ไม่ให้ปลูกระกำ, จาก, เต่าร้าง, ไว้ในบริเวณบ้าน   ห้ามทำการมงคลในวันดับ (วันสิ้นเดือนทางจันทรคติตรงกับ 15 ค่ำ  หรือบางเดือนตรงกับแรม 14 ค่ำ) และนอกจากนี้ยังเชื่อกันว่าสามัญชนไม่ควรตั้งชื่อเลียนเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน  หรือตั้งชื่อเลียนผู้มีบุญบารมี  เพราะจะทำให้  "จังไหรกินหัว"  ซึ่งหมายถึง จะเป็นจัญไรแก่ตัวเอง และทำให้เป็นอัปมงคลแก่ตนและวงศ์ตระกูล



แหล่งอ้างอิง : ฉันทัส ทองช่วย. 2536. ภาษาและวัฒนธรรมภาคใต้. โอเดียนสโตร์ : กรุงเทพฯ. 333 หน้า.

โดย : เด็กหญิง ศิริยา ปาทัพ, โรงเรียนกระแสสินธุ์วิทยา, วันที่ 10 กันยายน 2546