ประเพณี

ท่องเที่ยวภูเก็ต - เทศกาล & ประเพณี

งานท้าวเทพกระษัตรี-ท้าวศรีสุนทร
งานประเพณีปล่อยเต่า
งานประเพณีลอยเรือชาวเล
งานผ้อต่อ
งานประเพณีถือศีลกินผัก
ลากูน่าภูเก็ตไตรกีฬา
เทศกาลเปิดฤดูการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต
งานแข่งขันเรือใบชิงถ้วยพระราชทาน

งานท้าวเทพกระษัตรี-ท้าวศรีสุนทร

ตรงกับวันที่ 13 มีนาคมของทุกปี มีการจัดงานเฉลิมฉลอง มีกิจกรรมต่างๆ มากมาย เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สองวีรสตรีสามารถปกป้องเมืองถลางให้รอดพ้นจากข้าศึกพม่า และสดุดีในวีรกรรมของท่าน

กลับไปบนสุด

งานประเพณีปล่อยเต่า

ตรงกับวันที่ 13 เมษายน หรือวันสงกรานต์ของทุกปี กรมประมงได้กำหนดให้เป็นวันประมงแห่งชาติ มีประเพณีปล่อยลูกเต่าลงทะเล โดยจะจัดงานบริเวณหาดต่างๆ ในภูเก็ต

กลับไปบนสุด

งานประเพณีลอยเรือชาวเล

จะมีพิธีในกลางเดือน 6 และเดือน 11 ของทุกปี โดยกลุ่มชาวเลที่หาดราไวย์และบ้านสะปำจะมีพิธีลอยเรือในวันขึ้น 14 ค่ำ และกลุ่มชาวเลที่แหลมหลา (ทางตอนเหนือของเกาะภูเก็ต) จะมีพิธีลอยเรือในวันขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งถือเป็นพิธีสะเดาะเคราะห์ของชาวเล คล้ายกับพิธีลอยกระทงของชาวไทย มีการสร้างเรือจากไม้ระกำ ตัดผมตัดเล็บ และทำตุ๊กตาไม้แทนคน ใส่ลงไปในเรือแล้วนำไปลอยเพื่อนำเอาความทุกข์โศกเคราะห์ร้ายต่างๆ ออกไปกับทะเล แล้วมีการร่ายรำรอบเรือ หรือที่เรียกว่า "รำรองเง็ง" นั่นเอง

กลับไปบนสุด

งานผ้อต่อ

เป็นงานประเพณีของชาวภูเก็ตที่มีเชื้อสายจีนจะมีพิธีในช่วงเดือน 7 ของจีน หรือเดือน 9 ของไทย โดยมีพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษและวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ด้วยเครื่องบวงสรวง เป็นขนมชนิดหนึ่งทำด้วยแป้งเป็นรูปเต่าขนาดใหญ่ บ้างเล็กบ้างทาสีแดง ซึ่งคนจีนเชื่อว่าเต่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืน ดังนั้นการไหว้เต่าจึงเป็นการต่ออายุให้ตนเอง และเป็นกุศลที่ยิ่งใหญ่

กลับไปบนสุด

งานประเพณีถือศีลกินผัก

ตรงกับวันขึ้น 1-9 ค่ำ เดือน 9 ของจีน ซึ่งอยู่ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ของทุกปี งานเทศกาลกินผักเป็นงานประเพณีซึ่งชาวจีนที่เข้ามาอาศัยในภูเก็ตยึดถือปฏิบัติมาช้านาน ตั้งแต่ พ.ศ. 2368 จนถึงทุกวันนี้ เพื่อเป็นการถือศีลปฏิบัติธรรม ชำระร่างกายและจิตใจให้บริสุทธิ์ และในช่วงเทศกาล 9 วัน ว คืนนี้ จะมีพิธีกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ พิธีอัญเชิญพระ พิธีลุยไฟ พิธีสะเดาะเคราะห์ พิธีส่งพระ เป็นต้น งานเทศกาลนี้นับเป็นงานที่ได้รับความสนใจและเลื่อมใสศรัทธาทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมากที่สุดงานหนึ่ง กรุณาคลิกเพื่อทราบรายละเอียด

