สำนวนภาษาถิ่นใต้

       สำนวน  หมายถึงถ้อยคำที่มิได้มีความหมายตรงไปตรงมาตามตัวอักษร หรือแปลตามรากศัพท์   แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมายเป็นอย่างอื่น   คือเป็นชั้นเชิงชวนให้คิด  ซึ่งอาจใช้ในเชิงเปรียบเทียบ  หรืออุปมา อุปไมย   ความหมายของสำนวนมักจะเป็นความหมายโดยนัย หรือความหมายแฝง  เรื่องของสำนวนจึงเป็นเรื่องลึกซึ้ง  ผู้ที่จะเข้าใจความหมายและวิธีใช้สำนวนได้ดีที่สุด คือเจ้าของภาษา

       สำนวนเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นวัฒนธรรมในการใช้ภาษา  ผู้ใช้ภาษาสามารถคิดถ้อยคำสั้น ๆ เพื่อใช้ในความหมายที่กว้างและลึกซึ้งได้เป็นอย่างดี  นอกจากนั้น  สำนวนยังเป็นภาพสะท้อนวิถีชีวิตและค่านิยมของคนในสังคมได้เป็นอย่างดี  ตัวอย่างสำนวนที่ปรากฏในท้องถิ่นภาคใต้ ดังนี้
         ศัพท์                          เสียงถิ่นใต้                             ความหมาย
ถอดสี                          ทอดซี้                                    กลัว  ตกประหม่า  ขี้กลาด  มาจาก
                                                                                    อาการของปลากัดเมื่อกัดแพ้สีจะซีด
                                                                                    เรียกถอดสี

ทำเฒ่า                         ท่ำทาว                                   ทำแก่แดด  อวดรู้  ตีตนเสมอผู้ใหญ่

ทำนุ้ย                           ท่ำหนุ่ย                                 ทำออดอ้อนอย่างเด็ก

ทำบ่าว                          ท่ำบ๋าว                                  ทำตัวเป็นหนุ่มเกินวัย

ฉีกเหงือก                     ชีกเฮือก                               ดันทุรัง   นอกคอก   หัวล้านนอกครู

รดท่อน                         หร็อดถ่อน                           การอาบน้ำเพียงครึ่งตัวส่วนบน

สากลัว                          ซ่ากลั๋ว                                 กลัว

หกใส่                            ฮ็อกไซ้                               กล่าวหา   กล่าวโทษ   กล่าวร้าย

บ้าเหมีย                        บาเมี้ย                                 กิริยาผู้ชายที่บ้าผู้หญิง  เป็นคำตำหนิ

บ้าผู้                               บาโพ                                   กิริยาที่ผู้หญิงบ้าผู้ชาย  เป็นคำตำหนิ

หล้าปาก                       ลาปาก                                 การพูดจาโดยขาดความสำรวม

มุ้งมิ้ง                            หมุ่งหมิ่ง                              เวลาพลบค่ำ  โพล้เพล้

หนอยหนอย                น่อยน้อย                             เบา ๆ

ไหว้เมีย                        วายเมี่ย                               สู่ขอ  แต่งงาน (ใช้กับผู้ชาย)

ยังชั่ว                             หยั่งฉั่ว                                ดีขึ้น  อาการดีขึ้น

ซักย่าน                         ฉักหย่าน                            เดินตามกันมาเป็นแถว

                                         ...............ฯลฯ................     

 

 

 



แหล่งอ้างอิง : อัครา บุญทิพย์. 2535. ภาษาถิ่นใต้. ภาควิชาภาษาไทย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน. 219 หน้า

โดย : นาย ณัฐวุฒิ พงศ์จันทรเสถียร, โรงเรียนกระแสสินธุ์วิทยา อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา, วันที่ 2 กันยายน 2546