ระเบียบการปกครองสมัยอยุธยา

การจัดระเบียบการปกครองสมัยอยุธยา

การจัดระเบียบการปกครองแบ่งออกเป็น 3 สมัย
1. สมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ.1893-1991)
2. สมัยอยุธยาตอนกลาง (พ.ศ.1991-2231)
3. สมัยอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ. 2231-2310)
สมัยอยุธยาตอนต้นหรือสมัยการวางรากฐานการปกครอง แบ่งการปกครองออกเป็น 2 ส่วน
1. การปกครองส่วนกลางหรือราชธานีปกครองแบบจตุสดมภ์ มีเสนาบดี 4 ตำแหน่ง
1.1 เวียง มีขุนเวียงเป็นหัวหน้าดูแลทุกข์สุขของราษฎร
1.2 วัง มีขุนวังเป็นหัวหน้า ดูแลกิจกรรมที่เกี่ยวข้องก้บพระราชสำนักและพิจารณพิพากษาคดี
1.3 คลัง มีขุนคลังเป็นหัวหน้า ดูแลการทำไรทำนาของราษฎร ตลอดจนการสะสมเสบียงอาหารของพระนคร
1.4 นา มีขุนนาเป็นหัวหน้า ดูแลการทำไรทำนาของราษฎร ตลอดจนการสะสมเสบียงอาหารของพระนคร
2. การปกครองส่วนภูมิภาคหรือส่วนหัวเมือง
2.1 เมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่านอยู่รอบราชธานี 4 ทิศ ห่างจากราชธานีใช้เวลาเดินทาง 2 วัน พระมหากษัตริย์แต่งตั้งพระราชโอรสหรือเจ้านายชั้นสูงไปปกครอง
2.2 หัวเมืองชั้นใน คือเมืองที่อยู่รายรอบพระนคร ได้แก่ ปราจีนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ฯลฯ มีขุนนางจากเมืองหลวงไปปกครอง
2.3 หัวเมืองชั้นนอกหรือเมืองพระยามหานคร เมืองขนาดใหญ่อยู่ห่างไกลจากราชธานี
2.4 เมืองประเทศราช ให้เจ้าต่างชาติต่างภาษาปกครองกันเอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามกำหนด 3 ปีต่อครั้ง

สมัยอยุธยาตอนกลาง หรือสมัยการปรับปรุงการปกครอง เริ่มในสมัยพระบรมโตรโลกนาถ การปรับปรุงการปกครอง ยึดหลักการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง แบ่งส่วนราชการออกเป็น
1. การปกครองในส่วนกลางหรือส่วนราชธานี แบ่งการปกครองออกเป็น 2 ฝ่าย
1.1 ฝ่ายทหาร มีสมุหกลาโหมเป็นหัวหน้า ดูแลทหารทั่วราชอาณาจักร
1.2 ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายกเป็นหัวหน้า และรับผิดชอบจตุสดมภ์ 4 และเปลี่ยนชื่อเรียกใหม่ คือ เวียง เป็น นครบาล
วัน เป็น ธรรมาธิกรณ์
นา เป็น เกษตราธิราช
คลัง เป็น โกษาธิบดี

2. การปกครองส่วนภูมิภาค โปรดให้ยกเลิกเมืองลูกหลวง จัดการปกครองออกเป็น
2.1 หัวเมืองชั้นใน เปลี่ยนเป็นหัวเมืองจัตวา มีผู้ปกครองคือผู้รั้ง
2.2 หัวเมืองชั้นนอก เปลี่ยนหัวเมืองชั้น เอก โท ตรี ตามลำดับความสำคัญ และขนาดของเมือง
2.3 เมืองประเทศราช ให้เจ้าต่างชาติต่างภาษาปกครองกันเอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาตามกำหนด

สมัยอยุธยาตอนปลาย หรือสมัยถ่วงดุลอำนาจ เริ่มในสมัยพระเพทราชา สมัยนี้ยึดแบบอย่างการปกครองแบบที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปรับปรุง แต่ได้แบ่งแยกอำนาจสมุหกลาโหมและสมุหนายกเสียใหม่ คือ
สมุหกลาโหม - ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งหมดทั้งที่เป็นฝ่ายทหารและพลเรือน
สมุหนายก - ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมดที่เป็นฝ่ายทหารและพลเรือน
รูปแบบการปกครองของอยุธยา ใช้เรื่องมาจนถึงรัชกาลที่ 5 จึงได้มีการปฏิรูปการปกครองเสียใหม่


(ประเทศของเรา ส 204 ประเสริฐ วิทยารัฐ และคณะ)



โดย : นาย วิรัช เครือทอง, เพรักษมาตาวิทยา, วันที่ 21 พฤษภาคม 2545