|
สทิงพระชุมชนโบราณ
ชุมชนโบราณสทิงพระ เป็นชุมชนโบราณสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ของภาคใต้ มีความหมายถึงลักษณะชุมชน
โบราณ ๒ นัยคือ
๑.ชุมชนโบราณคาบสมุทรสทิงพระ
๒.ชุมชนโบราณสทิงพระ
ชุมชนโบราณคาบสมุทรสทิงพระ
ได้แก่ชุมชนสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ที่อยู่ในคาบสมุทรสทิงพระทั้งหมด โดยเริ่มตั้งแต่บ้านท่าบอน ตำบลท่าบอน
อำเภอ ระโนด จังหวัดสงขลาถึงบ้านหัวเขาแดง ตำบลหัวเขา อำเภอเมือง
จังหวัดสงขลา โดยนัยนี้ ประกอบด้วยกลุ่มชุมชนใหญ่ๆ ๖ กลุ่ม
ได้แก่
๑. กลุ่มชุมชนอู่ตะเภา-ระโนด
เป็นชุมชนโบราณในแนวของเส้นทางน้ำบริเวณคลองอู่ตะเภา และคลองระโนดในเขตตำบลระโนด ตำบลท่าบอน ตำบลปากแตระ ในอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ปรากฏตามพิกัดภูมิศาสตร์ เส้นรุ้ง
๗ องศา ๔๙ ลิปดาเหนือ ( บ้านท่าบอน ) ถึง
๗ องศา ๔๗ ลิปดาเหนือ (บ่านมะขามเฒ่า ) เส้นแวง
๑๐๐ องศา ๒๒ ลิปดาตะวันออก ( บ้านท่าบอน ) ถึง
๑๐๐ องศา ๑๙ ลิปดาตะวันออก (บ้านมะขามเฒ่า )ประกอบด้วยแหล่ง
โบราณคดีสำคัญ ได้แก่
- แหล่งโบราณคดีท่าบอน บ้านท่าบอน ตำบลท่าบอน
ตั้งอยู่บนเส้นทรายริ้วนอกสุดติดทะเลอ่าวไทย และมี คลองปากแตระเป็นเส้นทางน้ำสำคัญ
- แหล่งโบราณคดีบ้านโคกทอง หมู่ที่ ๕ ตำบลระโนด
ตั้งอยู่บนเส้นทรายย่อย แนวกลางคาบสมุทร มีคลอง ระโนดเป็นเส้นทางน้ำสำคัญ
- แหล่งโบราณคดีบ้านมะขามเฒ่า ตำบลระโนด ตั้งอยู่บนเส้นทรายแนวขวางกลาง คาบสมุทรบริเวณบรรจบกันของคลองระโนด
คลองปากแตระและคลองอู่ตะเภา
๒. กลุ่มชุมชนโบราณพังยาง เป็นชุมชนโบราณในเขตตำบลพังยาง
อำเภอระโนด บริเวณแนวเส้นทราย ทั้ง ๓ แนวของคาบสมุทร
บริเวณลุ่มน้ำคลองพังยาง คลองโภคา และคลองบ้านโพธิ์ปรากฏตามพิกัดภูมิศาสตร์
เส้นรุ้ง ๗ องศา ๔๔ ลิปดาเหนือ (บ้านสาม) ถึง ๗
องศา ๔๒
ลิปดาเหนือ (บ้านพังยาง) เส้นแวง ๑๐๐ องศา
๒๓ ลิปดาตะวันออก (บ้านพังยาง)ถึง ๑๐๐ องศา
๒๑ ลิปดาตะวันออก (คลองโภคา) ประกอบด้วยแล่ง โบราณคดีสำคัญได้แก่
- แหล่งโบราณคดีวัดขุนช้าง-บ้านสามี ตำบลพังยาง
อำเภอระโนด ตั้งอยู่บนเส้นทรายริ้วใน (ริ้วที่ ๓) มีพัง
