เขาไม่ใช่ทหารอาชีพและไม่เคยสนใจในวิชาการทหารมาก่อนเลย แต่ตามบทบาทในฐานะผู้นำ เขาได้นำประเทศของเขาสู่สงครามถึง 2 ครั้ง และในแต่ละครั้ง ได้คร่าชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าทั้งโลกจะมองตนในแง่ไหน นับตั้งแต่ทรราช ผู้ประหัตประหาร ผ่ายค้าน ตัวการก่อสงครามจนถึงผู้นำประเทศที่ไม่สนใจใยดีต่อชะตากรรม และความอดอยากของพลเมืองประเทศตน แต่กระนั้นก็ตาม เขาก็ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของอิรักมาร่วม 2 ทศวรรษแล้ว เขาคนนั้นก็คือ ซัดดัม ฮุสเซน
ซัดดัม ฮุสเซน เกิดเมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1933 ในครอบครัวชาวนาที่มีฐานะมั่งคั่งในเมืองตีกริต ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ ห่างจากกรุงแบกแดดเมืองหลวงไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 100 ไมล์ ซัดดัม ฮุสเซน ศึกษาชั้นมัธยมที่โรงเรียนมัธยมอัล-คาร์คห์ไปแบกแดด และไปศึกษาต่อวิชากฎหมาย ณ มหาวิทยาลัยไคโร ประเทศอียิปต์ แล้วมาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยอัล-มุสแตนเซรียาในกรุงแบกแดด
ปี 1957 เมื่ออายุได้ 20 ปีพอดี ซัดดัมได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคบาธ ซึ่งเป็นพรรคชาตินิยมอาหรับที่มีอิทธิพอยู่ในรัฐอาหรับสมัยนั้น ในปีเดียวกันนี้เขาก็ได้แต่งงานกับซาจิดา ไคราลลา ญาติสาวของตน
ปี1958 นายพลอับดุลการิม กัสเซมให้กำลังทหารเข้าโค่นรัฐบาลกษัตริย์ จับกษัตริย์ไฟซาล มกุฎราชกุมารและนายกรัฐมนตรีนูรี เอล ซาอิดประหารชีวิตหมด สถาปนาอีรักเป็นสาธารณรัฐแล้วตั้งตนเป็นผู้เผด็จการปกครองประเทศ ต่อมา ซัดดัมกับเพื่อนๆ สมาชิกพรรคบาธวางแผนสังหารทรราชคนใหม่นี้ แต่ไม่สำเร็จ ต้องลี้ภัยการเมืองไปอยู่ในซีเรียและอียิปต์ โดยมีคำพิพากษาโทษประหารชีวิตตามหลังไปด้วย หลังจากนั้น 5 ปีเศษ กัสเซมก็ถูกยึดอำนาจ และถูกยิงตาย เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1963 จอมพลโมฮัมเหม็ด อาเรฟดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี พรรคบาธก็ได้ให้ความสนับสนุนและเข้าร่วมในรัฐบาลด้วย ซัดดัม ฮุสเซนจึงสามารถเดินทางกลับอีรักได้โดยปลอดภัย ในปีเดียวกันนี้เขาก็ได้แต่งงานกับซาจิดา ไคราลลา ญาติสาวของตน
ในปีค.ศ. 1968 นายพลอาเหม็ด ฮัสซาน อัล-บาคร์ทำรัฐประหารโค่นรัฐบาลนายพลอาเรฟได้สำเร็จ ภายหลังรัฐประหาร ซัดดัมจึงได้ก่อตั้งองค์การตำรวจลับขึ้น เพื่อกวาดล้างศัตรูผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาล และตนเอง ขณะเดียวกันองค์การตำรวจลับนี้ก็เป็นฐานอำนาจของซัดดัมด้วย ยังผลให้เขากลายมาเป็นผู้ทรงอิทธิพลสูงสุดในอิรัก ทั้งๆที่โดยตำแหน่งแล้วซัดดัมเป็นรองประธานาธิบดี ต่อมาในปี ค.ศ.1979 หลังจากกุมอำนาจอยู่เบื้องหลังนายพลอัล-บาร์คมาได้ 11 ปี ซัดดัมก็ตั้งตนเองเป็นประธานาธิบดีอิรัก
แม้ว่าซัดดัม ฮุสเซนจะเป็นผู้เผด็จการที่ไม่ยอมอดทนต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตน ทำการจับกุมและเข่นฆ่าศุกตรูทางการเมืองของตนมามากมาย แต่ก็มีความจริงใจในอันที่จะพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า ชาวอิรักทุกคนที่อายุไม่เกิน 45 ปีซัดดัมก็ไดบังคับไว้ว่าต้องรูหนังสือ มิฉะนั้นจะถูกปรับหรือขังแทนปรับ ส่วนชาวอิรักที่นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์อันเป็นนิกายเดียวกับที่โคไมนีนับถือ ซัดดัมก็ทุ่มเงินช่วยด้วยการสร้างสุเหร่าและอาคารสงเคราะห์สำหรับคนยากจน
กองทหารอิรักยกกำลังบุกเข้าไปในอิหร่านตอนกลางเดือนกันยาย ค.ศ.1980 แล้วสู้รบกันอย่างดุเดือดเป็นเวลานานถึง 21 เดือน ผลก็คือเด็กหนุ่มที่มาออกรบก็ตายกันเป็นแสนๆ ทำให้ซัดดัมต้องถอนกำลังทหารของตนออกจากอิหร่าน
ว่างเว้นจากสงครามได้ไม่ถึง 10 ปี ในเดือนสิงหาคม 1990 ซัดดัมก็ส่งกำลังทหารเข้าสู่สงครามอีกครั้งโดยบุกเข้าคูเวต
รัฐอาหรับเพื่อนบ้านที่อยู่ติดกันทางด้านตะวันออก แต่การรบครั้งนี้ซัดดัมคิดผิดถนัด แทนที่จะต้องสู้กับคูเวตกลับต้องรบกับสหรัฐอเมริกา อภิมหาอำนาจโลกแทน อีกทั้งสมาชิกรัฐอาหรับส่วนใหญ่ ก็ไม่เห็นด้วย คือรับไม่ได้กับการที่อิรักคุกรานประเทศเพื่อนบ้านที่มีพลเมืองไม่ถึง 2 ล้านคน
ผลที่เกิดจากสงคราม แม้จะโฆษณาว่าเป็นฝ่ายชนะสงคราม แต่อิรักถูกสหประชาชาติคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ อิรักขายน้ำมันไม่ได้ ไม่มีรายได้อะไรที่จะมาเลี้ยงพลเมืองส่วนใหญ่ ขาดแคลนการรักษาพยาบาลที่ทันสมัย ทำให้ชาวอิรักต้องพลอยลำบากจากความทะเยอทะยานของผู้นำประเทศของตน แต่สุดท้ายสหประชาชาติก็ใจอ่อนยอมทำข้ตกลงนำมันเพื่ออาหารเพื่อช่วยอิรัก ในด้านมนุษยธรรม ทำให้อิรักสามารถขายน้ำมัน 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐได้ในเวลา 5 เดือน
อนาคตต่อไปไม่รู้ว่าอิรักต้องเข้าสู่สงครามกับใครอีกไหม ถ้าหากผู้นำประเทศยังคงเป็น ซัดดัม ฮุสเซน
แหล่งที่มา
www.sanook.com
|