ประวัติการสร้างกรุงเทพมหานครฯ |
|
กรุงเทพมหานคร คือราชธานี (เมืองหลวง) ของราชอาณาจักรไทย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ โปรดให้สร้างขึ้นบนฝั่งซ้ายหรือฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อประกาศพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรก แห่งพระราชวงศ์จักรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ ได้มีพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เวลาย่ำรุ่ง ๔๕ นาที (๐๖.๔๕ น.) พระราชทานนามเมืองนี้ว่า "กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทราอยุธยา มหาดิลกภพนพรัตน์ ราชธานีบุรีรมย์ อุดมนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกทัติยวิษณุกรรมประสิทธิ" (สมัยรัชกาลที่ ๔ เปลี่ยนเป็น "กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ ฯลฯ")
เมื่อแรกสร้างกรุงเทพ ฯ คงมีพื้นที่เฉพาะเขตกำแพงเมืองเท่านั้น คือ กำแพงเมืองยาวประมาณ ๗ กิโลเมตร ด้านตะวันออก เลียบตามแนวคูเมืองที่ขุดแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่บางลำพู มาออกแม่น้ำเจ้าพระยา ทางด้านทิศใต้ใกล้สะพานพุทธยอดฟ้า ฯ เรียกว่า คลองบางลำพู และคลองโอ่งอ่างด้านตะวันตก ใช้แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นคูเมือง แต่มิได้สร้างกำแพงเมืองเหมือนด้านตะวันออก รายรอบกำแพงเมืองและริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีป้อมอยู่ ๑๔ ป้อม มีประตูเมืองขนาดใหญ่ ๑๖ ประตู ประตูเมืองขนาดเล็ก ที่เรียกว่าช่องกุดอีก ๔๗ ประตู
เนื้อที่ในครั้งนั้นมีเพียง ๒,๑๖๓ ไร่ พื้นที่นอก กำแพงเป็นทุ่งนาปลูกข้าว
|
โดย : นาย พรรณชัย ใบศรี, โรงเรียนศรีสำโรงชนูปถัมภ์, วันที่ 24 พฤศจิกายน 2544
|