ขุนช้าง สระบ้านสามี และคลองบ้านโพธิ์เป็นเส้นทางน้ำที่สำคัญ
-แหล่งโบราณคดีเมืองพังยาง บ้านพังยาง ตำบลพังยาง
อำเภอระโนด ตั้งอยู่บนเส้นทรายริ้วใน (ริ้วที่ ๓) มีคลองพังยางเป็นทางน้ำสำคัญ
- แหล่งน้ำที่สำคัญ
๓. กลุ่มชุมชนโบราณบ้านสีหยัง-เจดีย์งาม
เป็นชุมชนในเขตตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด บริเวณเส้นทราย
ริ้วใหญ่ตอนในมีคลองเจดีย์งามเป็นเส้นทางน้ำสำคัญ ปรากฏตามพิกัดภูมิศาสตร์
เส้นรุ้ง ๗ องศา ๓๙ ลิปดาเหนือ (บ้านเจดีย์งาม) ถึง
๗ องศา ๓๘ ลิปดาเหนือ (บ้านสีหยัง) เส้นแวง
๑๐๐ องศา ๒๕ลิปดาตะวันออก (บ้านสีหยัง) ถึง
๑๐๐ องศา ประกอบด้วยแหล่งโบราณคดีสำคัญได้แก่
- แหล่งโบราณคดีบ้านเจดีย์งาม ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด
- แหล่งโบราณคดีเมืองโบราณคดีเมืองสีหยัง ตำบลบ่อตรุ
อำเภอ ระโนด
๔. กลุ่มชุมชนโบราณเขาคูหา - ชะแม เป็นชุมชนโบราณในเขตตำบลชุมพล
และตำบลดีหลวง อำเภอ สทิงพระ บริเวณกลุ่มเนินเขากลางพื้นที่ราบและเส้นทรายริ้วใน
ปรากฏตามพิกัดภูมิศาสตร ์เส้นรุ้ง ๗ องศา ๓๗ ลิปดาเหนือ (บ้านวัดกระ) ถึง
๗ องศา ๓๔ ลิปดาเหนือ (บ้านชะแม) เส้นแวง ๑๐๐ องศา ๒๔ ลิปดาตะวันออก
(บ้านวัดกระ) ถึง ๑๐๐ องศา ๒๓ ลิปดาตะวันออก (บ้านเขาพะโคะ)
ประกอบด้วยแหล่งโบราณคดี สำคัญ ๆ ได้แก่
- แหล่งโบราณคดีเขาคูหา หมู่ ๕ บ้านเขาคูหา
ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ เป็นเนินเขาหินทรายสลับหิน กรวดมน
บนพื้นที่ราบนอกสันทรายริ้วใหญ่ตอนใน มีพังพระเป็นแหล่งน้ำ สำคัญ
- แหล่งโบราณคดีเขาพะโคะ หมู่ ๖ บ้านเขาพะโคะ
ตำบล ชุมพล อำเภอสทิงพระ เป็นเนินเขาหินกรวดมน บนพื้นที่ราบนอกสันทรายริ้วใหญ่ตอนใน
มีพังพระเป็นแล่งน้ำสำคัญ
- แหล่งโบราณคดีชะแม บ้านชะแม ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ
ตั้งอยู่บนเส้นทรายริ้วใหญ่ตอนใน
- แหล่งโบราณคดียางคอกควาย บ้านวัดกระ หมู่ ๒
ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ ตั้งอยู่บนเส้นทรายริ้วนอก (
ใกล้ทะเลอ่าวไทย )ใกล้พังเวร พังค่าย พังพระ
๕.