กลับไปบนสุด

ลากูน่าภูเก็ตไตรกีฬา

เป็นการแข่งขันกีฬา 3 ประเภทต่อเนื่องกัน คือ ว่ายน้ำ ขี่จักรยานและวิ่ง บริเวณลากูน่าภูเก็ต หาดบางเทา มีผู้เข้าแข่งขันจากทั่วโลก การแข่งขันจะจัดขึ้นในช่วงปลายปีของทุกปี

กลับไปบนสุด

เทศกาลเปิดฤดูการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต

ตรงกับวันที่ 1 พฤศจิกายน โดยเริ่มจัดงานครั้งแรกเมื่อปี 2528 ณ หาดป่าตอง เพื่อต้อนรับฤดูการท่องเที่ยวที่เวียนมาถึงอีกครั้ง และเป็นการส่งเสริมความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบธุรกิจสาขาต่างๆ หน่วยงานราชการและประชาชน ในงานมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ พิธีตักบาตรในตอนเช้า การแข่งขันกีฬาทางน้ำ การประกวดสาวงามจากนักท่องเที่ยวชาติต่างๆ เป็นต้น

กลับไปบนสุด

งานแข่งขันเรือใบชิงถ้วยพระราชทาน

เริ่มมีขึ้นครั้งแรกเมื่

ท่องเที่ยวภูเก็ต - เทศกาล & ประเพณี

งานท้าวเทพกระษัตรี-ท้าวศรีสุนทร
งานประเพณีปล่อยเต่า
งานประเพณีลอยเรือชาวเล
งานผ้อต่อ
งานประเพณีถือศีลกินผัก
ลากูน่าภูเก็ตไตรกีฬา
เทศกาลเปิดฤดูการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต
งานแข่งขันเรือใบชิงถ้วยพระราชทาน

งานท้าวเทพกระษัตรี-ท้าวศรีสุนทร

ตรงกับวันที่ 13 มีนาคมของทุกปี มีการจัดงานเฉลิมฉลอง มีกิจกรรมต่างๆ มากมาย เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สองวีรสตรีสามารถปกป้องเมืองถลางให้รอดพ้นจากข้าศึกพม่า และสดุดีในวีรกรรมของท่าน

กลับไปบนสุด

งานประเพณีปล่อยเต่า

ตรงกับวันที่ 13 เมษายน หรือวันสงกรานต์ของทุกปี กรมประมงได้กำหนดให้เป็นวันประมงแห่งชาติ มีประเพณีปล่อยลูกเต่าลงทะเล โดยจะจัดงานบริเวณหาดต่างๆ ในภูเก็ต

กลับไปบนสุด

งานประเพณีลอยเรือชาวเล

จะมีพิธีในกลางเดือน 6 และเดือน 11 ของทุกปี โดยกลุ่มชาวเลที่หาดราไวย์และบ้านสะปำจะมีพิธีลอยเรือในวันขึ้น 14 ค่ำ และกลุ่มชาวเลที่แหลมหลา (ทางตอนเหนือของเกาะภูเก็ต) จะมีพิธีลอยเรือในวันขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งถือเป็นพิธีสะเดาะเคราะห์ของชาวเล คล้ายกับพิธีลอยกระทงของชาวไทย มีการสร้างเรือจากไม้ระกำ ตัดผมตัดเล็บ และทำตุ๊กตาไม้แทนคน ใส่ลงไปในเรือแล้วนำไปลอยเพื่อนำเอาความทุกข์โศกเคราะห์ร้ายต่างๆ ออกไปกับทะเล แล้วมีการร่ายรำรอบเรือ หรือที่เรียกว่า "รำรองเง็ง" นั่นเอง

