ตำนานกำเนิดสายพันธุ์มนุษย์ |
|
การค้นพบฟอสซิลมนุษย์ โฮโม อีเร็กตัส (Homo erectus) อายุกว่าห้าแสนปี นับเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการค้นพบแหล่งกำเนิดมนุษย์ในประเทศไทย ก่อนหน้านี้ได้มีการค้นพบชิ้นส่วนกระดูกขาของโฮโม อีเร็กตัสที่ประเทศอินโดนีเซียและที่จีนในถ้ำชูกูเทียนในปักกิ่ง จากหลักฐานชิ้นสำคัญนี้ทำให้นักวิชาการเชื่อว่าทวีปเอเชียเป็นต้นกำเนิดมนุษย์จากเดิมที่เชื่อว่าเป็นแอฟริกาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
คณะทำงานพิพิธภัณฑ์และห้องปฏิบัติการเรื่องก่อนประวัติศาสตร์ สุด แสงวิเชียร ภาควิชากายภาคศาสตร์ และคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลได้ทำการขุดสำรวจภาคเหนือหลายจังหวัด แหล่งหนึ่งคือ หมู่บ้านหาดปู่ด้าย จ.ลำปาง ภายในระยะ 4 ปีที่ทำการสำรวจได้พบหลักฐานซากและฟันของสัตว์เลี้ยงนมโบราณจำนวนมากในสมัยไมโอซีส อายุประมาณ 16 ล้านปี จนกระทั่งปลายปี 2542 ได้พบฟอสซิลมนุษย์ดึกดำบรรพ์ ซึ่งเป็นชิ้นส่วนของกะโหลกซีกขวาด้านหน้า ใกล้สันกระบอกตา เรียกว่า Cavarai ฟันจำนวน 4 ชิ้น กระดูกนิ้วมือ ฟันหน้าเขี้ยว และรากฟันรวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้แก่ ไฮยีน่า เสือเขี้ยวดาบ และหมีแพนด้า เป็นต้น ในถ้ำหินปูนในเหมืองแร่ฟอสเฟต จ.ลำปาง
|
|
ก่อนหน้าประมาณ 5-6 ปี ได้พบชิ้นส่วนฟันกรามของ ไดรโอพีเทคัส(Dryphetecus) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ของมนุษย์และลิงมีอายุประมาณ 16-25 ล้านปี เป็นบรรพบุรุษของสายพันธุ์ พรีโฮมินิดส์(Prehominids)ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของสายพันธุ์ปัจจุบัน มีฟันกราม 5 ปุ่มเหมือนในปัจจุบัน ก่อนที่จะแยกมาเป็นลิงและคนในปัจจุบัน
|
|
|
ฟอสซิลโฮโม อีเร็กตัส อายุประมาณ 5 แสนปี มีจุดเด่นทางกายภาพ ได้แก่ สมองมีความจุประมาณ 850-1,200 มิลลิลิตร ถือว่าเล็กกว่าของมนุษย์
ปัจจุบัน กะโหลกมีความหนา มีสันนูนเหนือกระบอกตา หน้าผากด้านบนมีลักษณะลาด เมื่อนำชิ้นส่วนที่ค้นพบมาต่อกันและเปรียบเทียบกับตัวอย่างแบบจำลองของ โฮโม อีเร็กตัส จากชวา พบว่าคล้ายคลึงกัน
|
โดย : นางสาว วรรณวลี จูสนิท, โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 12 พฤศจิกายน 2544
|