" ดวงประทีบนำทางของพม่าที่มีค่าควรยิ่งแก่รางวัลสันติภาพ " เป็นคำกล่าวในบทพรรณาธิการหนังสือพิมพ์ Bangkok Post ฉบับประจำวันที่ 16 กรกฎาคม 1991 เนื่องในโอกาสที่อองซานซูจีได้รับรางวัลโนเบล
สุภาพสตรีร่างเล็กและบอบบางที่ยืนหยัดต่อสู้กับคณะทหารที่ปกครองพม่า (สภารื้อฟื้นกฎหมายและความสงบเรียบร้อยของรัฐ - State Law and Order Restoration Council หรือ SLORC) ที่ปกครองพม่าด้วยอำนาจเผด็จการอันโหดเหี้ยม....อองซาน ซูจี มีคุณสมบัติทุกประการที่จะเป็นนักการเมืองที่สามารถของประชาชนพม่า และคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของเธอก็คือ ความกล้า..กล้าพูด กล้าวิจารณ์ แล้วก็กล้าท้าทายคณะทหานหรือสลอร์คมาโดยตลอด
ซูจีเกิดเมื่อ 19 มิถุนายน ค.ศ. 1945 เมื่อเธออายุได้สองขวบกับหนึ่งเดือน อองซานบิดาของเธอซึ่งเป็นผู้นำในการต่อสู้เพื่อเอกราชของพม่า และยังเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของพม่า เมื่อได้เอาราชก็ถูกคนร้ายยิงตายพร้อมรัฐมนตรีในคณะอีก 8 คนเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ.1947
ซูจีเข้าศึกษาในเลดี้ ศรีงาม คอลเลจในอินเดีย และค.ศ. 1964 เธอเดินางไปอังกฤษเพื่อศึกษาตอ่ในเซนต์ฮิวส์คอลเลจมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และจบปริญญาตรีในทางปรัชญารัฐศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ เมื่อปี 1967
ซูจีแต่งงานกับ ไมเคิล แอริส ในปี 1972 เมื่อแต่งงานแล้วซูจีเข้าทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิจัยของกระทรวงการต่างประเทศพม่า รับผิดชอบโดยเฉพาะในการให้คำปรึกษาแก่รัฐมนตรีว่าด้วยกิจการขององค์การสหประชาชาติ เดือนเมษายน 1988 เธอต้องเดินทางกลับพม่า เนื่องจากคุณแม่ของเธอป่วยนักด้วยโรคเส้นโลหิตแตก เมื่อคุณแม่ของเธออาการดีขึ้น ทีแรกเธอตั้งใจจะกลับไปทำปริญญาโทต่อ แต่สถานการณ์ทางการเมืองของพม่ากกำลังร้อนระอุ จากความไม่พอใจ ที่นิสิตนักศึกษาและประชาชนพม่ามีต่อการเผด็จอำนาจของนายพลเนวิน และคณะทหารในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1962 โค่นรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งของอูนุ แล้วดำเนินนโยบายเศรษฐกิจสังคมนิยม โดยมีนายทหารเป็นผู้ปฏิบัติงานซึ่งต้องประสบความล้มเหลวในทุกด้าน
ซูจีตัดสินใจเข้าร่วมกับประชาชนพม่า คัดค้านระบอบเผด็จการของนายพลเนวินและคณะทหาร โดยขั้นแรกเธอปลุกเร้าให้ประชาชนพม่า มีความกล้าในทางขวัญและกำลังใจที่จะต่อสู้กับทรราชเสียก่อน เมื่อประชาชนปราศจากความหวาดกลัวแล้ว ก็จะสามารถกอบกู้เอกราชครั้งที่สองขึ้นมาได้ ต้นฉบับ Freedom From Fear จึงเกิดขึ้นจากแนวคิดนี้เอง ซึ่งต้นฉบับของหนังสือเล่มนี้ได้ถูกลักลอบนำออกจากบ้านที่เธอพักอยู่ที่มีทหารล้อมรอบ และถูกส่งไปให้สามีของเธอจัดการพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือ แต่เป็นหนังสือที่แม้แต่ตัวผู้เขียนหรือประชาชนชาวพม่าเองก็ไม่มีโอกาสได้อ่าน
ในวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1988 ซูจีขึ้นปราศรัยเป็นครั้งแรกต่อประชาชนนับหมื่นที่เจดีย์าชเวดากอง ยังผลให้วันต่อมามีการเคลื่อนไหวก่อตั้งสันนิบาตประชาธิปไตย และพรรคการเมืองขึ้นเป็นจำนวนมาก ตามเมืองต่างๆไม่ว่าจะเป็นเมืองใหญ่หรือเล็ก
วันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1989 ซูจีถูกทหารควบคุมตัวไม่ให้ออกจากบ้าน เนื่องจากครั้งหลังๆที่ซูจีขึ้นปราศรัย เธอกล่าวโจมตีเนวินโดยเฉพาะ และในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1990 สลอร์คประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งผลก็คือ สันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยที่ซูจีก่อตั้ง ชนะด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น ซูจีซึ่งเป็นเลขาธิการพรรคจะได้เป็นหัวหน้ารัฐบาล แต่สลอร์คตระบัดสัตย์ เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ตัดสิทธิซูจีโดยเฉพาะ การกระทำนี้ทำให้สลอร์คกลายมาเป็นตัวตลกที่น่าสมเพขในสายตาของชาวโลก
ในปี ค.ศ. 1996 สลอร์คพยายามออกข่าวว่าปล่อยซูจีแล้ว แต่ความจริงเธอก็ยังไปไหนไม่ได้เช่นเดิม
ไม่น่าเชื่อที่คณะทหารที่มีอาวุธครบมือจะเกรงกลัวผู้หญิงร่างเล็กบอบบาง
ที่ไม่มีอะไรไปสู้รบด้วยเลย นอกจาก ความกล้า
แหล่งที่มา
www.sanook.com
|