ฟอสซิล

กสองครั้งเพื่อเพิ่มภาพคลิตัดปะ
คลิกเพื่อเพิ่มข้อความ
คลิกเพื่อเพิ่มข้อความ
คลิกสองครั้งเพื่อเพิ่มภาพตัดปะ

ซากดึกดำบรรพ์ (Fossils)

ในบรรดาสิ่งมีชีวิตที่กำเนิดขึ้นบนโลก มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นเป็นลำดับหลัง ๆ มีการเปรียบเทียบ โดยสมมุติว่าถ้าโลกกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม… มนุษย์ก็ควรเกิดขึ้นบนโลกเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม… มนุษย์จึงมีข้อจำกัดเป็นอย่างมากในการที่จะสืบสาวเล่าเรื่องประวัติความเป็นมาอันยิ่งใหญ่ของโลกที่ตัวเองอาศัยอยู่ ทั้งนี้เพราะมนุษย์เรามีอายุเฉลี่ยอยู่บนโลกไม่เกิน 100 ปี จัดเป็นระยะเวลาที่สั้นมากเมื่อเทียบกับอายุของโลกที่เกิดขึ้นเมื่อ 4,600 ล้านปีที่ผ่านมา เมื่อเป็นเช่นนี้เราจะใช้อะไรเป็นหลักฐานเพื่อทราบเรื่องราวของโลก ดิน หิน แร่ ที่ประกอบกันเป็นภูเขา แผ่นดิน หรือท้องทะเล สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาให้มนุษย์ขบคิดมาเป็นเวลานาน เพื่อหาคำตอบให้กับประวัติความเป็นมาของโลก และแผ่นดินที่เราอาศัยอยู่ จากการศึกษาค้นคว้าเป็นลำดับจนในที่สุด นักธรณีวิทยาพบว่าในบรรดาหลักฐานทั้งหลายที่ได้ศึกษากันมานั้น ซากดึกดำบรรพ์ที่ประทับรอยไว้ในหิน เป็นหลักฐานหนึ่งที่ให้คำตอบเกี่ยวกับประวัติของโลกได้เป็นอย่างดี”ซากดึกดำบรรพ์” เป็นร่องรอยของพืชและสัตว์ ที่ปรากฏอยู่ในหิน ส่วนมากจะพบในหินตะกอนมากกว่าหินชนิดอื่น อาจพบในหินภูเขาไฟบ้างแต่น้อยมาก ซากดึกดำบรรพ์ในหินจะบ่งถึงสภาพแวดล้อม และชนิดของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ ณ ที่นั้นในขณะเวลาที่เกิดการสะสมตะกอน ซากดึกดำบรรพ์ของไครนอยด์ที่พบในหิน แอนดีไซต์ ซึ่งเป็นหินภูเขาไฟที่ เขาชนโถ จังหวัด เพชรบูรณ์ ไครนอยด์เป็นสัตว์ทะเล ที่มีลักษณะคล้ายต้นไม้ ส่วนที่เห็นเป็นสีขาวในภาพ เป็นส่วนลำต้นทั้งด้านตัดตามยาว และตัดขวาง (ที่มีรูตรงกลาง) อายุประมาณ 250 ล้านปี
รายงานฉบับนี้ จึงนำเสนอเรื่องซากดึกดำบรรพ์ เพื่อแสดงถึงการเกิดขึ้น ดำรงอยู่ และสูญพันธุ์ ไปของสิ่งมีชีวิตในอดี9ในมุมมองที่เป็นวิทยาศาสตร์ ข้อมูลเหล่านี้นอกจากจะเป็นบทเรียนในการเรียนรู้อดีตของโลก และแผ่นดินเกิดแล้ว ยังเป็นแบบอย่างให้กับการดำรงชีวิตของมนุษย์เราในปัจจุบัน ที่จะมีชีวิตร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ และสิ่งแวดล้อมรอบตัวอย่างมีความสุข มีความรับผิดชอบต่อชีวิตในอนาคตด้วย ส่วนใครจะนำข้อมูลซากดึกดำบรรพ์เป็นอุทาหรณ์ในการดำรงชีวิตด้วยเล็งเห็นถึงการเกิดดับของชีวิต ซึ่งเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาก็เป็นสิ่งที่ควรอนุโมทนา
ทเริ่มต้นของสิ่งมีชีวิต โลกในสมัยเริ่มแรกจะแตกต่างกับปัจจุบันอย่างมาก ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ว่างเปล่าไม่มีทั้งทะเล และมหาสมุทร มีแต่บรรยากาศที่ร้อนระอุ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์รวมทั้งแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟร์ที่เกิดจากพุน้ำร้อน และภูเขาไฟระเบิด หลังจากนั้นก็เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นบนโลกอย่างต่อเนื่อง และเริ่มมีสัญญาณของสิ่งมีชีวิต...
อายุและการแบ่งอายุของโลก อายุของโลกหรืออายุทางธรณีวิทยา มีอยู่ 2 ชนิด คือ อายุสัมบูรณ์ การกำหนดอายุเป็นตัวเลขจากการสลายตัวของสารกัมมันตภาพรังสีที่พบอยู่ในหินหรือในซากฯ อีกชนิดหนึ่งเป็นอายุเปรียบเทียบ คือเป็นช่วงอายุที่อ้างอิงจากซากดึกดำบรรพ์ที่พบอยู่ในหิน...
กระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์ การเกิดซากดึกดำบรรพ์ส่วนมากจะมีปัจจัยสำคัญสองประการ คือ โครงร่างส่วนที่เป็นของแข็งของสิ่งมีชีวิต กับกระบวนการเก็บรักษาซากเหล่านั้น เมื่อสิ่งมีชีวิตล้มตายลง โครงร่างส่วนที่เป็นของแข็ง เช่น กระดูก ฟัน กะโหลก กิ่งก้าน ใบไม้ และเปลือกหอย เป็นต้น ...
รูปแบบและชนิดของซากดึกดำบรรพ์ โบราณชีววิทยาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของธรณีวิทยาได้จัดแบ่งซากดึกดำบรรพ์ออกเป็นหมวดหมู่คล้ายคลึงกับชีววิทยา แต่รายงานฉบับนี้ได้จัดแบ่งชนิดของซากดึกดำบรรพ์ออกเป็นกลุ่มใหญ่ ตามรูปแบบของซากที่ได้สำรวจพบในประเทศไทย โดยจะไม่ลงรายละเอียดในการจำแนกชื่อตระกูล...
ประโยชน์ของซากดึกดำบรรพ์ ซากดึกดำบรรพ์ที่ได้จากการสำรวจ มีประโยชน์ในหลายๆ ด้าน ทั้งในส่วนที่เป็นวิชาการ เศรษฐกิจ ตลอดจนการนำมาประยุกต์ใช้กับปัญหาอันหลากหลายที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ความสำคัญของซากดึกดำบรรพ์จึงมีมากกว่าการเป็นสิ่งมหัศจรรย์สำหรับเก็บไว้โชว์หรือแสดงในพิพิธภัณฑ์
ซากดึกดำบรรพ์แสดงถึงความเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าทางวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตตามลำดับอายุของโลก ซึ่งทำให้เราทราบถึงความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อมในอดีตโดยการลำดับชั้นหินที่มีอยู่ในพื้นที่นั้น
นอกจากนั้นซากดึกดำบรรพ์ยังทำให้เรียนรู้ถึงกฎเกณฑ์การดำรงชีพของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด (species) ทำให้สามารถที่จะส่งเสริม ปรับปรุง แก้ไขความรู้และทฤษฎีตลอดจนการทำความเข้าใจด้านวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมทั้งที่สูญพันธุ์ไปแล้ว และที่ยังดำรงพันธุ์ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ซากดึกดำบรรพ์เป็นประโยชน์อย่างมากมายด้านทรัพยากรธรรมชาติ เป็นเหมือนลายแทงในการสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน
ซากดึกดำบรรพ์เป็นประโยชน์อย่างมากต่องานวิชาการธรณีวิทยา
นอกจากจะบอกอายุของหินที่พบซากเหล่านั้นแล้วยังเป็นหลักฐาน ยืนยันถึงการแปรสัณฐานของแผ่นธรณีภาค (plate tectonic) ของประเทศที่ตัวเราอาศัยอยู่ด้วย
ประการสุดท้ายที่อยากจะชี้แนะคือการใช้ข้อมูลซากดึกดำบรรพ์ในการประเมินปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของยุคสมัยนี้ ตามกระบวนการนำอดีตมารับใช้ปัจจุบัน
สรุปและข้อเสนอแนะ ข้อมูลส่วนหนึ่งของซากดึกดำบรรพ์ที่ได้เสนอมาในรายงานนี้จะเป็นเหมือนแนวทางในการสืบค้นศึกษาหารายละเอียดต่อไป สำหรับผู้ที่สนใจในวิชาการแขนงนี้ ความจริงแล้วซากดึกดำบรรพ์เป็นสิ่งที่หายาก มีซากดึกดำบรรพ์ไม่กี่ชนิดที่หาได้ง่าย และพบเป็นจำนวนมาก ซากดึกดำบรรพ์จึงควรเป็นสมบัติของชาติของแผ่นดิน ไม่ควรที่จะเก็บไว้เป็นสมบัติส่วนตัว เพราะซากเหล่านี้บอกกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของแผ่นดินที่เราอาศัยอยู่และซากหนึ่งชิ้นก็เป็นหนึ่งเดียวในโลก การอนุรักษ์ การเก็บรักษา จึงควรอยู่ในความดูแลของผู้รู้ที่มีจริยธรรม มีความสำนึกเล็งเห็นถึงประโยชน์ของชาติบ้านเมืองมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตนเท่านั้น รวมทั้งสถาบันและหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ก็ควรจะตื่นตัวและให้ความสนใจต่อเรื่องเหล่านี้มากขึ้นซากดึกดำบรรพ์ ไดโนเสาร์อ.เชียงม่วน จ.พะเยา

ซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์เชียงม่วน พบครั้งแรกประมาณเดือนสิงหาคม 2545 โดยชาวบ้านหนองกลาง หมู่ 7 ตำบลบ้านมาง อำเภอเชียงม่วน จ.พะเยา ที่เข้าไปหาเห็ดในป่าบริเวณดอยแก่งหลวง แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นกระดูกของสัตว์อะไร ต่อมาวันที่ 17 ธันวาคม 2545 คณะนายวราวุธ สุธีธร หัวหน้าศูนย์ศึกษาวิจัยไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว ได้เข้ามาทำการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า เป็นกระดูกของไดโนเสาร์พวกซอโรพอด

หลุมขุดค้นซากดึกดำบรรพ์ตั้งอยู่บริเวณดอยแก่งหลวง บ้านหนองกลาง หมู่ 7 ตำบลบ้านมาง อำเภอเชียงม่วน จ.พะเยา บริเวณที่พบซากดึกดำบรรพ์เป็นเนินเขาเตี้ยๆ จากลักษณะทางธรณีวิทยา บริเวณที่พบซากดึกดำบรรพ์ เป็นชั้นหินทรายสีแดงของกลุ่มหินโคราช ช่วงยุคจูแรสซิกตอนปลายถึงครีเทเชียสตอนต้น (ประมาณ 159 - 99 ล้านปี)

คณะสำรวจได้ทำการตรวจสอบและสำรวจบริเวณใกล้เคียง พบกระดูกของไดโนเสาร์จำนวนมาก ทั้งสภาพที่สมบูรณ์และแตกหัก ภายในหลุมขุดขนาดประมาณ 1 ตารางเมตร ลึกประมาณ 50 เซนติเมตร ประกอบด้วย กระดูกส่วนหาง กระดูกซี่โครง กระดูกสะโพก และกระดูกขา เป็นกระดูกของไดโนเสาร์พวก ซอโรพอดกินพืชเป็นอาหาร คอยาว หางยาว เดินสี่ขา ความยาวประมาณ 15 เมตร

คณะสำรวจได้ทำการขุดสำรวจเบื้องต้น โดยทำการเปิดหน้าดินออกไปเป็นบริเวณกว้างประมาณ 5 เมตร ยาวประมาณ 7 เมตร ลึก 2 เมตร พบแนวของกระดูกไดโนเสาร์เรียงต่อไปทางด้านเหนือ จำนวนมากกว่า 20 ชิ้น และได้ทำการอนุรักษ์ชิ้นส่วนกระดูกบางส่วนที่แตกหักเสียหายขึ้นมาจากหลุมขุดค้น เพื่อนำกลับมาทำการซ่อมแซมทำความสะอาดที่ศูนย์ศึกษาวิจัยไดโนเสาร์ ภูกุ้มข้าว ส่วนกระดูกที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ได้นำไปจัดแสดงยัง ที่ว่าการอำเภอเชียงม่วน

เธ‹เธฒเธเนƒเธšเน„เธกเน‰เนเธฅเธฐเธžเธทเธŠเธ—เธตเนˆเธ—เธฑเธšเธ–เธกเธเธฑเธ™เธžเธดเธฉเธ“เธธเน‚เธฅเธซากดึกดำบรรพ์ ของสัตว์ทะเลอายุไม่ต่ำกว่า 200 ล้านปี

