เกาะรัตนโกสินทร์


เส้นทาง1.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ก่อตั้ง พ.ศ.2477เดิมเป็นพื้ที่ส่วนหนึ่งของหน้าวังหรือพระราชวังบวรสถานมงคลโดยยังปรากฎกำแพงวัดและป้อมประตูอยู่ด้านริมถนนพระจันทร์ ในสมัย ร.5 ตำแหน่งหน้าวังถูกยกเลิกพื้นที่ส่วนหนึ่งจึงตกเป็นของทหารและ ต่อมาจึงเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มหาลัยแห่งที่สองของไทย)

2.ท่าพระจันทร์และถนนพระจันทร์
เคยเป็นบริเวณวังของกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมและได้ถวายที่ดินให้กับพระครังข้างที่ ปัจจุบันตกเป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จากนั้นได้มีเอกชนได้เช่าที่เพื่อดำเนินกิจการเรือข้ามฝาก
จากท่าพระจันทร์มีถนนพระจันทร์เป็นเส้นทางเชื่อมต่อไปยังสนามหลวง ทางด้านใต้เป็นตึกแถวของวัดพระธาตุ

3.วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร
วัดมหาธาตุเป็นวัดเก่ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยามีชื่อเดิมว่า วัดสลัก ในสมัยกรุงธนบุรีมีฐานะเป็นพระอารามหลวงต่อมา ร.1โปรดให้สร้างพระบรมมหาราชวังและพระราชวังบวรสถานมงคลวัดนี้จึงอยู่ระหว่างกลาง สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท พระราชทานนามว่า วัดนิพพานาราม ต่อมา ร.1 พระราชทานนามว่า วัดพระศรีสรรเพชญ พ.ศ.จึงได้พระราชทานนามใหม่ว่าวัดมหาธาตุ

4.ท่าช้างวังหลวงและตึกแถวบริเวณท่าช้าง
สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่ ร.1 ในสมัยก่อนควาญช้างจะพาช้างจากวังหลวงมาอาบน้ำที่นี้นอกจากนี้ยังใช้เป็นท่าที่รับช้างเผือกเพื่อถวายพระมหากษัตริย์ ตามประวัติเดิมเรียกว่า ท่าพระ ปัจจุบันเรียกว่า ท่าช้าง วังหลวง ในบริเวณท่าช้างจะมีตึกแถวโบราณซึ่งสร้างในสมัย ร.5 ใน ร.3 เคยประทานให้กับสุนทรภู่

5.ตึกแถวถนนหน้าพระลาน
สร้างในสมัย ร.5 บนพื้นที่ซึ่งเคยเป็นวังถึง3วังก่อนที่จะกลายเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากรและกรมศิลปากรในปัจจุบัน

6.ท่าราชวรดิฐและพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย
เดิมเรียกว่า พระฉนวนน้ำประจำท่าพระราชวังหลวง ใน ร.1 ต่อมาเป็นตำหนักน้ำสร้างในสมัย ร.2 และสร้างเสร็จในสมัย ร.3 ต่อมา ร.4 ให้รื้อออกและสร้างหมู่พระที่นั่งขึ้นมาใหม่คือพระที่นั่งคณพิมาน พระที่นั่งทิพยสถานเทพสถิต พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัยและพระที่นั่งอนงค์ในสราญรมย์ เรียกว่า ท่าราชวรดิฐ แปลว่าท่าอันประเสริฐแห่งราชการปัจจุบัน

7.กำแพงและประตูพระบรมมหาราชวังด้านทิศตะวันตก
เป็นกำแพงพระบรมมหาราชวัง และกำแพงเมือง กำแพงพระบรมมหาราชวัง และกำแพงเมืองถูกสร้างใน ร.1

8.ท่าโรงโม่
เดิมบริเวณนี้เป็นโรงโม่หินภายหลังได้สร้างเป็นท่าไม้แพจนกระทั่งเป็นท่าคอนกรีตเสริมในปัจจุบันซึ่งเป็นท่าข้ามฟากไปยังท่าน้ำวัดอรุณราชวราราม

9.ตึกแถวบริเวณท่าเตียน
ในสมัยก่อนเป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่มีวังของเจ้านายสร้างใน ร.1 ต่อมาเกิดไฟไหม้จนโล่งเตียนเป็นที่มาของคำว่า ท่าเตียน ใน ร.4 มีการสร้างศาลต่างประเทศกับตึกหลวงเป็นที่พักของชาวต่างชาติ

10.วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
วัดเชตุพนฯเดิมเรียกว่า วัดโพธาราม แต่มักเรียกว่า วัดโพธิ์ สมัยต้นรัตนโกสินทร์ วัดโพธิ์เป็นที่รวมวิชาทั้งปวง ซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถศึกษาได้รวมทั้งเป็นต้นตำรับรวมถึงวิชาการนวดของไทยด้วย

11. คลองคู่เมืองเดิม
มักจะสับสนเรียกว่า “คลองหลอด” เป็นคลองที่ขุดตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี มีการเรียกชื่คลองออกเป็น3ส่วน “คลองวัดทายตลาด” “คลองบ้านหม้อ” และ ”คลองบ้านขมิ้น”

12. สถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง
สถานีตำรวจนครบาลพระราชวังตั้งอยู่บนพื้นที่ซึ่งเป็นวังมาก่อนคือ วังท้ายวัดพระเชตุพน วังที่5ซึ่งสร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่3

13. อาคารกระทรวงพาณิชย์
ตัวอาคารเป็นตึก3ชั้นลวดลายประดับได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมในยุโรป เช่น ลูกกรงระเบียง หัวเสาและกรอบช่องเปิดต่างๆได้รับการรักษาเป็นอย่างดี สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่3

14. สะพานอุบลรัตน์
สร้างในปี พ.ศ.2455 ในสมัยรัชกาลที่6เพื่อเป็นที่ละลึกแด่พระองค์เจ้าอุบลรัตน์นารีนาถ สะพานนี้ได้สร้างบนสะพานเดิมที่เรียกว่า สะพานหัวตะเข้

15. สะพานมอญ
สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่3 เป็นสะพานไม้สักขนาดใหญ่ส่วนเชิงสะพานทั้งสองก่อด้วยอิฐ สะพานในปัจจุบันเป็นสะพานคอนกรีตซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงในสมัยรัชกาลที่6

16. สะพานปีกุน
สร้างขึ้นใน พ.ศ.2451 ตรงกับปีกุน โดยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชชนนีพันปีหลวง ในสมัยรัชกาลที่6 ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ให้สร้างขึ้น
17. สะพานช้างโรงสี
เป็นสะพานคอนกรีตสร้างในปี พ.ศ. 2453 ตรงกับสมัยรัชกาลที่5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยพระองค์แรก









โดย : เด็กชาย อภินัทน์ ศุภศรี, โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 13 พฤศจิกายน 2544