ธรรมสำหรับพระราชา |
|
ธรรมสำหรับพระราชา
ธรรมสำหรับพระราชาซึ่งเป็นแบบแผนในการปกครองได้แก่ ทศพิธราชธรรม ๑๐ จักรวรรดิวัตร ๑๒ และราชสังคหวัตถุ ๔ เป็นพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ที่ได้ทรงบำเพ็ญคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนอย่างใหญ่หลวง
ทศพิธราชธรรม ๑๐ คือธรรมในการใช้พระราชอำนาจและการบำเพ็ญประโยชน์ต่ออาณาประชาราษฎร์ มีดังนี้ ๑.การให้ ๒. การบริจาค ๓.ความประพฤติดีงาม ๔. ความซื่อตรง ๕. ความอ่อนโยน ๖. ความทรงเดช ๗.ความไม่โกรธ ๘. ความไม่เบียดเบียน ๙. ความอดทน ๑๐ ความไม่คลาดเคลื่อนในธรรม
|
|
จักรวรรดิวัตร ๑๒ คือธรรมอันเป็นพระราชจริยานุวัตร ทรงถือและอาศัยธรรมข้อนี้เป็นหลักสำหรับการปกครองประเทศ ดังนี้ ๑. ควรอนุเคราะห์คนในราชสำนักและคนภายนอกให้มีความสุข ไม่ปล่อยปละละเลย ๒. ควรผูกไมตรีกับประเทศอื่น ๓. ควรอนุเคราะห์พระราชวงศานุวงศ์ ๔. ควรเกื้อกูลพราหมณ์ คหบดี และคฤบดีชน คือเกื้อกูลพราหมณ์และผู้ที่อยู่ในเมือง ๕. ควรอนุเคราะห์ประชาชนที่อยู่ในชนบท ๖. ควรอนุเคราะห์สมณพรามณ์ผู้มีศีล ๗. ควรจักรักษาฝูงเนื้อ นก และสัตว์ทั้งหลายมิให้สูญพันธ์ ๘. ควรห้ามชนทั้งหลายมิให้ประพฤติผิดธรรม และชักนำด้วยตัวอย่างให้อยู่ในกุศลสุตจริต ๙. ควรรเลี้ยงดูคนจน เพื่อมิให้ประกอบการทุจริตและอกุศลต่อสังคม ๑๐. ควรเข้าใกล้สมณพราหมณ์เพื่อศึกษาบุญและบาป กุศล และอกุศลให้แจ่มชัด ๑๑. ควรห้ามจิตมิให้ต้องการไปในที่ที่พระมหากษัตริย์ไม่ควรเสด็จ ๑๒.ควรระงับความโลภมิให้ปรารถนาในลาภที่พระมหากษัตริย์มิควรจะได้
ราชสังคหวัตถุ ๔ ราชสังคหวัตถุ ๔ คือ พระราชจริยานุวัตรอันเป็นที่ยึดเหนี่ยวนำใจประชาชน สำหรับเป็นแนวทางในการวางนโยบายปกครองบ้านเมือง ดังนี้ ทรงพระปรีชาในการบำรุงธัญญาหารให้บริบูรณ์ ทรงพระปรีชาในการสงเคราะห์บุรุษที่ประพฤติดี ทรงพระปรีชาในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎร และการตรัสพระวาจาที่อ่อนหวานแก่ชนทุกชั้นโดยควรแก่ฐานะ
|
โดย : นาง วิภา บุญส่ง, โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ, วันที่ 4 พฤษภาคม 2545
|