ลักษณะ เป็นซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ทะเลที่ปรากฏบนผนังถ้ำ เพดานถ้ำ และบนพื้นถ้ำ มีลักษณะเป็นหินอายุไม่ต่ำกว่า ๒๐๐ล้านปี มีหลายประเภท ได้แก่
๑. ซากสัตว์ทะเลจำพวก Bryozoa เป็นสัตว์ขนาดเล็กมากไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในยุคไซลูเลียน (Silurian) และพบมากในช่วงเวลามิสซิสซิบเปี้ยน (Missisipian) ได้แก่ Locy หรือ Fcneatellate bryozoans
๒. ซากสัตว์ทะเลจำพวกครีนอยด์ (Crinoids) เป็นสัตว์ขนาดเล็กที่ไม่มีกระดูกสันหลัง มีลักษณะคล้ายต้นไม้และราก ส่วนหัวคล้ายดอกไม้ พบที่ถ้ำเรือมากที่สุดเฉพาะส่วนลำต้น ส่วนหัวไม่พบสัตว์จำพวกนี้มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "Sea lily" จัดอยู่ในไฟลัมแอคไดเนอโดมาต้า (Echinerdomata)
ที่อำเภอสหัสขันธุ์ ค้นพบครั้งล่าสุดที่วัดสักกะวัน บุคคลที่ชื่อว่า เป็นผู้ค้นพบกระดูกไดโนเสาร์เป็นบุคคลแรก คือ พระคร วิจิตรสหัสคุณ เจ้าคณะอำเภอสหัสขันธุ์ (ธรรมยุติ) เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน จากการที่ได้ตัดถนนรอบเขาภูกุ้มข้าว ๓. ซากสัตว์ทะเลจำพวกปะการัง (Corals) เป็นสัตว์ทะเลจำ

พวกไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมซีเลนเทอราด้า (Coelenterate) เริ่มปรากฏในยุคคออร์โก
๔. ซากสัตว์ทะเลจำพวกหอยกาบคู่ (Fossil Brachioposs) เป็นสัตว์ขนาดเล็กมาก ถึงขนาดเล็ก จัดอยู่ในยุค Cambrian พบมากที่สุดที่ถ้ำเรือ ได้แก่ Spiriferies และ Productids
๕. ซากสัตว์ทะเลจำพวกมอลลัสกา (Mollusca) แบบ Pelecypod ซึ่งเป็นสัตว์ขนาดเล็ก

แหล่งที่พบ
พบที่ถ้ำเรือ ซึ่งอยู่ในความดูแลของหน่วยงานอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาท่าพล อำเภอเนินมะปรางจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดพิษณุโลกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ ๗๐ กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงสายพิษณุโลก-วังทอง-เขาทราย เลี้ยวซ้ายตรงกิโลเมตรที่ ๒๔ เข้าเขตเขาผาท่าพล

ความสัมพันธุ์กับชุมชน
เป็นหลักฐานที่แสดงว่า เมื่อประมาณ ๒๐๐ล้านปีมาแล้วบริเวณนี้เคยเป็นทะเลหรือมหาสมุทรมาก่อน จึงมีซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ทะเลปรากฏอยู่ติดกับภูเขาด้วย

ความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ
เป็นศูนย์ข้อมูลซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ของสัตว์ทะเลอายุไม่ต่ำกว่า ๒๐๐ ล้านปี ซึ่งมีแห่งเดียวในประเทศไทย จึงมีผู้สนใจไปทัศนศึกษา และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ส่งเสริมเศรษฐกิจของจังหวัดพิษณุโลก

“ซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิล” เป็นสิ่งที่มีคุณค่าเพราะเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่บอกเล่าเรื่องราวในอดีตและวิวัฒนาการของโลก ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้ความสนใจเก็บรวบรวมและรักษาซากต่าง ๆ ไว้มากมาย ทั้งสิ่ง มีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นนั้นมีอายุ และประวัติความเป็นมาที่แตกต่างกันออกไป บรรพบุรุษของแมมมอธ อย่าง ฟอสซิลงาช้างโบราณที่มีอายุกว่า 77 แสนล้านปี ฟอสซิลงาช้างโบราณ 4 กิ่ง อายุกว่า 25 ล้านปี โครงกระดูกยีราฟคอสั้นบรรพบุรุษยีราฟในปัจจุบัน ซากโครงกระดูกและฟอสซิลฟันไดโนเสาร์ ฟอสซิลหอยนางรมอายุ 5,500 ปี ไม้กลายเป็นหิน ฯลฯ และพบกับซากสัตว์หายากต่าง ๆ ซึ่งบางตัวสูญพันธุ์ไปแล้ว อาทิ ปลาฉลามโรนินสตัฟฟ์ ปลาโลมาอิรวดี แมลงหายาก เขาสัตว์ เช่น กูปรี แรดโบราณ เลียงผา สมัน วัวแดง ฯลฯ รวมทั้งชิ้นส่วนอวัยวะต่าง ๆ ของมนุษย์ และโบราณวัตถุ อาทิ ภาชนะดินเผาบ้านเชียง หินใบเสมา ทับหลัง ฯลฯ”

ลักษณะหรือลักษณะพิเศษ
คำว่า
"ไดโนเสาร์" หรือ "ไดโนเซอร์" (Dinosaur) มาจากภาษากรีก ซึ่งหมายความว่าสัตว์เลื้อยคลานที่น่ากลัว ไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลานซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงระหว่าง ๒๔๕ ล้านปี ถึง ๖๕ ล้านปีล่วงมาแล้ว ไดโนเสาร์แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด ได้แก่ ประเภทที่กินพืชเป็นอาหารและพวกที่กินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร ซึ่งฟอสซิลโครงกระดูกไดโนเสาร์ที่ขุดพบที่จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นชนิดกินพืชเป็นอาหาร ลักษณะตัวใหญ่ คอยาว หางยาว มีอายุประมาณ ๑๓๐-๑๕๐ ล้านปี กระดูกสมบูรณ์กว่าทุกแห่งที่พบ เนื่องจากฝังอยู่ในดินไม่ได้ขุดมากนัก มีกระดูกกระจายอยู่ไม่ต่ำกว่า ๖๓๐ ชิ้น และบางส่วนเกาะกลุ่มกันเป็นโครงร่างชัดเจน
นอกจากนี้ ยังพบส่วนหัวกระโหลกของซอโรพอดอีกหลายชิ้น ทำให้ทราบว่าในหลุมนี้มีไดโนเสาร์นอนตายรวมกันอย่างน้อย ๖ ตัว เป็นซอโรพอด ๒ ชนิด และคาร์โนซอร์ ๒ ชนิด โดยมี "ไซแอมโมไทรันนัส อิซาเนนซิส" คาร์โนซอร์ หรือไดโนเสาร์พันธุ์กินเนื้อ ตระกูลเดียวกับไทแรนโนซอรัส ซึ่งเป็นพันธุ์ที่จัดได้ว่าเก่าแก่ที่สุดในบรรดาไทแรนโซอรัสทั้งหลายที่เคยพบมาในโลก มีอายุราว ๑๒๐-๑๓๐ ปี เป็นการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ของโลก

แหล่งที่พบ
ฟอสซิลไดโนเสาร์ที่พบในจังหวัดกาฬสินธุ์มี ๓ แห่ง ได้แก่ วัดบ้านนาไคร้ อำเภอกุฉิ-นารายณ์ ที่เชิงเขาวัดภูปอ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ และวัดป่าสักกะวัน อำเภอสหัสขันธ์ ซึ่งเป็นแหล่งพบฟอสซิลมากที่สุดในประเทศไทย และยังเป็นแหล่งที่โครงกระดูกไดโนเสาร์ที่สมบูรณ์ที่สุดในทวีปเอเชียด้วย

