แหล่งศิลาแลงกรุงสุโขทัย ลานหิน

ภาพลานศิลาแลง แหล่งผลิตศิลาแลงโบราณสมัยสุโขทัย  ณ  ตำบลนาขุนไกร อำเภอศรีสำโรง จังหวักสุโขทัย

กรุงสุโขทัย ราชธานีของคนไทยเมื่อประมาณ 700 ปีมาแล้ว โบราณสถานที่พบเห็นในอุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติ ในจังหวัดสุโขทัยทั้งสองแห่ง คืออุทยานประวัติศาสตร์แห่งขาติรามคำแหงสุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติศรีสัชนาลัย ต่างก่อสร้างด้วย ศิลาแลง

ก้อนศิลาแลง มีลักษณะคล้ายหินลูกรังที่ถูกหลอมขึ้นรูป สีแดง น้ำตาลปนดำ  เมื่อนำไปทำเป็นเสาจะทำเป็นรูปทรงกระบอก เมือทำเป็นส่วนต่าง ๆ ของอาคาร มักทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดต่างกัน ปัจจุบันพบทั่วไปตามโบราณสถานทุกแห่งที่สร้างในสมัยสุโขทย  จำนวนก้อนศิลาแลงที่พบมีจำนวนมากมายมหาศาล แต่เป็นที่น่าสังเกตและเป็นที่สงสัยกันมานานคือไม่ทราบแน่ชัดว่าแหล่งวัตถุดิบ ที่ใช้ทำศิลาแลงเพื่อการสร้างกรุงสุโขทัย นำมาจากที่ใด


ภาพเตาเผาปูนสมัยสุโขทัย ใช้เพื่อการหลอมศิลาแลงเพื่อขึ้นรูปก้อนศิลาแลง ถ่ายจากป่าไผ่ใกล้ลานหินศิลาแลง ณ ตำบลนาขุนไกร อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย

สิ่งที่สงสัยปรากฏเมื่อมีการค้นพบแหล่งผลิตศิลาแลงขนาดใหญ่ ที่ตำบลนาขุนไกร อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย โดยความร่วมมือของชาวบ้าน  นักวิชาการ นักโบราณคดี และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายกลุ่ม พบว่าศิลาแลงมีการทำขึ้นที่นี่ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ระหว่างอุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติรามคำแหงสุโขทัยและอุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติศรีสัชนาลัย   อยู่ในแนวพื้นที่ที่ตั้งชุมชนโบราณ ปัจจุบันพื้นที่ส่วนที่เป็นแหล่งศิลาแลงเป็นลานกว้างพบร่องรอยการขุด ลาก ร่องล้อเกวียนโบราณ  เป็นร่องลึกที่เกิดจากการลากศิลาแลง บริเวณรอบ ๆ แหล่งศิลาแลงพบเตาหลอมศิลาแลงนับร้อยเตา ปกคลุมด้วยป่าไผ่ บางเตาชำรุด บางเตาสภาพดี

จาการสอบถามชาวบ้านในตำบลนาขุนไกรและชุมชนใกล้เคียง เหตุที่สถานที่แห่งนี้ไม่ปรากฏเรื่องราวในประวัติศาสตร์สมัยสุโขมัยและถูกทอดทิ้งกว่าเจ็ดร้อยปี  ชาวบ้านทุกคนรู้จักสถานที่แห่งนี้   ใช้สถานที่แห่งนี้เป็นทุ่งเลี่ยงวัว เตาที่พบและลานหินโบราณ มีเรื่องเล่ามหัศจรรย์มากมาย ลานหินเป็นที่มีทองคำ  เตาที่พบในป่าไผ่เป็นเตาหลอมทองคำ  และเรียกลานศิลาแลงว่า ลานหินตัด

      ปัจจุบันจังหวัดสุโขทัยกำลังดำเนินการบูรณะให้เป็นแหล่งศึกษาทางประวัติศาสตร์ โดยพื้นที่รอบบริเวณยังมีแหล่งศึกษาประวัติศาสตร์สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญอีกหลายแห่ง  เช่น  ถำระฆัง  ถ้ำลม-ถ้ำวัง ถ้ำนกยูง  จัดเป็นสถานที่ศึกษาประวัติศาสตร์และจะได้รับการพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในอนาคตอันใกล้



แหล่งอ้างอิง : นายมนตรี คงเจริญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านไร่พิทยาคม อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย

โดย : นาย มนตรี คงเจริญ, โรงเรียนบ้านไร่พิทยาคม, วันที่ 18 กรกฎาคม 2545