กลุ่มชุมชนโบราณสทิงพระ เป็นชุมชนโบราณในเขตตำบลกระดังงา
ตำบลจะทิ้งพระ ตำบลบ่อดาน ตำบลบ่อแดง ตำบลคูขุด
อำเภอสทิงพระ เป็นแนวสันทรายริ้วใหญ่ (ริ้วนอก) และริ้วสันทรายกลาง
และโคก เนินบริเวณที่ราบลุ่มใกล้แนว สันทรายปรากฏตามพิกัดภูมิศาสตร์
เส้นรุ้ง ๗ องศา ๓๑ ลิปดาเหนือ (บ้านวัด
กลาง) ถึง ๗ องศา ๒๔ ลิปดาเหนือ (บ้านพังขี้เหล็ก) เส้นแวง ๑๐๐
องศา ๒๖ ลิปดาเหนือ (เมืองโบราณ ศรีมงคล) ถึง ๑๐๐ องศา ๒๗ ลิปดา ๒๕
ฟิลิปดาต ะวันออก ประกอบด้วยแหล่งโบราณคดีสำคัญๆ ได้แก่
- แหล่งโบราณคดีบ้านวัดกลาง ตำบล กระดังงา อำเภอสทิงพระ
- แหล่งโบราณคดีเมืองโบราณสทิงพระ หมู่ ๕ บ้านจะทิ้งพระ
อำเภอสทิงพระ
- แหล่งโบราณคดีบ้านโคกเนินและพังรอบเมืองโบราณสทิงพระ
บ้านจะทิ้งพระ บ้านพัง แขกชี บ้านพังเภา (ในไร่ ) ตำบลจะทิ้งพระ
อำเภอสทิงพระ
- แหล่งโบราณคดีเมืองโบราณศรีมงคล หมู่ ๒
บ้านศรีไชย ตำบลคูขุด อำเภอสทิงพระ
- แหล่งโบราณคดีวัดพระสิงห์หรือวัดสิง ( ร้าง ) หมู่
๕ ตำบลบ่อดาน อำเภอสทิงพระ
- แหล่งโบราณคดีวัดพังขี้เหล็ก ( ร้าง ) บ้านพังขี้เหล็ก
๖. กลุ่มชุมชนโบราณปะโอ
เป็นชุมชนโบราณในเขตตำบลม่วงงาม ตำบลรำแดง (ลำแดง) ตำบลวัดขนุน
ตำบลหัวเขา ในเขตอำเภอเมืองสงขลา บริเวณสันทรายริ้วที่
๒ และริ้วใน และโคกเนินบริเวณพื้นที่ราบ มีคลองโอหรือปะโอเป็นเส้นทางน้ำสำคัญ
ปรากฏตามพิกัดภูมิศาสตร์ เส้นรุ้ง ๗ องศา ๑๙
ลิปดาเหนือ (บ้าน ลำแดง) ถึง ๗ องศา ๑๑ ลิปดาเหนือ
(บ้านหัวเขา) เส้นแวง ๑๐๐ องศา ๓๐ ลิปดาตะวันออก
( บ้านวัดขนุน) ถึง ๑๐๐ องศา ๑๖ ลิปดาตะวันออก (บ้านหัวเขา
) ประกอบด้วยแหล่งโบราณคดีสำคัญๆได้แก่
- แหล่งโบราณคดีเตาเผาบริเวณริมคลองโอ ในเขตตำบลม่วงงาม
และตำบลวัดขนุน อำเภอเมืองสงขลา
- แหล่งโบราณคดีบ้านหนองหอย ตำบลวัดขนุน อำเภอเมืองสงขลา
- แหล่งโบราณคดีวัดขนุน บ้านขนุน ตำบลวัดขนุน
อำเภอเมืองสงขลา
- แหล่งโบราณคดีบ้านลำแดง ตำบลลำแดง อำเภอเมืองสงขลา
- แหล่งโบราณคดีบ้านหัวเขา (ใกล้โรงเรียนปอเนาะซอลาฮุดดีน)
ตำบลหัวเขา อำเภอเมืองสงขลา
ชุมชนโบราณสทิงพระ
ได้แก่แหล่งโบราณคดีเฉพาะในกลุ่มชุมชนโบราณสทิงพระซึ่งมีเมืองโบราณสทิงพระ
ในเขตหมู่ ๕ บ้านจะทิ้งพระ เป็นแหล่งศูนย์กลางและแหล่งโบราณคดีซึ่งพบหลักฐาน
ทางทิศเหนือของเมืองโบราณ สทิงพระ สิ้นสุดที่วัดกลาง ตำบลกระดังงา ทางทิศใต้สิ้น
