ลักษณะภูมิอากาศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
1.เขตภูมิอากาศ ภูมิอากาศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แบ่งได้ 2เขต ดังนี้
1.1 เขตภูมิอากาศป่าร้อนชื้นหรือภูมิอากาศแบบป่าไม้เขตร้อน มีอากาศร้อนอบอ้าว
ความชื้นสูง ฝนตกตลอดปี พืชพันธุ์ธรรมชาติเป็นป่าไม้เขตร้อน เช่น ไม้สัก ไม้ยาง ยางพารา
และป่าไม้เบญจพรรณ รวมทั้งพืชตามเกาะและริมฝั่งทะเล คือ มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน ภูมิอากาศแบบนี้พบ
ในพื้นที่บริเวณเขตศูนย์สูตร ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์
1.2 เขตภูมิอากาศร้อนลมมรสุม มีอากาศร้อนมากในฤดูร้อนอุณหภูมิสูงสุดโดยทั่วไปอยู่ระหว่าง
33 ถึง 40 องศาเซลเซียส เป็นเขตฝนตกชุกเช่นกัน พบในพื้นที่บริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตร ได้แก่ พม่า ไทย
กัมพูชา ลาว และเวียดนาม
2.ปัจจัยที่มีต่อภูมิอากาศ เหตุที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีอากาศร้อนและฝนตกชุกขึ้นอยู่กับปัจจัย
ดังต่อไปนี้
2.1 ที่ตั้งตามละติจูด เนื่องจากภูมิภาคนี้ตั้งอยู่ระหว่างเส้นทรอปิคออฟแคนเซอร์กับเส้นทรอปิคออฟ
แคปริคอน อันเป็นเขตภูมิอากาศร้อนของโลก ทำให้มีภูมิอากาศร้อนชื้นหรือภูมิอากาศแบบป่าไม้เขตร้อน ทั้ง
นี้เพราะอยู่ในตำแหน่งที่ได้รับแสงแดดส่องตรงจากดวงอาทิตย์นานที่สุดในรอบ 1 ปี
2.2 ทิศทางลมประจำ ลมประจำที่พัดผ่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่
1) ลมประจำฤดูหรือลมมรสุม ได้แก่
(1) ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดอยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงกลางเดือนตุลาคม จาก
มหาสมุทรอินเดียผ่านทะเลอันดามันเข้าสู่บริเวณแผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นลมที่พัดผ่านพื้นน้ำอันกว้างใหญ่จึงนำไอน้ำชื้นและกระแสอากาศอุ่นจากทะลเมาด้วย ทำให้เกิดฝนตกชุก
ในระยะเวลาดังกล่าว ตามบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกของพม่า ไทย กัมพูชา เวียดนาม
(2) ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์
เป็นลมที่พัดจากพื้นแผ่นดินใหญ่กลางทวีปเอเชียลงสู่อ่าวไทยและมหาสมุทรอินเดีย นำความแห้งแล้ง
และหนาวเย็นมาให้
อย่างไรก็ดี เนื่องจากลมนี้พัดผ่านอ่าวไทยทำให้มีน้ำจากอ่าวไทยติดมาด้วย จึงเกิดฝนตกชุกในฤดูหนาวทางฝั่งตะวันออกของภาคใต้ของไทยและมาเลเซีย
2) ลมพายุที่เกิดบริเวณทะเลจีนใต้ ซึ่งมีผลกระทบต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
|