ความสัมพันธ์กับชุมชน
ด้วยเหตุผลทางด้านการวิจัย และการดูแลรักษาไม่ให้ฟอสซิลถูกทำลายจากธรรมชาติ หรือถูกขโมยไปจากพื้นที่ โดยฝ่ายโบราณชีววิทยา กรมทรัพยากรธรณี ได้สร้างสถานีวิจัยภาคสนามหรือห้องปฏิบัติการ สำหรับการดูแลรักษาฟอสซิลเป็นเบื้องต้น และภายในห้องปฏิบัติการชั่วคราว ได้มีจัดทำโครงกระดูกไดโนเสาร์จำลอง ซึ่งทำจากไฟเบอร์กลาส หรือเลซินผสมใยแก้ว ใช้สีให้มีสีเทาๆ ขาวๆ และใช้สีอะคริลิกตกแต่งแสงเงาอีกทีเหมือนฟอสซิลจริงแล้วจะนำมาจัดวางในตำแหน่งที่เหมือนจริงที่ขุดค้นพบทุกชิ้น วิธีนี้เรียกว่า Site Museum หรือพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง และทีมงานได้จัดเตรียมทำแบบจำลองสำหรับสร้าง "ไดโนเสาร์สยาม" ขึ้นมาทั้งตัว เพื่อเตรียมไว้สำหรับจัดแสดงใน "พิพิธภัณฑ์โบราณชีววิทยา" ที่จะจัดสร้างขึ้นที่ภูกุ้มข้าว อาคารพิพิธภัณฑ์นี้ยังอยู่ในระหว่างดำเนินการด้านรูปแบบ งบประมาณจากรัฐบาลและดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งมีกำหนดจะเปิดอาคารพิพิธภัณฑ์ได้ในปี พ.ศ.๒๕๔๓ เพื่อให้เป็นแหล่งศึกษาหาข้อมูลเรียนรู้เกี่ยวกับไดโนเสาร์และเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักของจังหวัดต่อไป

ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
ปัจจุบันความสำคัญทางเศรษฐกิจยังไม่มีผลโดยตรง แต่ในอนาคตพิพิธภัณฑ์โบราณวิทยา เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวและผู้ที่ศึกษาความรู้ ก็จะทำให้มีผลทางเศรษฐกิจได้ต่อไป

ลักษณะ
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙ นักธรณีวิทยาพบกระดูกของสัตว์ดึกดำบรรพ์ในสภาพที่เป็นหิน (Fossil) ซึ่งเป็นกระดูกโคนขาของไดโนเสาร์ชนิดกินพืชขนาดใหญ่ (SOROPDS) จากการขุดค้นบริเวณหลุมที่ ๑ พบกระดูกซี่โครง กระดูกขา กระดูกสะบัก กระดูกสันหลังร้อยละ ๗๕ ของกระดูกทั้งตัว ปัจจุบันมีการขุดค้นถึง ๙ หลุม
ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ กองอุทยานแห่งชาติ จัดตั้งอุทยานแห่งชาติภูเวียงขึ้น และขุดค้นพบรอยเท้า ไดโนเสาร์ขนาดเล็ก (COELUROSAURUS) ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดเล็กเดิน ๒ เท้า หากินเป็นกลุ่ม ในจำนวน ๖๘ รอยเท้าที่พบมี ๑ รอยเท้าที่มีขนาดใหญ่คาดว่าเป็นรอยเท้าของไดโนเสาร์คาร์โนซอร์ กินเนื้อขนาดใหญ่

แหล่งที่พบ
อุทยานแห่งชาติภูเวียง ตำบลในเมือง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ห่างจากตัวเมือง ขอนแก่น ๗๘ กิโลเมตร

ความสัมพันธ์กับชุมกชน
เป็นแหล่งโบราณคดีสำหรับศึกษาค้นคว้าทางด้านธรณีวิทยา และด้านประวัติศาสตร์

ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดขอนแก่น

เมื่อเร็วๆ นี้ สหประชาชาติได้พยากรณ์ว่า โลกจะขาดแคลนน้ำในสองสามทศวรรษข้างหน้า แต่น้ำที่พูดถึงนี้หมายถึงน้ำจืดตามธรรมชาติที่เรากินใช้กันอยู่ทุกวัน หากนับรวมไปถึงน้ำที่อยู่ใต้ดินลึกลงไปนับกิโลเมตรแล้ว ข้อกังวลนี้เลิกคิดได้เลย แต่ควรกังวลถึงเรื่องผลกระทบทางนิเวศวิทยาจากการดูดน้ำใต้ดินลึกเหล่านี้ขึ้นมาใช้มากกว่า
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับน้ำในโลกเรานั้นผิดไปจากที่เข้าใจกันอยู่มาก เพียงร้อยละ 2.5 ของน้ำบนผิวโลกเท่านั้น ที่เป็นน้ำจืด ส่วนใหญ่นั้นอยู่ในสภาพก้อนน้ำแข็งใหญ่มหึมาโดยเฉพาะที่ขั้วโลก และน้อยกว่าสามในสี่ของร้อยละ 1 ของน้ำจืดของโลกเหล่านี้อยู่ในห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ หรือน้ำใต้ดินตื้นๆ หรือทะเลสาบ ซึ่งเป็นแหล่งใหญ่ของการใช้น้ำของมนุษยชาติตลอดประวัติศาสตร์ น้ำในส่วนนี้แหละที่เป็นปัญหา เพราะเหือดแห้ง และถูกทำลายด้วยมือมนุษย์หนักมือขึ้นทุกวัน
มีสัญญาณหลายอย่างที่ชัดเจนขึ้นเป็นลำดับว่ามนุษย์จะมีปัญหาเกี่ยวกับความยั่งยืนของแหล่งน้ำเหล่านี้ น้ำใต้ดินตื้นๆ ในหลายส่วนของโลกกำลังลดลงเป็นลำดับ พร้อมกับป่าที่เป็นแหล่งความชื้น และนำมาซึ่งน้ำตามธรรมชาติ ที่หมุนเวียนไม่มีวันหมด เริ่มมีพื้นที่น้อยลงทั่วโลก เมฆหมอกที่เป็นที่พึ่งของชีวิตมนุษย์มายาวนาน มีความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้น
แทนที่จะมองขึ้นไปบนท้องฟ้า มนุษย์กลับเริ่มมองลงไปในทิศทางตรงกันข้ามคือใต้ดิน เพราะเป็นที่รู้กันในแวดวงวิชาการ ว่าใต้ดินมีแม่น้ำ และทะเลสาบหรือที่เรียกว่า AQUIFERS ซึ่งเป็นแหล่งบรรจุน้ำจืดสะอาดอยู่ใต้ดินลึกกว่า 1 กิโลเมตร อยู่เป็นจำนวนมาก
AQUA เป็นภาษาละตินแปลว่าน้ำ(ดังเช่นคำว่า AQUA VITAE หรือน้ำแห่งชีวิต ซึ่งหมายถึงบรั่นดี หรือเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์) ส่วนคำว่า AQUIFERS หมายถึง พื้นที่หินที่ดูดซับ หรือช่องหินที่เป็นภาชนะเก็บน้ำใต้ผิวโลก บางแหล่งสะสมเก็บน้ำที่มีอายุหมื่นปีถึงล้านปี อย่างที่เรียกกันว่าน้ำ "ฟอสซิล"ก็มีการสำรวจ AQUIFERS อย่างกว้างขวางทั่วโลกเมื่อไม่นานมานี้ พบน้ำปริมาณมากมายในบางแหล่งอย่างคาดไม่ถึงจนเรียกน้ำที่มีค่าเหล่านี้ว่า BLUE GOLD เพราะสามารถเป็นน้ำให้ผู้คนนับพันล้านคนบริโภคได้นับเป็นเวลาร้อยๆ ปีโดยมีปริมาณเป็นร้อยเท่าของน้ำบนผิวดินคุณภาพของน้ำใน AQUIFERS เหล่านี้มีคุณภาพดีกว่าน้ำในแม่น้ำและทะเลสาบในปัจจุบัน ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีในด้าการขุดเจาะ(ดังที่สามารถขุดเจาะลงไปในหินแกรนิตในชั้น BASEMENT ROCK ของผิวโลกได้เป็นนับกิโลๆ จนพบน้ำมันดิบ) และการทำแผนที่ทรัพยากร ทำให้ได้รู้ถึงข้อมูลของน้ำคุณภาพดีเหล่านี้ อย่างไม่เคยทราบมาก่อน
แหล่ง AQUIFERS ใหญ่ที่เรียกว่า GUARANI ซึ่งอยู่ใต้พื้นดินระหว่างประเทศ อาร์เจนตินา บราซิล ปารากวัย และอุรุกวัย เชื่อว่ามีน้ำอยู่มากมายถึงขนาดที่ว่าถ้าแต่ละคนบริโภควันละ 102 ลิตรต่อวัน ก็สามารถบริการคนได้ 5.5 พันล้านคน(ประชากรโลกปัจจุบันคือ 6 พันล้านคน) ได้เป็นเวลา 200 ปี
แหล่งอื่นๆ ก็ได้แก่ KALAHARI KAROO AQUIFER อยู่ใต้แผ่นดินประเทศ NAMIBIA BOTSWANA และ SOUTH AFRICA หรือ NUBIAN SANDSTONE AQUIFER อยู่ใต้แผ่นดินประเทศลิเบีย อียิปต์ CHAD และซูดาน แหล่งอื่นๆ อยู่ในทางตะวันออกกลาง อเมริกาเหนือ และเทือกเขา CAUCASUS
ทุกแหล่ง AQUIFERS น้ำมิได้มีอายุเท่ากัน บ้างก็มีอายุ 10,000 ปี ดังเช่น NUBIAN SANDSTONE ซึ่งเชื่อว่าเป็นแหล่งรับน้ำฝนจากเมื่อ 10,000 ปีก่อน สมัยเมื่อทะเลทรายซาฮารายังเขียวขจี ปริมาณน้ำใน AQUIFERS แห่งนี้มีอยู่ประมาณ 500,000 เท่า ของปริมาณน้ำที่ไหลในแม่น้ำไนล์ ในอียิปต์ ในแต่ละปี แต่ปริมาณน้ำใน AQUIFERS นี้เพิ่มขึ้นเพียงปีละเล็กน้อยภายใต้สภาพอากาศปกติ
ถึงแม้นักวิทยาศาสตร์จะสามารถคำนวณปริมาณน้ำใน AQUIFERS ได้ แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าแหล่งใด น้ำหมดแล้วหมดไปเลยโดยไม่อาจทดแทนได้ หรือแหล่งใดมีน้ำทดแทนขึ้นมาบ้างและเพิ่มขึ้นในอัตราใด
ประเด็นนี้เป็นเรื่องกังวลของนักสิ่งแวดล้อมและนักเศรษฐศาสตร์ทรัพยากร เพราะการนำน้ำจากแหล่งเหล่านี้มาใช้ โดยไม่ทราบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในระยะสั้นและยาว และไม่รู้ว่าเป็นทรัพยากรที่ทดแทนได้หรือไม่ เปรียบเสมือนกับการวิ่งฝ่าดงกระสุนปืนโดยไม่มีเสื้อเกราะ(ไม่ว่าจะประมูลซื้อโดยทางการไทย หรือซื้อส่วนตัวก็ดี) แต่สถานการณ์ปัจจุบันของการนำน้ำใต้ดินจากบ่อบาดาล ชนิดที่ไม่อาจทดแทนได้มาใช้ก็เลวร้ายพออยู่แล้ว องค์กร GLOBAL WATER POLICY PROJECT ในสหรัฐอเมริการะบุว่า ประมาณร้อยละ 8 ของปริมาณอาหารที่เลี้ยงชาวโลกหกพันล้านคนมาจากการใช้น้ำประเภทที่ไม่อาจทดแทนได้ การทรุดตัวของดินอันเป็นผลจากการสูบน้ำบาดาล และการสูญหายไปอย่างไม่มีวันกลับของน้ำเป็นเรื่องที่น่ากังวล
อย่างไรก็ดี ประเด็นที่น่าปวดหัวอย่างมากของเรื่อง AQUIFERS ก็คือผลประโยชน์ที่อาจขัดแย้งกันระหว่างประเทศที่อยู่เหนือ AQUIFERS เดียวกัน เนื่องจากการสูบออกไปของประเทศหนึ่งย่อมเหลือให้ประเทศอื่นๆ น้อยเป็นธรรมดา
รัฐบาลลิเบียได้ทำโครงการวิศวกรรมยิ่งใหญ่อันหนึ่งของโลกเสร็จสิ้นลง นั่นก็คือการสูบน้ำจาก AQUIFERS อาทิตย์ละนับร้อยๆ ล้านลิตร และอัดใส่ท่อใต้ดินยาว 3,200 กิโลเมตร ไปทางเหนือให้ถึง TRIPOLI เมืองหลวงในขณะที่ประเทศอื่นๆ ที่อยู่เหนือ AQUIFERS นี้ เช่น อียิปต์ CHAD และซูดานได้แต่มองตาปริบๆ เพราะไม่มีโอกาสมีส่วนร่วมในแหล่งน้ำนั้นเลย
ในสนธิสัญญาเกี่ยวกับการใช้น้ำร่วมกันระหว่างประเทศนับร้อยฉบับที่เกิดขึ้นในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ไม่มีฉบับใดที่พาดพิงถึงน้ำใน AQUIFERS เลย แต่ในสภาพปัจจุบันที่รู้กันดีว่า AQUIFERS นั้นฝังตัวอย่างทอดยาวข้ามพรมแดนของหลายประเทศ ทำให้เกิดโอกาสของความขัดแย้งระหว่างประเทศในการใช้น้ำในแนวใหม่ขึ้น
INTERNATIONAL ASSOCIATION OF HYDROGEOLOGISTS ได้เริ่มทำการสำรวจและทำแผนที่ของ AQUIFERS และปริมาณน้ำที่บรรจุอยู่ครั้งใหญ่ทั่วโลก โดยหวังว่าอาจใช้เป็นฐานในการเจรจาต่อรองปรับสนธิสัญญาใช้น้ำใหม่ เพื่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นน้อยที่สุด
อิสราเอลและปาเลสไตน์ ได้โต้เถียงกันมานานพอควรเกี่ยวกับการใช้น้ำจาก AQUIFERS ที่มีชื่อว่า THE MOUNTAIN AQUIFER ที่อยู่ใต้แผ่นดินส่วนที่เรียกว่า THE WEST BANK ที่น่าจะทะเลาะกันก็เพราะน้ำส่วนใหญ่ที่เพิ่มปริมาณใน AQUIFERS ในแต่ละปีนั้นไหลมาจากฝั่งของปาเลสไตน์ แต่อิสราเอลเป็นฝ่ายใช้น้ำร้อยละ 85 ของน้ำที่สูบขึ้นจาก AQUIFERS ในแต่ละปี
การค้นพบว่ายังมีน้ำใต้ดินที่อยู่ลึกเป็นกิโลเมตรอยู่อีก เป็นปริมาณมากมายเป็นข่าวดีสำหรับมนุษยชาติ เมื่อคำนึงถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำบนผิวโลก อย่างไรก็ดี น้ำใน AQUIFERS เหล่านี้ถือได้ว่าเป็นมรดกของมนุษยชาติที่อยู่มานับเป็นหมื่นหรือล้านปี การนำมาใช้จำเป็นต้องคำนึงอย่างรอบคอบถึงความสามารถในการทดแทนได้ เพราะแต่ละ AQUIFERS มีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนกัน บ้างใช้แล้วก็หมดไป บ้างก็ทดแทนได้บ้าง
ไม่ว่าจะทดแทนไม่ได้หรือได้ในลักษณะใดก็ตามที มรดกที่ใช้เวลาในการเก็บรักษามานานแสนนานเช่นนี้ สมควรถูกนำมาใช้อย่างใคร่ครวญ และควรเป็นแหล่งสุดท้าย หลังจากปริมาณน้ำผิวโลกขาดแคลน ตราบที่เรายังไม่เข้าใจผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากการนำมันขึ้นมาใช้อย่างถ่องแท้เสียก่อน
ซากไดโนเสาร์ ปี พ.ศ. 2519 ระหว่างการสำรวจหาแหล่งแร่ยูเรเนียม นักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณีได้พบกระดูกด้านซ้ายหัวเข่าของไดโนเสาร์ซอโซพอด ซึ่งเป็นไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ กินพืชเป็นอาหาร บริเวณที่พบเป็นชั้นหินหมวดเสาขรัว จึงทำให้ประมาณอายุได้ว่า ไดโนเสาร์ที่พบมีอายุประมาณ 160 ล้านปีมาแล้ว นับว่าเป็นการค้นพบไดโนเสาร์เป็นครั้งแรกของประเทศไทย จากนั้นเป็นต้นมา กรมทรัพยากรธรณี ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ทำการสำรวจบริเวณทั่ว ๆ ไปพบร่องรอยและซากสัตว์ในยุคโลกล้านปีหลายแห่งจึงได้มีการปรับปรุงพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เช่น หลุมขุดค้นกระดูกไดโนเสาร์ หลุมที่ 1,2,3
ลักฐานว่า
" ป่าภูเวียง " เคยเป็นแหล่งชุมชนโบราณที่มีอารยธรรมเมื่อหลายพันปีล่วงมาแล้ว มีการขุดพบกระดูกมนุษย์โบราณ เครื่องมือ เครื่องใช้ โลหะสำริด พระนอนสมัยทวาราวดี รวมทั้งภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ถ้ำ ( หลืบเงิน ) บนเทือกเขาภูเวียง นอกจากนั้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2519 มีการค้นพบ รอยเท้าและซากกระดูกไดโนเสาร์ และสัตว์โลกดึกดำบรรพ์อายุเกือบ 200 ล้านปี ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระทัยและเสด็จทอดพระเนตร เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532
ฟอสซิล 200 ล้านปีโผล่ ปริศนา“แพร่”เคยจมใต้ทะเลลึก