สุดที่วัดพังขี้เหล็ก บ้านพังขี้เหล็ก ตำบลบ่อแดง ทางทิศตะวันตกสิ้นสุดที่เมืองโบราณศรีมงคล
ในเขตตำบลคูขุดทางทิศตะวันออกสิ้นสุดที่พังแฟม พังหลุง ตำบลจะทิ้งพระและจดทะเลอ่าวไทยมีอาณาบริเวณเป็นระยะทางตามแนวสันทราย
12 กิโลเมตร ประกอบ ด้วยแหล่งโบราณคดีสำคัญที่พบหลักฐาน
ได้แก่
๑. เมืองโบราณสทิงพระ
เนื้อที่ของชุมชนร้อยละ ๘๐ เป็นที่ตั้งโรงเรียนในเมือง
(สังกัดสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ ) ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่
๕ บ้านจะทิ้งพระ ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ที่หลักกิโลเมตร ๓๓-๓๔ ของทางหลวงหมายเลข ๔๐๘๓ ( สงขลา-ระโนด
) ทางหลวง ตัดผ่านตัวเมืองทางด้านตะวันออก ตัวเมืองโบราณห่างจากทะเลอ่าวไทย ประมาณ
๕๐๐ เมตร สูงจากระดับ น้ำทะเลโดยเฉลี่ย ๒-๓ เมตร
ปรากฏตามพิกัดทางภูมิศาสตร์ เส้นรุ้ง ๗ องศา ๒๘
ลิปดา ๓๕ ฟิลิปดาเหนือ เส้นแวง ๑๐๐ องศา
๒๖ ลิปดา ๒0 ฟิลิปดาตะวันออก
๒. โคกเนินและพังรอบๆเมืองโบราณสทิงพระ
ปรากฏตามพิกัดทางภูมิศาสตร์
เส้นรุ้ง ๗ องศา ๒๘ ลิปดา ๔๕ ฟิลิปดาเหนือ ( พังสาย
หมาน ) ถึง ๗ องศา ๒๗ ลิปดา ๒0 ฟิลิปดาเหนือ ( พังเสม็ด )
เส้นแวง ๑๐๐ องศา ๒๖ ลิปดา ๑๕ ฟิลิปดาตะวันออก
( พังชีล่าง ) ถึง ๑๐๐ องศา ๒๗ ลิปดา ๑๕
ฟิลิปดาตะวันออก (พังเสม็ด )
๒.๑ โคกเนินบนพื้นที่นาในแนวคูเมืองด้านตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ใกล้คลองสทิงพระ
ได้แก่ โคกขามมดแดง โคกพังเนียน โคกน้าควาย โคกพังขี้เหล็ก
โคกสีดอกไม้ โคกไม้ไผ่ โคกม่วง
๒.๒ พังรอบเมืองโบราณสทิงพระ ได้แก่พังสายหมาน
อยู่ทางทิศเหนือของเมืองโบราณ พังหลุง อยู่ทาง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองโบราณ
(บนสันทรายใกล้ทะเลอ่าวไทย) พังแขก-พังชีใต้(พังหนุน) อยู่ทาง
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองโบราณ(นอกสันทราย อยู่บนพื้นที่นา ใกล้ฝั่งทะเลสาบ) พังแฟม
อยู่ทาง ทิศตะ วันออกเฉียงใต้ของเมืองโบราณ (นอกสันทรายใกล้ ฝั่งทะเลอ่าวไทย) พังเสม็ดอยู่ห่างทางทิศ
ตะวันออก เฉียงใต้ของเมืองโบราณ (นอกสันทราย - ใกล้ฝั่งทะเลอ่าวไทย)
๓. พังเภา ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่
๑ บ้านพังเภาหรือบ้านในไร่ ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ
