สมเด็จย่าแม่ฟ้าหลวงของปวงไทย


พระราชดำรัสของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ตอนที่ ๑

ปัญญา Intelligence
มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด ปัญญานี้ต้องใช้อยู่เสมอ ปัญญานี้จะคล่องขึ้นโดยใช้ความคิดตรึกตรอง (Reasoning) ในสิ่งต่าง ๆ อยู่เสมอ และว่าอะไรดีไม่ดีจากพ่อแม่ ครู อาจารย์ ผู้ที่มีปัญญาสูงก็จะเข้าใจได้เร็ว ความรู้ที่แท้จริงในทางพระธรรมหรือในทางโลก ก็พิจารณาสิ่งต่าง ๆ โดยปัญญา ปัญญาที่ได้ใช้อยู่เสมอ ก็จะคล่องแคล่วและคมขึ้น โดยความคิด ตรึกตรอง ก็จะมีความรู้เข้าใจอย่างแท้จริง

การกุศล
…ฉันเห็นว่าการกุศลนี้เป็นของสำคัญมากสำหรับจิตใจและสำหรับที่เรียกว่าชีวิตหน้าก็ได้ หรือชีวิตนี้เหมือนกัน เพราะเราได้กุศลที่ดีไว้ ก็ควรจะมีประโยชน์ คือ ที่ ๑ ก็จิตใจ และอย่างอื่นคงเป็นประโยชน์ด้วย…
…กุศลนี้เป็นของที่แลเห็นไม่ได้ ไม่ใช่ว่าเป็นวัตถุ เป็นของที่อยู่ในใจของเรา ถ้าเรารู้สึกว่าทำเพื่อประโยชน์คนอื่นทำในทางดีก็คงจะสบายใจ นั้นแหละเป็นการกุศล กุศลสำหรับตัวเรา และกุศลในทางธรรมด้วย
…กุศลนี้ ตามพระพุทธศาสนาสำหรับในชีวิตประจำวันนี้ด้วย ชีวิตภายภาคหน้าด้วย ท่านทำกรรมดี กรรมดีเป็นของสำคัญมากแล้วช่วยให้ท่านมีความสุขความเจริญทั้งกายและใจต่อไป แล้วจะมีความคิด ความอ่านดีด้วย เจริญด้วย รวมถึงความสามัคคีนี้ ฉันเห็นว่าสำคัญมากถ้าไม่มีความสามัคคี ทำงานอะไรก็ไม่สำเร็จหรอกมีอะไรที่เห็นว่าไม่ดีก็มาพูดกันจริงไหม “


ทศพิธสามัคคีธรรม
…ทศพิธราชธรรมก็ว่ากันว่า เป็นธรรมของราชาแต่ที่จริงเป็นธรรมของคนทั่วไป เพราะฉะนั้นฉันอยากจะเปลี่ยนชื่อนิดหนึ่ง ชื่อว่า “ ทศพิธสามัคคีธรรม ” ทำอะไรทำด้วยกัน ถ้าเราไม่ทำด้วยกัน ด้วยความสามัคคี สิ่งต่าง ๆ จะไม่สำเร็จ…

ที่มา: สารสนเทศสมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ฉ.๖ ปี ๒๕๔๔

( มีต่อ ตอนที่ ๒ )



โดย : นาง เอมอร Aem-on พิทยายน Phitthayayon, มหาวิทยาลัยมหิดล, วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2545