“แพร่-น่าน-สุโขทัย” แม้จะเป็นกลุ่มจังหวัดที่ถือเป็นแอ่งอารยธรรมในภาคเหนือ เพราะรุ่มรวยไปด้วยทรัพยากรและวัตถุทางด้านประวัติศาสตร์ ศาสนา และวัฒนธรรม แต่พื้นที่ 3 จังหวัดนี้มักจะไม่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้จังหวัดเหล่านี้เป็นทางผ่านไปสู่ภาคเหนือเท่านั้น แต่จากนี้ไป สถานการณ์การท่องเที่ยวในจังหวัดแพร่อาจจะไม่เหมือนเดิม เมื่อมีการขุดพบฟอสซิลสัตว์น้ำทะเลดึกดำบรรพ์ คะเนอายุราว 200 ล้านปี ซึ่งเชื่อกันว่าจะสามารถนำมาพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดแพร่ได้ เพื่อให้คนที่พิสมัยเศษซากวัตถุโบราณได้ไปเที่ยวกัน

ฟอสซิลที่เพิ่งค้นพบใน .แพร่ เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นซากสัตว์น้ำทะเล นี่คือปริศนาที่รอนักธรณีวิทยามาพิสูจน์ ว่าจริงหรือไม่ที่ครั้งหนึ่งเมืองแพร่เคยจมอยู่ใต้ทะเล การค้นพบดังกล่าวเกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ เมื่อวานนี้ (29 เม.ย.) เมื่อ สมศักดิ์ บุญเปลื้อง ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ได้เดินทางเข้าไปพิสูจน์แหล่งที่ขุดพบฟอสซิลหอยและสัตว์น้ำโบราณจำนวนมาก ที่บริเวณสวนของ นายสมเดช ยุพิณ นายสถานีรถไฟแก่งหลวง หมู่ที่ 5 บ้านแก่งหลวง ต.แม่ปาน อ.ลอง จ.แพร่

ทั้งนี้ บริเวณที่พบฟอสซิล เป็นลานหินก้อนขนาดใหญ่อยู่ใต้ดิน และในก้อนหินแต่ละก้อนจะปรากฏซากหอยและสัตว์น้ำโบราณหลากหลายชนิด ที่ทับถมกันจนกลายเป็นหินปูน