ปรากฏ ตามพิกัดทางภูมิศาสตร์ที่ เส้นรุ้ง ๗ องศา ๒๖
ลิปดา ๔๐ ฟิลิปดาเหนือ เส้นแวง ๑๐๐ องศา ๒๗
ลิปดา ๒๕ ฟิลิปดาตะวันออก เป็นบริเวรโคกเนินและพังชื่อ
" พังเภา "บนพื้นที่ริมขอบ สันทรายติดฝั่ง- ทะเลอ่าวไทยอยู่ทางทิศใต้ของเมืองโบราณสทิงพระในระยะทางประมาณ
๓.๘๕ กิโลเมตร
๔. เมืองโบราณศรีมงคลและโคกสังข์ ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่
๒ บ้านศรีไชย ตำบลคูขุด อำเภอสทิงพระ ปรากฏตามพิกัดทางภูมิ
ศาสตร์ เส้นรุ้ง ๗ องศา ๒๙ ลิปดาเหนือ
เส้นแวง ๑๐๐ องศา ๒๕ ลิปดา ๑๕ ฟิลิปดาตะวันออก ตั้งอยู่นอกสันทรายห่างเมืองโบราณสทิงพระไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ
๒.๕ กิโลเมตร มีพังนางหงส์เป็นแหล่งน้ำสำคัญ
๕. วัดพระสิงห์หรือวัดสิง (ร้าง ) ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่
๔ ตำบลบ่อดาน อำเภอสทิงพระ ปรากฏตาม พิกัดทางภูมิศาสตร์
เส้นรุ้ง ๗ องศา ๒๕ ลิปดา ๔๓ ฟิลิปดาเหนือ
เส้นแวง ๑๐๐ องศา ๒๖ ลิปดา ๕๓ ฟิลิปดาตะวันออก
อยู่ห่างจากเมืองโบราณสทิงพระไปทางทิศใต้ประมาณ ๕ กิโลเมตร
เป็นเนินดินบน พื้นที่ราบลุ่ม(ที่นา) ใกล้สันทรายริ้วเล็กตอนในห่างจากฝั่งทะเลอ่าวไทย
๑.๕ กิโลเมตร มีแหล่งน้ำสำคัญ คือพังโหฺมฺรง และคลองพรวน
๖. วัดพังขี้เหล็ก ตั้งอยู่ในเขตบ้านพังขี้เหล็ก
ตำบลบ่อแดง อำเภอสทิงพระ ปรากฏตามพิกัดทาง ภูมิศาสตร์
ที่เส้นรุ้ง ๗ องศา ๒๔ ลิปดา ๔๓ ฟิลิปดาเหนือ
เส้นแวง ๑๐๐ องศา ๒๗ ลิปดา ๒๗ ฟิลิปดาตะวันออก
อยู่ห่างจากเมืองโบราณสทิงพระไปทางทิศใต้ประมาณ ๘ กิโลเมตร
เป็นเนิน ดินที่ราบลุ่ม (ที่นา) ระหว่างริ้วสันทรายใหญ่และเล็ก
มีพังขี้เหล็กเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ห่างจาก ฝั่งทะเลอ่าวไทย ๑.๕
กิโลเมตร
๗. วัดกลาง ตั้งอยู่ในเขตบ้านวัดกลาง
ตำบลกระดังงา อำเภอสทิงพระ ปรากฏตามพิกัดทางภูมิศาสตร์
ที่เส้นรุ้ง ๗ องศา ๓๐ ลิปดา ๑๐ ฟิลิปดาเหนือ
เส้นแวง ๑๐๐ องศา ๒๕ ลิปดา ๕๕ ฟิลิปดาตะวันออก
อยู่ห่างจากเมืองโบราณสทิงพระไปทางทิศเหนือประมาณ ๒.๕ กิโลเมตร
ตั้งอยู่บนสันทรายริ้ว ใหญ่ ริ้วเดียวกับเมืองโบราณสทิงพระ
|
Last
updated
Friday, 02/01/2002 10:28
The best view with 800x600 or 1024x768 pixels.
2000 All Right Reserved by Comcenter Sthingpravittaya School
|
|