กลับไปบนสุด

งานผ้อต่อ

เป็นงานประเพณีของชาวภูเก็ตที่มีเชื้อสายจีนจะมีพิธีในช่วงเดือน 7 ของจีน หรือเดือน 9 ของไทย โดยมีพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษและวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ด้วยเครื่องบวงสรวง เป็นขนมชนิดหนึ่งทำด้วยแป้งเป็นรูปเต่าขนาดใหญ่ บ้างเล็กบ้างทาสีแดง ซึ่งคนจีนเชื่อว่าเต่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืน ดังนั้นการไหว้เต่าจึงเป็นการต่ออายุให้ตนเอง และเป็นกุศลที่ยิ่งใหญ่

กลับไปบนสุด

งานประเพณีถือศีลกินผัก

ตรงกับวันขึ้น 1-9 ค่ำ เดือน 9 ของจีน ซึ่งอยู่ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ของทุกปี งานเทศกาลกินผักเป็นงานประเพณีซึ่งชาวจีนที่เข้ามาอาศัยในภูเก็ตยึดถือปฏิบัติมาช้านาน ตั้งแต่ พ.ศ. 2368 จนถึงทุกวันนี้ เพื่อเป็นการถือศีลปฏิบัติธรรม ชำระร่างกายและจิตใจให้บริสุทธิ์ และในช่วงเทศกาล 9 วัน ว คืนนี้ จะมีพิธีกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ พิธีอัญเชิญพระ พิธีลุยไฟ พิธีสะเดาะเคราะห์ พิธีส่งพระ เป็นต้น งานเทศกาลนี้นับเป็นงานที่ได้รับความสนใจและเลื่อมใสศรัทธาทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมากที่สุดงานหนึ่ง กรุณาคลิกเพื่อทราบรายละเอียด

กลับไปบนสุด

ลากูน่าภูเก็ตไตรกีฬา

เป็นการแข่งขันกีฬา 3 ประเภทต่อเนื่องกัน คือ ว่ายน้ำ ขี่จักรยานและวิ่ง บริเวณลากูน่าภูเก็ต หาดบางเทา มีผู้เข้าแข่งขันจากทั่วโลก การแข่งขันจะจัดขึ้นในช่วงปลายปีของทุกปี

กลับไปบนสุด

เทศกาลเปิดฤดูการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต

ตรงกับวันที่ 1 พฤศจิกายน โดยเริ่มจัดงานครั้งแรกเมื่อปี 2528 ณ หาดป่าตอง เพื่อต้อนรับฤดูการท่องเที่ยวที่เวียนมาถึงอีกครั้ง และเป็นการส่งเสริมความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบธุรกิจสาขาต่างๆ หน่วยงานราชการและประชาชน ในงานมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ พิธีตักบาตรในตอนเช้า การแข่งขันกีฬาทางน้ำ การประกวดสาวงามจากนักท่องเที่ยวชาติต่างๆ เป็นต้น

กลับไปบนสุด

งานแข่งขันเรือใบชิงถ้วยพระราชทาน

เริ่มมีขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2530 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ และหลังจากนั้นจึงถือกำหนดจัดงานขึ้นในช่วงวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคมของทุกปี โดยมีเรือใบจากนานาประเทศทั่วโลกเข้าร่วมการแข่งขันบริเวณหาดกะตะ เพื่อชิงถ้วยพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯอ พ.ศ. 2530 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ และหลังจากนั้นจึงถือกำหนดจัดงานขึ้นในช่วงวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคมของทุกปี โดยมีเรือใบจากนานาประเทศทั่วโลกเข้าร่วมการแข่งขันบริเวณหาดกะตะ เพื่อชิงถ้วยพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ



แหล่งอ้างอิง : http://purecarrent.com/phuket/thai/festivals/#tourist_season_opening

โดย : เด็กหญิง กมลทิพย์ กาบขุนทด, โรงเรียนสูงเนิน, วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2547