ทางด้าน สมเดช ยุพิณ เจ้าของสวนที่มีการพบฟอสซิลดังกล่าว เล่าให้ฟังว่า ตนได้ซื้อที่ดินเอาไว้ตั้งแต่ปี 2530 เพื่อนำมาทำเป็นสวนผลไม้และไม้สัก แต่ในช่วงฤดูเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งจังหวัดแพร่มีอากาศแล้งจัด ก็ได้ว่าจ้างให้รถแบ็กโฮมาขุดพื้นที่เพื่อทำเป็นสระน้ำ

เมื่อขุดลึกลงไปประมาณ 1 เมตรก็พบก้อนหินกลมขนาดใหญ่จำนวนมาก ทำให้ไม่สามารถทำเป็นบ่อน้ำได้ดังที่ตั้งใจไว้ จึงได้หยุดการขุดและทิ้งก้อนหินไว้ก่อน ปรากฏว่าในช่วงเดียวกันนั้น มีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เข้ามาศึกษาเรื่องหินที่ ต.แม่ปาน และเข้ามาสำรวจสวนของตนพอดี

จึงได้พบว่าหินใต้ดินที่ขุดบ่อทิ้งไว้ คือหินที่เป็นฟอสซิลสัตว์น้ำ จำพวกหอยและปลาชนิดต่างๆ มีจำนวนมากมาย อาจารย์จากเกษตรศาสตร์จึงบอกให้รักษาเอาไว้และอย่าไปทำลาย เพราะบริเวณนี้น่าจะใช้เป็นศูนย์ศึกษาทางธรรมชาติได้

ขณะที่ อภิชาติ ลำจวน นักวิชาการอิสระ อดีตนักธรณีวิทยา 8 กรมทรัพยากรธรณี บอกว่า ครั้งแรกที่พบ นางพรสวาท วัฒนกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้เข้ามาศึกษาหินในจังหวัดแพร่ เพื่อหาเหตุผลในการที่แพร่มีแหล่งพลอยไพลิน จึงเป็นที่มาของการสำรวจแหล่งหินในจังหวัดแพร่ จนมาพบฟอสซิล ที่สวนแห่งนี้ อนึ่ง ซากฟอสซิลนี้จะมีอยู่ทั่วไปบริเวณใต้ดิน ซึ่งนักธรณีวิทยาจะทำการขุดค้นเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก เช่น ที่แม่เมาะเคยมีการพบซากฟอสซิล อายุ 65 ล้านปีมาแล้ว แต่ซากฟอสซิลที่เพิ่งค้นพบที่จังหวัดแพร่นี้ นักธรณีวิทยาประมาณการว่า มีอายุถึง 200 ล้านปีเลยทีเดียวที่สำคัญคือ ฟอสซิลที่ค้นพบครั้งนี้เป็นซากสัตว์ทะเล ซึ่งถือเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่จะใช้สำรวจตรวจสอบว่าซากสัตว์ทะเลนี้มาจากไหน และถือเป็นเรื่องน่าแปลกสำหรับผู้ที่พบเห็น เพราะใครๆ ก็รู้ว่า พื้นที่ภาคเหนือนั้นมีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลถึง กว่า 700 เมตรขึ้นไป ทำไมฟอสซิลซากสัตว์ทะเลจึงมาโผล่ได้ ขณะที่ในพื้นที่ภาคอีสานนั้น มักจะมีการขุดพบกระดูกไดโนเสาร์ หรือที่ อ.เชียงม่วน จ.พะเยา ก็พบกระดูกไดโนเสาร์เช่นกัน ซึ่งถ้าพบกระดูกไดโนเสาก็สันนิษฐานได้ว่าในสมัยดึกดำบรรพ์ไม่ใช่ทะเลอย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกนั้นจะมีอยู่ตลอดเวลา เทือกเขาหิมาลัยก็ยังมีความสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น จุดที่ค้นพบซากฟอสซิลหอยโบราณครั้งนี้ จึงเหมาะที่จะพัฒนาเป็นแหล่งศึกษาด้านธรณีวิทยาของจังหวัดแพร่อย่างยิ่ง แต่ต้องรักษาฟอสซิลเหล่านั้นอย่างถูกวิธี และไม่นำออกไปหาประโยชน์อย่างอื่นอย่างไรก็ตาม ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ก็ได้เปรยๆ มาแล้ว ว่าแหล่งที่พบฟอสซิลนั้นถือเป็นสถานที่น่าสนใจ แถมยังอยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดแพร่อีกต่างหาก อย่างเช่น ที่บ้านแก่งหลวงก็มีสถานีรถไฟที่คนมักจะไปเยี่ยมชม นอกจากนี้ ยังอยู่ใกล้แม่น้ำยมที่มีแก่งสวยงาม มีถ้ำขนาดใหญ่ และหน้าผาสูง ซึ่งขณะนี้นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมาปีนหน้าผากันมาก ซึ่งเป็นกีฬาที่คนทั่วไปกำลังนิยม และยังมีหมู่บ้านชาวเขาเผ่าลีซอ ที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้ เมื่อมีการค้นพบแหล่งฟอสซิลซากสัตว์ทะเลที่แก่งหลวง พ่อเมืองแพร่ก็มีแนวคิดที่จะนำพื้นที่นี้ มาพัฒนาเพื่อให้เป็นศูนย์ท่องเที่ยวและศึกษาธรรมชาติ แต่สิ่งที่พึงระวังอย่างสูงก็คือ การท่องเที่ยวที่เข้าไปรุกรานธรรมชาติที่เราเห็นกันอยู่ทั่วไป เพราะเงินที่ได้มาจากการท่องเที่ยวบางครั้งก็ไม่คุ้มกับหลายอย่างที่ต้องสูญเสียไปฟอสซิลเป็นซากสัตว์หรือพืชที่ถูกทับถมอยู่ใต้ดินเป็นเวลาหลายล้านปี จนแปรสภาพเป็นหินหรือพูดง่าย ๆ ว่า มันเป็นเพียงสิ่งหนึ่งที่ชีวิตได้สูญสิ้นไปแล้ว คราวนี้ แซงท์ - ซองท์ ล้อตัวเองโดยให้ไซโลโฟนเล่นท่วงทำนอง จาก"Danse Macabre" ที่เขาแต่งขึ้น เสียงไซโลโฟนที่ดังคมแกร่งทำให้รู้สึกคล้ายเสึยงของโครงกระดูกผีกระทบกัน ซากดึกดำบรรพ์ที่เกิดขึ้นนั้นบ่งบอกอายุ และสภาพแวดล้อมของยุคสมัยนั้น แต่ซากดึกดำบรรพ์ที่จะบ่งบอกอายุได้ดีจะต้องเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่เมื่อมีชีวิต อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม แพร่ขยายพันธุ์ได้รวดเร็วเป็นปริมาณมาก แต่มีช่วงอายุสั้น และสูญพันธุ์เร็ว เรียกว่า ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี (index fossil) เช่น โคโนดอนต์ ซึ่งเป็นจุลชีวินที่บ่งบอกอายุในยุคออร์โดวิเชียนในประเทศไทย แกรปโทไลต์เป็นซากดึกดำบรรพ์ในยุคไซลูเรียนและฟูซูลินิด บ่งบอกอายุในยุคเพอร์เมียน เป็นต้น
หลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์ที่ได้จากการสำรวจศึกษาทำให้เราทราบถึงสายการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ มีทั้งที่สูญพันธุ์ และที่สามารถดำรงพันธุ์สืบเนื่องมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งอาจจะเป็นเหมือนต้นไม้แห่งชีวิต ที่เริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว แล้วแตกกิ่งก้านสาขาออกไปมากมาย เหมือนกับการกระจายพันธุ์ออกไปของพืชและสัตว์หลายชนิด
ตามลักษณะโครงสร้างและธรณีสัณฐานของดินแดนภาคใต้ฝั่งตะวันตก เป็นบริเวณที่อยู่ใกล้กับแนวทิวเขาแกรนิต ที่เรียกว่า ทิวเขาตะนาวศรี และทิวเขาภูเก็ต อันเป็นเส้นกั้นพรมแดนไทย - เมี้ยนม่า (พม่า) ที่ทอดยาวไปจนถึงจังหวัดพังงา-ภูเก็ต เป็นทิวเขาที่เกิดในยุคครีตาเชียสกับ ยุคเทอร์เชียรีตอนต้น อายุประมาณ 136-36 ล้านปีมาแล้ว นอกจากนั้นยังมีภูเขาหิน ตะกอนหินแปรแทรกสลับอยู่เป็นแนว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภูเขาหินปูนซึ่งแทรกโผล่เป็นหย่อมๆ กระจายอยู่ทั่วไป ทั้งภูเขาหินปูนที่เป็นแนวเทือกเขาสลับซับซ้อนหรือภูเขาหินปูนลูกโดด และยังปรากฏว่ามี ซากดึกดำบรรพ์ (ฟอสซิล) อีกการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติดังกล่าวทำให้เกิดเป็นช่องโพรงหรือถ้ำมากมาย ส่วนภูเขาหินดินดาน บางแห่งสลายตัวกลายเป็นหย่อมเนินเขาขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้าง การยุบตัวของแผ่นดินทางด้านตะวันตกทำให้เกิดเป็นชายฝั่งขรุขระเว้าๆ แหว่งๆ เกิดเป็นอ่าวและเกาะซึ่งเป็นภูเขาหินปูนลูกโดดกระจายอยู่ตามฝั่งมากมาย โดยเฉพาะในเขตจังหวัดพังงา กระบี่ ตรัง และสตูลเนื่องจากภาคใต้ฝั่งตะวันตกเป็นฝั่งทะเลเปิด จึงได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เต็มที่ในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ทะเลมีคลื่นลมจัด ฝั่งทะเลช่วงใดที่ไม่มีเกาะกำบังจึงกลายเป็นฝั่งซึ่งมีหาดทรายชันและน้ำลึกในระยะใกล้ฝั่ง ส่วนฝั่งทะเลช่วงที่มีเกาะกำบังลม ด้านนอกหรือฝั่งตอนที่เป็นอ่าวเว้าไม่รับลมมรสุมเต็มที่ จะมีลักษณะเป็นบริเวณที่พื้นดินอ่อนเป็นโคลนเลน มีป่าชายเลนขึ้นหนาแน่นตามขอบ ฝั่งและเลยลึกเข้าไปในฝั่งที่น้ำเค็มเข้าไปถึง ลักษณะเช่นนี้จะเห็นได้ชัดบริเวณอ่าวพังงา จังหวัดพังงา จากลักษณะเกาะแก่งและธรรมชาติที่สมบูรณ์ สวยงาม และมีชื่อเสียง จังหวัดพังงาจึงได้เสนอพื้นที่บริเวณถ้ำลอด เกาะปันหยี และเขาพิงกัน ให้กรมป่าไม้ดำเนินการจัดตั้งเป็นวนอุทยานตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา โดยใช้ชื่อว่า วนอุทยานศรีพังงา และต่อมา กรมป่าไม้ได้ดำเนินการสำรวจบริเวณอ่าวพังงาเพิ่มเติมและดำเนินการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติโดยกำหนดเป็นพระราชกฤษฎีกา ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2524

จากลักษณะเกาะแก่งและธรรมชาติที่สมบูรณ์ สวยงาม และมีชื่อเสียง จังหวัดพังงาจึงได้เสนอพื้นที่บริเวณถ้ำลอด เกาะปันหยี และเขาพิงกัน ให้กรมป่าไม้ดำเนินการจัดตั้งเป็นวนอุทยานตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา โดยใช้ชื่อว่า วนอุทยานศรีพังงา และต่อมา กรมป่าไม้ได้ดำเนินการสำรวจบริเวณอ่าวพังงาเพิ่มเติมและดำเนินการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติโดยกำหนดเป็นพระราชกฤษฎีกา ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 252การค้นพบฟอสซิลมนุษย์ โฮโม อีเร็กตัส (Homo erectus) อายุกว่าห้าแสนปี นับเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการค้นพบแหล่งกำเนิดมนุษย์ในประเทศไทย ก่อนหน้านี้ได้มีการค้นพบชิ้นส่วนกระดูกขาของโฮโม อีเร็กตัสที่ประเทศอินโดนีเซียและที่จีนในถ้ำชูกูเทียนในปักกิ่ง จากหลักฐานชิ้นสำคัญนี้ทำให้นักวิชาการเชื่อว่าทวีปเอเชียเป็นต้นกำเนิดมนุษย์จากเดิมที่เชื่อว่าเป็นแอฟริกาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
คณะทำงานพิพิธภัณฑ์และห้องปฏิบัติการเรื่องก่อนประวัติศาสตร์ สุด แสงวิเชียร ภาควิชากายภาคศาสตร์ และคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลได้ทำการขุดสำรวจภาคเหนือหลายจังหวัด แหล่งหนึ่งคือ หมู่บ้านหาดปู่ด้าย จ.ลำปาง ภายในระยะ 4 ปีที่ทำการสำรวจได้พบหลักฐานซากและฟันของสัตว์เลี้ยงนมโบราณจำนวนมากในสมัยไมโอซีส อายุประมาณ 16 ล้านปี จนกระทั่งปลายปี 2542 ได้พบฟอสซิลมนุษย์ดึกดำบรรพ์ ซึ่งเป็นชิ้นส่วนของกะโหลกซีกขวาด้านหน้า ใกล้สันกระบอกตา เรียกว่า Cavarai ฟันจำนวน 4 ชิ้น กระดูกนิ้วมือ ฟันหน้าเขี้ยว และรากฟันรวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้แก่ ไฮยีน่า เสือเขี้ยวดาบ และหมีแพนด้า เป็นต้น ในถ้ำหินปูนในเหมืองแร่ฟอสเฟต จ.ลำปาง

4



แหล่งอ้างอิง : หนังสือประวัติศาสตร์ หน้า 25-50 25 มกราคม 2530

โดย : นางสาว ยาคูลท์ ดัชมิ้ล, ธนาคารกรุงไทย, วันที่ 2 ธันวาคม 2547